phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

หลักการทำงานของระบบทำความเย็น

หมวด ข้อมูล-ความรู้ทางเทคนิค | จำนวนคนอ่าน 351015 ครั้ง | เมื่อ : 08 ต.ค. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

หลักการทำงานของระบบการทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศรถยนต์เป็นระบบทำความเย็นแบบอัดไอ (vapor compression system)โดยคอมเพรสเซอร์ (compressor) ทำหน้าที่ดูดสารทำความเย็นจากอีแว็ปเปอร์เรเตอร์ (evaporator) สารทำความเย็นในขณะนั้นยังมีสถานะเป็นแก๊สและคอมเพรสเซอร์ (compressor) ยังทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นออกไปที่คอนเดนเซอร์ (condenser) ทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิและความดันเพิ่มสูงขึ้นเมื่อสารทำความเย็นไหลผ่านคอนเดนเซอร์ (condenser) จะทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงจากนั้นสารทำความเย็นไหลต่อไปยัง รีซีฟเวอร์/ดรายเออร์ (receiver/dryer) เพื่อกรองสิ่งสกปรกและความชื้นที่ปนเปื้อนในสารทำความเย็นไหลไปที่ แอ็คเพนชั่นวาล์ว (expansion valve) แล้วฉีดเป็นฝอยละอองเข้าไปใน อีแว๊ปเปอร์เรเตอร์ (evaporator) ทำให้สารทำความเย็นมีความดันต่ำและดูดความร้อนจากภายนอก เพื่อให้ตัวมันเองมีสถานะกลายเป็นแก๊ส ทำให้อุณหภูมิภายนอกลดลง หลังจากนั้นสารทำความเย็นที่เป็นแก๊สจะถูกดูดเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ (compressor) เพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่อีกครั้ง

ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศรถยนต์

- คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เป็นอุปกรณ์ที่ดูดสารทำความเย็นจาก Evaporator และเพิ่มแรงดันให้สารทำความเย็นที่ส่งไปยัง Condenser โดยมีความดันมากกว่า 14.1 กก./ตร.ซม.

  • คอมเพรสเซอร์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
  • 1. แบบรีซิโพรเคติ้ง (Reciprocating Type)
  • 2. แบบสวอชเพลต (Swash Plate Type)
  • 3. แบบเวนโรตารี (Vane Rotary Type)

Compressor

- คอนเดนเซอร์ (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อน ทำให้สารทำความเย็นอุณหภูมิต่ำลง เปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว

Condenser

- รีซีฟเวอร์ / ดรายเออร์ (Receiver / Dryer) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกและความชื้นจากระบบ ถ้าสารทำความเย็นมีความชื้นปนอยู่ จะทำให้เกิดการกัดกร่อนชิ้นส่วนต่าง ๆ ในระบบและจะกลายเป็นน้ำแข็งใน Evaporator ทำให้สารทำความเย็นในระบบไหลไม่สะดวก

Receiver / Dryer

- แอ็คเพนชั่นวาล์ว (Expansion Valve) เป็นอุปกรณ์ลิ้นควบคุมอัตราการไหลของสารทำความเย็นที่ไหลไปยังอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์มากหรือน้อย ตามต้องการซึ่งจะควบคุมโดยการรับสัญญาณอุณหภูมิที่ท่อทางออกของอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์

  • แอ็คเพนชั่นวาล์ว แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
  • 1. แอ็คเพนชั่นวาล์วแบบกำลังดันคงที่ (Constant Pressure Expansion Valve)
  • 2. แอ็คเพนชั่นวาล์วแบบใช้ความร้อน (Thermal Expansion Valve) *แอ็คเพนชั่นวาล์วแบบใช้ความร้อนมีใช้กับเครื่องปรับอากาศรถยนต์ทั่ว ๆ ไป
  • 3. แอ็คเพนชั่นวาล์วแบบลูกลอย (Float Valve)

Constant Pressure Expansion Valve

- อีแว๊ปเปอร์เรเตอร์ (Evaporator) เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะกลาย เป็นแก๊สสารทำความเย็นจะดูดความร้อนจากอากาศโดยรอบ ทำให้อุณหภูมิของอากาศที่ถูกเป่าเข้าไปในห้องผู้โดยสารเย็นลง

  • อีแว๊ปเปอร์เรเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
  • 1. แบบแผ่นครีบรอบท่อ (Plate Fin Type)
  • 2. แบบแผ่นท่อวกวน (Serpentine Type)

Evaporator

สารทำความเย็น

สารทำความเย็นหรือฟรีออน (Freon) ทำหน้าที่เป็นสารตัวกลางสำหรับถ่ายเทความร้อนออกจากห้องโดยสาร โดยดูดซึมความร้อนเข้าสู่ตัวเองในขณะที่ อุณหภูมิและความดันต่ำ และถ่ายเทความร้อนออกจากตัวเองในขณะที่อุณหภูมิและความดันสูง

