phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

เพิ่มขนาดแบตเตอรี่ดีจริงหรือ?

หมวด การดูแลรักษารถ | จำนวนคนอ่าน 35128 ครั้ง | เมื่อ : 05 เม.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

แบตเตอรี่ (BATTERY) คือ ชิ้นส่วนที่ใช้เก็บพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของรถยนต์ และจะทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าในรถยนต์ แบตเตอรี่สามารถทำหน้าที่ต่างๆ แม้ว่าตัว อัลเทอร์เนเตอร์ (ไดชาร์จ) จะไม่ได้ทำงานก็ตาม

ส่วนประกอบในแบตเตอรี่ ประกอบไปด้วย แผ่นธาตุบวก (+) และแผ่นธาตุลบ (-) ซึ่งจุ่มอยู่ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ หรือ น้ำกรด ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี เราก็จะได้กระแสไฟฟ้า ค่ามาตรฐานจะมีแรงดันหรือแรงเคลื่อน ประมาณ 12 โวลต์ และกระแสจะอยู่ระหว่าง 40-70 แอมแปร์ต่อชั่วโมง เพราะว่าปัจจุบันอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์มีมากขึ้น จึงทำให้การทำงานของแบตเตอรี่และไดชาร์จกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบรถยนต์รุ่นต่างๆ

การที่จะเพิ่มขนาดแบตเตอรี่ให้ใหญ่ขึ้นนั้น มีปัจจัยอะไรที่มาเกี่ยวข้องบ้าง ควรหรือไม่ควร เรามาลองทำความเข้าใจกันนะครับ

แบตเตอรี่บรรจุอยู่ในรถยนต์ที่ประกอบมาจากโรงงานประกอบของรถยนต์รุ่นนั้นๆ ทางวิศวกรหรือผู้ผลิตได้คำนวณมาเป็นอย่างดีแล้วว่า เพียงพอต่อการใช้งาน และการใช้งานได้ยาวนาน ในยามใช้งานปกติทั่วไป ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็น ถ้าหากว่า มีการเพิ่มอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบกันขโมย, เครื่องเสียง, ทีวี, ไฟต่างๆ และอื่นๆ อะไรทำนองนี้ บางครั้งอาจต้องเพิ่มขนาดของแบตเตอรี่ให้ใหญ่ขึ้นได้ แต่การเพิ่มขนาดจะมีผลต่อระบบไฟชาร์จอย่างแน่นอน กล่าวคือ ตัวอัลเทอร์เนเตอร์หรือไดชาร์จ จะต้องผลิตกระแสไฟฟ้าให้มากขึ้น ตามปริมาตรความจุ (กระแส) ของแบตเตอรี่

ดังนั้น อายุการใช้งานของไดชาร์จย่อมสั้นลง แต่ก็มิได้หมายความว่า จะเสียหายภายใน 1 ปี หรือ 2 ปี นะครับ

เหมือนกับการที่เรา เปิดไฟไว้ตลอดวัน กับ จะเปิดไฟเมื่อจำเป็นเท่านั้น เวลาที่เข้าห้องน้ำ แน่นอนที่สุด การเปิดไฟไว้ทั้งวัน ย่อมทำให้อายุการใช้งานของหลอดไฟสั้นลง มากกว่าเปิดยามจำเป็นนั่นเองครับ

การที่เพิ่มขนาดแบตเตอรี่ให้ใหญ่ขึ้น สิ่งที่ตามมาอย่างแน่นอน คือ

  • ฐาน หรือ ที่ไว้แบตเตอรี่ จะต้องขยายตามไป หรือ เปลี่ยนถาดรองแบตเตอรี่ บางรุ่นอาจจะทำไม่ได้
  • เหล็กรัด หรือ ตัวรัดแบตเตอรี่ ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะจะไม่พอดีกับขนาด
  • ไอระเหยของน้ำกรดในแบตเตอรี่ เวลาหกใส่บริเวณใกล้เคียง อาจไปถูกอุปกรณ์ที่สำคัญง่ายยิ่งขึ้น
  • แน่นอนที่สุดราคาของแบตเตอรี่ลูกใหญ่ แพงกว่า แบตเตอรี่ลูกเล็กเพราะฉะนั้น การที่จะเพิ่มหรือไม่เพิ่มก็แล้วแต่ความจำเป็นของแต่ละคน บทความดังกล่าวอาจนำไปช่วยพิจารณาในการตัดสินใจได้ครับ ทางผู้เขียนขออนุญาตแนะนำ ดังนี้ ถ้าไม่มีการเพิ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ หมายความว่า รถยนต์ที่ออกมาจากโรงงานประกอบอย่างไร ขอให้มีขนาดแบตเตอรี่เท่าใด มีขนาดเท่านั้นครับ เป็นการดีที่สุดครับ และการรับประกันของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ก็จะได้ไม่มีปัญหาด้วยครับ

 

ใส่ใจ ในการใช้ (แบตเตอรี่)
แผนกเทคนิคและฝึกอบรม
บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด (กรุงเทพฯ)

หมวด การดูแลรักษารถ | จำนวนคนอ่าน 35128 ครั้ง | เมื่อ : 05 เม.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ Trumq