phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

ขับรถยนต์ลุยน้ำ (ในระดับที่ไปได้)

หมวด ลักษณะปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ | จำนวนคนอ่าน 12696 ครั้ง | เมื่อ : 20 ธ.ค. 2554 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

     การที่ผู้ขับขี่จะขับรถยนต์ลุยน้ำนั้น  ทางผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางแน่ๆ  ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตามผู้ขับขี่จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่า  สามารถพอที่จะขับผ่านพ้นไปได้หรือไม่

เบื้องต้นอาจจะต้องมีการสอบถามกับบุคคลในละแวกนั้น, สอบถามจากผู้ขับขี่ท่านอื่น, อาจจะต้องลงรถเพื่อสำรวจเส้นทาง, หรือแม้กระทั่งการฟังข่าวสารการจราจร  เป็นต้น  ซึ่งทั้งหมดทางผู้ขับขี่คงจะต้องนำมาประกอบในการพิจารณา  คงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการขับขี่อย่างทันทีทันใด  ถ้าภาวะน้ำท่วมในขณะนั้นค่อนข้างที่จะลึก  เหมือนดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ผ่านมาของประเทศไทยในเดือน ตุลาคม  2554  จะเห็นได้ว่ามีรถยนต์จมน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก  ไม่เว้นแต่แม้กระทั่งรถบรรทุกใหญ่ๆ  ที่ยังจอดแช่น้ำโดยสนิท
     หากมีการพิจารณาแล้วว่าสามารถที่จะขับขี่ผ่านพ้นไปได้หรือน่าจะไปได้  ก่อนออกเดินทางก่อนอื่นให้มีการเตรียมการในรถยนต์ของตนเองก่อนในอันดับแรก  เป็นต้นว่า  หาวัสดุปิดกั้นบริเวณกระจังหน้ารถ  อันนี้ก็เพราะว่า กระแสของน้ำหรือการขับรถเดินหน้าเกิดการกระแทกกับน้ำ  อาจจะโดนพัดลมเครื่องยนต์  ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายได้และปัญหาเรื่องความร้อนก็จะตามมา  ไม่เพียงแค่นั้นยังป้องกันวัสดุที่ลอยมากับน้ำได้อีกทางหนึ่ง  มิหนำซ้ำตัวน้ำเองก็ยังเข้าไปโดนเครื่องยนต์ได้น้อยลงอีกด้วย
     สำหรับในส่วนของเครื่องยนต์อีกข้อคือ ให้ทำการจัดท่อรับอากาศเสียใหม่หรือท่อรับอากาศสำหรับเครื่องยนต์ ( ไอดี ) ให้อยู่เหนือน้ำหรือพ้นน้ำ  เพราะเครื่องยนต์ต้องอาศัยอากาศเพื่อใช้ในการสันดาปของเครื่องยนต์  ถ้ามีการปล่อยให้น้ำเข้าสู่ห้องเผาไหม้ได้  การจุดระเบิดจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้  หากสภาวะมีการขับลุยน้ำก็เท่ากับว่าเครื่องยนต์ดับทันที  ความเสียหายอาจจะมากกว่าที่คิด


     มาดูในส่วนที่อยู่ใต้ท้องรถยนต์กันบ้าง  ชิ้นส่วนที่จะกล่าวถึงคือ  ท่อไอเสีย  ถ้าเป็นไปได้ให้มีการต่อปลายท่อไอเสียให้มีการพ้นน้ำ  เพราะไม่อย่างนั้นการคายไอเสียจะมีประสิทธิภาพที่ลดลง  ก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ลดลง  บางคนอาจจะสงสัยว่าเป็นไปได้ยังไง  มาลองดูกันเลยครับ  เคยสังเกตกันไหมครับว่า  รถยนต์บรรทุกใหญ่ในสมัยก่อน (ไม่รู้ว่าสมัยนี้ยังมีอยู่อีกหรือไม่)  ตรงที่ว่าจะมีการเบรกรอบของเครื่องยนต์โดยใช้ไอเสีย  กล่าวคือ  เมื่อเครื่องยนต์มีการทำงานและรถยนต์มีการขับเคลื่อนอยู่นั้น  ระบบเบรกในรถยนต์ใหญ่นั้นหากมีการทำงานโดยอาศัยเบรกแต่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ  ดังนั้น  จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยการลดรอบของเครื่องยนต์โดยการปิดกันทางเดินของไอเสีย  ซึ่งจะเกิดการอั้นกำลังนั่นเอง  และการที่ไอเสียพ้นน้ำจึงเกิดประโยชน์ตามที่ว่ามาครับ
     สำหรับผู้ขับขี่มีการเตรียมการในเรื่องของรถยนต์ดังที่กล่าวมาแล้วละก็  อันดับต่อไปคงจะต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้ขับขี่เสียเป็นส่วนใหญ่แล้วหละ ยังไงแล้วขอให้นึกถึงสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ด้วยนะครับ

    -  ตัวรถยนต์จะต้องมีการเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอ  ถ้าคิดว่าน้ำเข้าสู่ห้องโดยสารได้
    - ไม่ควรใช้ความเร็วในการขับเคลื่อนมาก เพราะคลื่นที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของรถยนต์จะส่งผลโดยตรงต่อรถที่ร่วมใช้เส้นทางและบ้านเรือนข้าวของเครื่องใช้ในละแวกนั้นมีความเสียหาย
    - บางครั้งอาจจะมีการปิดระบบปรับอากาศบ้างตามสมควร
    - การเคลื่อนที่ของรถยนต์ขอให้อยู่ในแนวของเส้นทางของถนน ออกนอกเส้นทางไม่ควรเสียง
    - สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของตนเอง  เช่น  เสียงดัง, ไฟเตือนต่างๆบนมาตรวัด , และอื่นๆ
    - สำหรับระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา  ไม่ควรเปลี่ยนเกียร์บ่อยครั้ง
    - หากเป็นรถยนต์ที่มีการเลือกขับแบบสี่ล้อได้  ใช้การเลือกขับสี่ก็จะดียิ่งขึ้น ( กรณีเคลื่อนที่แนวทางตรง )
    - ฯลฯ  เช่น  น้ำมันเชื้อเพลิง , สุขภาพของผู้ขับขี่  เป็นต้น
     ตามที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วนั้น  ก็เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถที่จะพิจารณาในการเดินทางว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนและเพียงไรครับ  กล่าวโดยสรุปจะมีประเด็นหลักมีอยู่สองประเด็นคือ
    - ความพร้อมของตัวรถยนต์รวมถึงสมรรถนะด้วย
    - ความพร้อมและทักษะของผู้ขับขี่รวมถึงประสบการณ์ด้วย
   ดังนั้น เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีความพร้อมต่อการขับรถยนต์ลุยน้ำแล้วละก็  ไปกันได้เลย และจะเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไปสำหรับคุณ

ลุยน้ำได้  ง่ายนิดเดียว
แผนกเทคนิคและฝึกอบรม

บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด ( กรุงเทพฯ )
หมวด ลักษณะปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ | จำนวนคนอ่าน 12696 ครั้ง | เมื่อ : 20 ธ.ค. 2554 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ Trumq