สารทำความเย็นแบ่งออกเป็น 4 ชนิด

  • 1. อินออร์แกนิกคอมพาวด์ (Inorganic Compourds) เป็นสารทำความเย็น ได้แก่ พวกแอมโมเนีย ก๊าซกรดกำมะถัน และน้ำ
  • 2. ไฮโดรคาร์บอน (Hydro Carbons) เป็นสารทำความเย็นประเภท มีเทน (Methane) อีเทน (Ethane) โปรเพน (Propane) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นได้ แต่มีปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยจึงใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคอล
  • 3. ส่วนผสมอะซีโอโทรปิก (Azeotropic Mixture) เป็นส่วนผสมของสารทำความเย็นที่แตกต่างกันแต่มารวมกันเป็นสารทำความเย็นชนิดเดียวกัน
  • 4. ฮาโลจีเนตคาร์ไบด์ (Halogenated Carbide) เป็นสารทำความเย็นที่นำมาใช้ในเครื่องทำความเย็นในปัจจุบัน คือ Fluorinated Hydrocarbon of Methane Series ซึ่งเรียกว่า สารทำความเย็นหรือฟรีออน สารทำความเย็นนี้มีส่วนผสมระหว่าง ฟูออรีน , คลอรีน และ มีเทน ตามสัดส่วนต่าง ๆ โดยจำแนกเป็นเบอร์เช่น R-12 , R-22 , R-500 สารทำความเย็น R-12 หรือสาร CFC (Chlorinate Fluorocabon) มีส่วนอย่างมากในการทำลายชั้นบรรยากาศของโลก นานาชาติได้ตกลงที่จะเลิกผลิตและยุติการใช้สารที่ทำลายสารที่ทำลายโอโซน รวมถึง R-12 ด้วยเหตุนี้ สาร R-134a ได้ถูกพัฒนานำมาใช้เป็นอีกทางเลือก สำหรับใช้แทน R-12

การเปรียบเทียบ R-134a กับ R-12

  • 1. R-134a ไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกับน้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์ทั่วไปได้ น้ำมันคอมเพรสเซอร์สำหรับ R-12 จะไม่ละลายใน R-134a ดังนั้นจึงไม่สามารถไหลเวียน และทำให้อายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์ลดลง
  • 2. R-134a จะทำให้ซีลเสียหายรวมถึงท่ออ่อนด้วยในระบบปรับอากาศรถยนต์ ที่ใช้ R-12 จะใช้ซีลที่ทำจาก NBR (Nitrile Butadiene Rubber) แต่ NBR จะละลายได้ใน R-134a ดังนั้นจึงใช้ RBR (Rubber in Behalf of R-134a) ซึ่งจะพัฒนาใช้สำหรับ R-134a ทำวัสดุใช้เป็นซีล วัสดุที่ใช้ทำท่อความดันสูงและต่ำ จะใช้ NBR แต่ถ้าเป็นระบบปรับอากาศรถยนต์ ที่ใช้ R134a สารทำความเย็นจะรั่วไหลออกมา ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนวัสดุทำท่อใหม่เพื่อใช้กับ R134a การซึมของสารทำความเย็น และน้ำจะลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับการใช้ R12
  • 3. R-134a สามารถดูดความชื้นได้มากกว่า R-12 จึงมีแนวโน้มจะเกิดสนิมภายในระบบได้ง่ายปัจจุบันสารดูดความชื้นที่ใช้จะเป็นซิลิกาเจล ถ้าต้องการดูดความชื้นออกจากวงจร R-134a จะต้องใช้ซิลิกาเจลจำนวนมาก แต่ถ้าให้ได้ผลดีสำหรับระบบที่ใช้ R-134a จะใช้สารดูดความชื้น ซีโอไลต์ แทนซิลิกาเจล รูปสารดูดความชื้น
  • 4. ในขณะทำงานเมื่อ R-134a มีอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้ความดันและภาระสูงขึ้นอย่างมาก ดังนั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงคลัทช์แม่เหล็กเปลี่ยนค่าต่าง ๆ เกี่ยวกับสวิตช์ ความดันแอ็คเพนชั่นวาล์วและชุดควบคุมกำลังดันอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์

