phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

ถุงลมนิรภัย

หมวด อื่นๆ | จำนวนคนอ่าน 34749 ครั้ง | เมื่อ : 26 พ.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

ขึ้นชื่อว่า  “ถุงลมนิรภัย” ใครๆ ก็รู้จักเป็นอุปกรณ์หรือระบบเสริมความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รถยนต์ในปัจจุบันจะใช้ถุงลมนิรภัยแบบไฟฟ้าทั้งหมด การออกแบบในแต่ละรุ่นแต่ละแบบมีการติดตั้งจำนวนของถุงลมนิรภัยที่ไม่เท่ากัน หรือ บางรุ่นอาจจะไม่มีเลย อันนี้อาจขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า แต่ก็มีในบางยี่ห้อ หรือ บางรุ่นก็ติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานมาจากโรงงานเลย ตรงนี้อาจจะเลือกไม่ได้

ถุงลมนิรภัยในปัจจุบันที่เป็นแบบไฟฟ้านั้น จะมีไฟแสดงสถานะของการทำงานติดขึ้น เมื่อบิดสวิทช์กุญแจไปตำแหน่ง ON (ไฟโชว์บนมาตรวัดติดขึ้น) หรือ ติดเครื่องยนต์ และจะดับลงภายใน 6 วินาที นั้นหมายความว่า ระบบพร้อมที่จะทำงาน และเมื่อมีการทำงานก็จะสมบูรณ์ ถุงลมนิรภัยจะระเบิดหรือพองตัวได้นั้น ต้องได้รับการกระแทกเกินจากค่าที่กำหนดไว้ โดยเปรียบเทียบได้เท่ากับแรงกระแทกจากการชนด้วยความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และพุ่งชนวัตถุที่ไม่ยุบตัวหรือเคลื่อนที่ ถ้าแรงกระแทกต่ำกว่าค่ากำหนดดังกล่าว ถุงลมนิรภัยก็จะไม่ทำงาน

อย่างไรก็ตามค่าระดับดังกล่าวอาจจะสูงขึ้นกว่านี้ ในกรณีที่เป็นการชนเข้ากับวัตถุที่ยุบตัวหรือไม่ยึดอยู่กับที่ เช่น รถที่จอดอยู่ หรือ ชนเข้าไปในใต้ท้องรถที่สูงกว่า (พวกรถบรรทุกใหญ่) เป็นไปได้สูงที่ถุงลมนิรภัยจะไม่ทำงาน เพราะไม่โดนเข้ากับเซ็นเซอร์ตรวจจับการทำงาน การทำงานของถุงลมนิรภัยนั้น จะทำงานเมื่อได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงทางด้านหน้า หรือ ทางด้านข้าง (ในรุ่นที่มี) ในระยะและระดับที่กำหนด ถุงลมนิรภัยก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ และเพื่อความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ขับขี่และผู้โดยสารควรคาดเข็มขัดนิรภัยด้วยทุกครั้ง

การออกแบบถุงลมนิรภัย ไม่ได้ออกแบบให้มีการพองตัวจากการชนทางด้านหลังและทางด้านข้าง (ยกเว้นรุ่นที่มี) และในบางครั้งถุงลมนิรภัยอาจทำงานได้เอง ในกรณีเกิดการกระแทกอย่างรุนแรงบริเวณใต้ท้องรถ ดังภาพข้างล่าง

ด้านการทำงานในกรณีมีการชนปะทะถึงระดับที่ถุงลมนิรภัยทำงาน ระบบจะสั่งการให้ชุดประจุแก๊สมีการทำงาน จะเกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้ถุงลมพองตัวออกมา ภายในเสี้ยววินาที เสียงที่เกิดขึ้นมีความดังพอประมาณ พร้อมกับมีควันออกมาและก๊าซซึ่งไม่มีพิษออกมาด้วย เหตุการณ์เช่นนี้มิได้บ่งบอกว่า จะเกิดไฟไหม้ขึ้นแต่อย่างใด สำหรับผู้ที่แพ้ผิวง่ายอาจมีการระคายเคืองเกิดขึ้นได้ ให้รีบทำความสะอาดโดยเร็ว ระดับความรุนแรงที่พองตัวออกมานั้นก็พอสมควร อาจมีการถลอก, ไหม้ หรือ บวมได้ และการทำงานจะมีการทำงานเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น

ข้อห้าม ในตำแหน่งที่มีถุงลมนิรภัย ไม่ควรวางสิ่งของใดๆไว้ใกล้ เพราะเมื่อมีการพองตัว จะเป็นอันตรายอย่างมาก บางครั้งอาจถึงขั้นเสียชีวิต อีกกรณีหนึ่ง ไม่ควรนำสติ๊กเกอร์ หรือ วัสดุอื่นใดปิดทับบนแป้นของถุงลม เพราะจะส่งผลถึงการพองตัวเมื่อมีการทำงาน นั่นเอง

รู้ไว้ ใช่ว่า
แผนกเทคนิคและฝึกอบรม
บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด (กรุงเทพฯ)

หมวด อื่นๆ | จำนวนคนอ่าน 34749 ครั้ง | เมื่อ : 26 พ.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

    แสดงความคิดเห็น (1)

  • ความเห็นที่ 1
  • อยากเห้นภาพการทำงานของถุงลมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ
  • จาก : นะจัง
  • เมื่อ : 2010-05-09 16:09:29

เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ Trumq