phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

เนื้อหามาจากข่าว 1

หมวด การใช้รถ | จำนวนคนอ่าน 12735 ครั้ง | เมื่อ : 08 ก.พ. 2553 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

การขับรถในเวลากลางวัน ย่อมมีความปลอดภัยสูงมากกว่า การขับรถในเวลากลางคืน การขับขี่ในเวลากลางคืน นอกจากทัศนวิสัยที่เกิดจากธรรมชาติแล้ว ยังมีสิ่งที่มนุษย์กระทำขึ้นมามากมาย ตามถนนหนทางทั่วไปผู้ขับขี่รถยนต์ทุกท่านคงได้พบเจอแล้วสิ่งที่กล่าวถึง คือ การเปิดไฟตัดหมอก ยามทัศนวิสัยที่เป็นปกติ และการปรับปรุงไฟหน้าที่ผิดมาตรฐานมาจากโรงงานผลิต  เพราะการกระทำที่ผิดไปจากเดิมจะส่งผลกระทบต่อผู้ร่วมใช้เส้นทางอย่างยิ่ง 

     ผู้ขับขี่บางท่านอาจเคยบ่นกับตนเองว่า ทำไม่รถยนต์คันนั้นไฟหน้าสว่างจังเลย ทำไมรถยนต์คันนี้ไฟหน้าสูงจังเลย แถมยังเปิดไฟตัดหมอกอีก อย่างนี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย ปัญหาของไฟหน้าและไฟตัดหมอกของรถยนต์นั้น มีการกล่าวถึงมาเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้ว รวมถึง ทางถึงเจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ และกรมการขนส่งทางบกได้มีการประชุมหารือ เพื่อหาทางออกอย่างดีที่สุด  ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รถยนต์ทราบอย่างทั่วกัน แต่ถึงกระนั้นผู้ขับขี่รถยนต์หลายท่านก็ยังนิยมเปิดไฟหน้า และไฟตัดหมอก ยามทัศนวิสัยปกติยังมีให้เห็นอยู่มาก  และทุกวันนี้ก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

         พล.ต.ต. ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(บช.น)ดูแลงานจราจรเปิดเผยว่า ปัจจุบันประชาชนเป็นจำนวนมากได้มีการร้องเรียนกรณีผู้ขับขี่นิยมเปิดไฟตัดหมอกควบคู่กับไฟหน้ารถปกติในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งนอกจากเป็นการรบกวนผู้ขับขี่คนอื่นแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้  อีกทั้งยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ. รถยนต์อีกด้วยทั้งที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ เปิดไฟตัดหมอกได้ก็ต่อเมื่อ บนท้องถนนที่มีหมอก, ควัน, ละออง จนทำให้ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเห็นทางได้ตามปกติ  ดังนั้น ตนจึงได้สั่งการกำชับในที่ประชุมรองผู้กำกับการจราจรและสารวัตรจราจรครั้งที่ผ่านมา หากพบเห็นรถคันใดเปิดไฟตัดหมอกในเวลากลางคืนที่มีทัศนวิสัยปกติให้จับโทษปรับสูงสุดถึง 500 บาท นอกจากนี้ ยังพบปัญหาไฟหน้าสว่างเกินไป จนเป็นที่รำคาญของรถคันอื่น ทั้งในรถกระบะที่ยกสูงทำให้ระดับไฟส่องสว่างหน้ารถถูกยกสูงตามไปด้วย จนไฟส่องสว่างสร้างความรำคาญให้กับรถคันอื่น รวมถึงกรณีที่รถยนต์ใช้ไฟหน้าที่เป็นแบบซีนอนมีความสว่างเกิน 50 วัตต์ ตามที่กฎหมายกำหนด แม้ว่าที่ผ่านมากรมการขนส่งทางบก (ขบ.) มีแนวคิดจะเปลี่ยนหน่วยการกำหนดความเข้มของแสง จากจำนวนวัตต์เป็นการวัดปริมาณแสงที่ตกกระทบ แต่ก็เกิดปัญหาว่าทางตำรวจไม่มีเครื่องมือวัดค่าแสงแบบดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้
            หากเปิดไฟตัดหมอกหน้ายามทัศนวิสัยที่จำเป็นจริง  เชื่อได้เลยว่าทางเจ้าหน้าที่คงไม่มีการตักเตือนแต่อย่างใด อีกอย่างในรถยนต์บางรุ่น ตัดหมอกหลัง  ในการเปิดก็ควรพิจารณาในเรื่องของทัศนวิสัยในขณะนั้นด้วยจากข้อมูลที่กล่าวมานั้น แสดงว่าทางเจ้าหน้าที่ จะมีความเข้มงวดในเรื่องของไฟหน้า และไฟตัดหมอก ดังนั้นผู้ขับขี่ทุกท่าน ขอให้คำนึงถึงเรื่องที่กล่าวมากันด้วยนะครับ  อย่างน้อยก็เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน รวมถึงข้อกำหนดที่บังคับโดยกฎหมายกันด้วยนะครับ

จำเป็นแล้วใช้ ไม่ว่ากัน   
แผนกเทคนิคและฝึกอบรม
บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด (กรุงเทพ)

 

หมวด การใช้รถ | จำนวนคนอ่าน 12735 ครั้ง | เมื่อ : 08 ก.พ. 2553 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

NEW YARIS Cross ราคาเริ่มต้น 789,000 บาท