ข้อแนะนำในการใช้เครื่องปรับอากาศรถยนต์

  • 1. การทำให้รถยนต์ภายในห้องโดยสารเย็นตัวลง หลังจากจอดรถทิ้งไว้กลางแดดให้เปิดกระจกหมดทุกบานไว้สักครู่ เพื่อระบายอากาศร้อนภายในห้องโดยสารและเปิดเครื่องปรับอากาศรถยนต์ เพื่อช่วยให้เย็นลงเร็วขึ้น
  • 2. ระมัดระวังอย่าให้มีเศษใบไม้หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ อุดตันร่องระบายอากาศด้านหน้า
  • 3. ในสภาพอากาศชื้นไม่ควรเปิดแอร์ให้ไอเย็นกระทบกับกระจกบังลมหน้าจะทำให้เกิดฝ้าทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ไม่ดี อาจเกิดอันตราย
  • 4. ดูแลให้พื้นที่บริเวณใต้เบาะนั่งคู่หน้าโล่ง เพื่อให้อากาศหมุนวนได้สะดวก
  • 5. ในสภาพอากาศเย็นให้เลื่อนปุ่มปรับความเร็วพัดลมไปตำแหน่ง H1 สักครู่เพื่อช่วยลดความชื้นและไล่ฝ้าที่กระจก

การปรับความเย็นในห้องโดยสาร

  • 1. ติดเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว เปิดน้ำยาแอร์และความเร็วของพัดลมให้แรงสุดเมื่อได้อุณหภูมิภายในห้องโดยสารเป็นที่ต้องการแล้ว ให้ลดน้ำยาและความแรงของพัดลมเพื่อให้อุณหภูมิของห้องโดยสารคงที่ตลอดเวลา
  • 2. เพื่อให้อากาศเย็นเร็วขึ้นให้เลื่อนปุ่มเปิดรับอากาศไปตำแหน่งอากาศไหลวน

ขอขอบคุณรูปภาพจาก th.wikipedia.org

ฝ่ายฝึกอบรม
บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด (กรุงเทพฯ)

หมวด ข้อมูล-ความรู้ทางเทคนิค | จำนวนคนอ่าน 351015 ครั้ง | เมื่อ : 08 ต.ค. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

    แสดงความคิดเห็น (30)

  • ความเห็นที่ 1
  • ดีมากคับแต่อยากให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับการคำนวนการสูญเสียคาวมร้อนจะดีมากคับ
  • จาก : pon
  • เมื่อ : 2008-05-06 13:43:34
  • ความเห็นที่ 2
  • เป็นการอธิบายที่ดีมาก แต่น่าจะมีตัวอย่างมาประอีกน่าจะสมบูรณ์กว่านี้ นะคับ

    แต่ยังไงก็ดีมากครับ...น่าให้ความสนับสุนและเป็นกำลังใจให้ต่อไป
  • จาก : กิจติพงษ์_ME
  • เมื่อ : 2008-08-01 23:02:29
  • ความเห็นที่ 3
  • ผมอยากทราบถึงระบบทำพื้นให้เย็นครับ
  • จาก : เกรียวไกร
  • เมื่อ : 2008-08-31 22:31:03
  • ความเห็นที่ 4
  • อธิบายเข้าใจดีนะครับ


    ถ้าได้การสร้างคงจรา เพราะจะเอาไปทำโคลงงาน งิๆ
  • จาก : 3!q
  • เมื่อ : 2009-02-26 19:20:32
  • ความเห็นที่ 5
  • ผมอยากทรายว่าแอร์รถ นิววีออสทําไมตัดต่อบ่อยประมาณ5วินาทีตัดต่อครับ
  • จาก : คมกฤช
  • เมื่อ : 2009-03-01 20:12:31
  • ความเห็นที่ 6
  • ....อยากได้ข้อมูลหลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศรถยนต์ มากกว่านี้ คับ....เอาแบบละเอียดเลยคับ..
  • จาก : วันยศ
  • เมื่อ : 2009-06-10 12:02:01
  • ความเห็นที่ 7
  • สารความเย็นR134aปลอดภัยกว่าR12
  • จาก : nick
  • เมื่อ : 2009-11-15 14:47:33
  • ความเห็นที่ 8
  • ตรวจซ่อมเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วยังงัยคับ

    เด็กช่างยนต์
  • จาก : น๊อต
  • เมื่อ : 2010-01-17 16:55:03
  • ความเห็นที่ 9
  • ต้องการทราบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ 2 สเตจ โดยใช้แอมโมเนีย
  • จาก : วิสูตร
  • เมื่อ : 2010-02-01 13:09:42
  • ความเห็นที่ 10
  • อยากได้รูปแบบการทำงานภายในของเครื่อง CHILLER รวมถึง COOLLINGTOWER อ่ะคับ
  • จาก : EEF
  • เมื่อ : 2010-06-05 13:24:21
  • ความเห็นที่ 11
  • อยากรู้การทำงานของ คอนเดนเซอร์ และว่าแบ่งได้มีกี่อย่าง

    อะไรบ้างครับ ฝากหาให้ทีนะครับ

    ^ ^

    จาอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐมครับ
  • จาก : แม๊กปวส1
  • เมื่อ : 2010-06-16 19:10:55
  • ความเห็นที่ 12
  • ขอบคุณมากเลยครับที่บอกให้ความรู้อะไรได้ตังเยาะ ผมมาฝึงงานมาช่างดีๆๆก็ลูกพี่ผมอะแหละคับร้านผมชื่อร้าน มันคงแอร์ ไครแวะมาสุพรรณมาตลาดสามชุกร้อยปีจะเย็นร้านซ่อมแอร์รถอยู่คับราคาเปงกันเองคับเติมนํายาแอร์ไม่แพงคับ แค่350-450เองคับล้างแอร์950คับท้าต้องการมาทําที่ร้านผมสามารถติดต่อได้คับที่เบอร์ 08-19950603
  • จาก : มั้นคงแอร์
  • เมื่อ : 2010-06-18 13:45:46
  • ความเห็นที่ 13
  • ความแตกต่างระหว่าง R134aกับ R12
  • จาก : เดีย
  • เมื่อ : 2010-07-06 22:53:51
  • ความเห็นที่ 14
  • มีเนื้อสาระดีอยากให้มีรายละเอียดเนื้อหาเกี่ยวกับการแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องปรับอากาศทั้งวงจรทางกล และวงจรทางไฟฟ้า ถ้ามีช่วยส่งเมลล์มาด้วยคะจะไว้เป็นเนื้อหาสอนนักเรียน
  • จาก : ปัทมา เกื้อชู
  • เมื่อ : 2010-07-10 19:24:51
  • ความเห็นที่ 15
  • ดีดีดีดีดีดีค่ะ
  • จาก : ออย
  • เมื่อ : 2010-09-03 03:37:57
  • ความเห็นที่ 16
  • Hello,

    This is a question for the webmaster/admin here at www.phithan-toyota.com.

    May I use some of the information from your blog post above if I give a link back to this site?

    Thanks,
    Peter
  • จาก : buy kinect
  • เมื่อ : 2010-10-24 07:22:49
  • ความเห็นที่ 17
  • อยากรู้ส่วนประกอบของ คอนเดนเซอร์
  • จาก : วีระ
  • เมื่อ : 2010-12-03 10:43:02
  • ความเห็นที่ 18
  • อยากอ่านวงจรเป็นคับ
  • จาก : อาร์ต
  • เมื่อ : 2011-02-04 21:16:20
  • ความเห็นที่ 19
  • ดีคับ
  • จาก : san
  • เมื่อ : 2011-03-04 22:56:04
  • ความเห็นที่ 20
  • แอร์รถยนต์แบบอัตโนมัติมีหลักการทำงานอย่างไรครับ ช่วยตอบด้วยครับ
  • จาก : chanchai
  • เมื่อ : 2011-03-19 17:04:44
  • ความเห็นที่ 21
  • ละเอียดมากเลยครับ...ขอบคุณ มากๆเลยคับ
  • จาก : จังเอย!
  • เมื่อ : 2011-03-25 20:08:17
  • ความเห็นที่ 22
  • สุดยอดมากเลยครับ อ่านแล้วได้ประโยชน์ดีจังเลย ครับ
  • จาก : x-rayman
  • เมื่อ : 2011-03-30 09:34:14
  • ความเห็นที่ 23
  • สุโก้ย...มาก ๆ ครับ... ประโยชน์จิง ๆ ครับ
  • จาก : Phumisak Thiothong
  • เมื่อ : 2011-05-02 20:12:23
  • ความเห็นที่ 24
  • ได้ความรู้มาก

    เลย
  • จาก : ฟอง
  • เมื่อ : 2011-05-04 16:53:03
  • ความเห็นที่ 25
  • ได้ความรู้มาก

    เลย
  • จาก : ฟอง
  • เมื่อ : 2011-05-04 16:53:52
  • ความเห็นที่ 26
  • ดีๆๆๆเลยคับผม มีอะไรดีๆๆเอามาให้ดูหน่อยนะคับ ต้องการศึกษามา


  • จาก : บี ขส 41
  • เมื่อ : 2011-06-01 10:40:14
  • ความเห็นที่ 27
  • เยี่ยม
  • จาก : ton
  • เมื่อ : 2011-06-08 15:37:37
  • ความเห็นที่ 28
  • อยากรู้แอร์บ้านมากกว่านี้คับ
  • จาก : หวัง
  • เมื่อ : 2011-06-16 11:52:34
  • ความเห็นที่ 29
  • ก็ดีนะครับ เเต่ไม่เจาะจง
  • จาก : พร
  • เมื่อ : 2011-06-16 20:44:55
  • ความเห็นที่ 30
  • ชั่วคักชั่วแน
  • จาก : น้อย
  • เมื่อ : 2011-06-16 20:48:23

เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ Trumq