- หน้าแรก
- รุ่นรถโตโยต้า
- ราคารถทุกรุ่น
- เงื่อนไข/ข้อเสนอ
- เว็บบอร์ด
- ติดต่อพิธาน
หมวดหมู่
บทความล่าสุด
พลังงานทางเลือก / พลังงานทดแทน (อีกทางเลือกระหว่าง NGV vs LPG)
CNG มาจากคำว่า Compressed Natural Gas ซึ่งภาษาไทยเรียกกว่า "ก๊าซธรรมชาติอัด" ส่วน NGV มาจากคำว่า Natural Gas for Vehicle หรือ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ชื่อทั้งสองนี้เป็นสิ่งเดียวกัน คือเป็นก๊าซธรรมชาติประเภทไฮโดรคาร์บอนที่มีก๊าซมีเทนเป็นองค์ประกอบที่ถูกนำมาอัดด้วยความดันสูงประมาณ 3,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จัดเก็บไว้ในถังที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษโดยมีสถานะเป็นก๊าซ
CNG ถูกนำมาใช้กับรถยนต์แทนการใช้น้ำมันเบนซิน หรือ ใช้ร่วมกับน้ำมันดีเซลเพื่อลดการใช้
น้ำมันด้วยเหตุผลที่สำคัญที่สุดคือราคาน้ำมันทั้งเบนซินและดีเซลที่แพงมากทั้งการใช้แทน หรือ
ใช้ร่วม ที่กล่าวข้างต้นคือแบบทวิ (Bi-fuel) คือ มีใช้เชื้อเพลิงสองชนิดเพื่อรองรับการทำงานของเครื่องยนต์
- ในเครื่องยนต์เบนซินเป็นแบบใช้แทน เพราะคุณสมบัติในการจุดระเบิดของก๊าซเหมือนกับน้ำมันเบนซิน
- ในเครื่องยนต์ดีเซลเป็นแบบใช้ร่วม เพราะระบบเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันต้องใช้การจุดระเบิด ด้วยน้ำมันดีเซลเท่านั้นจึงยังคงต้องใช้น้ำมันดีเซลควบคู่กับก๊าซตลอดเวลาซึ่งอัตราส่วนผสมที่สามารถทำได้ในปัจจุบันคือ ดีเซล 70% ก๊าซ 30%
เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีค่ายรถยนต์ยี่ห้อใดทำการติดตั้งระบบแก๊สกับรถยนต์ของตนเองพร้อมจากโรงงานเพื่อจำหน่ายกับลูกค้าทั่วไปดังนั้นหากเกิดความเสียหายก็จะไม่ได้รับการรับผิดชอบภายใต้เงื่อนไขการรับประกันคุณภาพจากบริษัทรถยนต์
เปรียบเทียบระหว่างการใช้น้ำมันเบนซิน กับการติดตั้งแก๊ส NGV
แบบใช้ก๊าช CNG | แบบใช้น้ำมัน | |
ต้นทุนค่าติดตั้งระบบ | ประมาณ 5.5 - 6.5 หมื่นบาท | ไม่มี |
ราคาเชื้อเพลิง (ปัจจุบัน) | 8.50 บาท/กิโลกรัม | แก็ซโซฮอล์ 91 : 37 บาท / ลิตร |
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง | 15 กิโลเมตร/กิโลกรัม | 10- 15 กม./ลิตร แล้วแต่ขนาด |
ข้อดี | ราคาเชื้อเพลิงถูกกว่าน้ำมันสามารถเลือกใช้น้ำมันเบนซินหรือ ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงได้ น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพช้ากว่าปกติ เป็นพลังงานที่สะอาดกว่า ปล่อย ไอเสียน้อยกว่า |
ผ่านการพิสูจน์การใช้งานมานานโดยผู้ใช้รถยนต์ทั่วไปมีความเชื่อมั่นด้าน ประสิทธิภาพ ความทนทาน อายุการใช้งาน ไม่เสียพื้นที่ห้องโดยสาร ไม่มีภาระน้ำหนักเพิ่มเติมไม่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมใดๆหลังซื้อใช้ รถไม่เสียหายคงได้สิทธิทางด้านการรับประกัน คุณภาพตามเงื่อนไขของบริษัท |
ข้อด้อย | ต้องดัดแปลงรถน้ำหนักรถเพิ่มเสียพื้นที่บรรจุสัมภาระ กำลังเครื่องยนต์ด้อยกว่าต้องตั้งวาล์วทุกๆ 4 - 60,000 กม. มีธุระต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกับนายทะเบียนขนส่ง ประกันภัยไม่คุ้มครอง ต้องซื้อเพิ่มปั๊มต่างจังหวัดยังไม่มี หรือมีน้อย |
ราคาเชื้อเพลิงแพงมากแม้จะมีทางเลือกคือ E20 แต่มีหัวจ่ายน้อยมีการปล่อยสารพิษทางไอเสียมาก |
LPG มาจากคำว่า (Liquid Petrolium Gas) ภาษาไทยคือ ก๊าซปิโตรเลี่ยมเหลว หรือก๊าซหุงต้มเป็นสารประกอบไฮโดรคาบอนที่มีก๊าซโพรเพนเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนใหญ่ เป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ จัดเก็บในสถานะของเหลวบรรจุใส่ถังทนความดัน (โดยความจุถังที่นิยมติดในรถคือ 48 - 75 ลิตร) ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้มากเป็นพิเศษเพราะต้นทุนการดัดแปลงถูกและมีจุดบริการเติมก๊าซอยู่ทั่วไป ที่สำคัญคือราคาก๊าซไม่แพงเมื่อเทียบกับน้ำมันเบนซิน
เปรียบเทียบระหว่างการใช้น้ำมันเบนซิน กับการติดตั้งแก๊ส LPG
แบบใช้ก๊าช LPG | แบบใช้น้ำมัน | |
ต้นทุนค่าติดตั้งระบบ | 3.5 - 4.5 หมื่นบาท (ระบบฉีด) | ไม่มีค่าใช้จ่าย |
ราคาเชื้อเพลิง (ปัจจุบัน) | 11 - 12 บาท ต่อ ลิตร | แก็ซโซฮอล์ 91 : 37 บาท / ลิตร |
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง | 8- 12 กม./ลิตร แล้วแต่ขนาดเครื่องยนต์ | 10- 15 กม./ลิตร แล้วขนาดเครื่องยนต์ |
ข้อดี | ราคาเชื้อเพลิงถูกกว่าน้ำมัน | ผ่านการพิสูจน์การใช้งานมานานโดย ผู้ใช้รถยนต์ทั่วไปมีความเชื่อมั่นด้าน ประสิทธิภาพ ความทนทาน อายุการใช้งาน ไม่เสียพื้นที่ห้องโดยสาร ไม่มีภาระน้ำหนักเพิ่มเติม ไม่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมใดๆ หลังซื้อใช้ รถไม่เสียหาย คงได้สิทธิทางด้านการรับประกัน คุณภาพตามเงื่อนไขของบริษัท |
ข้อเสีย | ถูกจำกัดปริมาณการใช้ในรถยนต์ ราคาก๊าซอาจถูกปล่อยลอยตัว ในอนาคตอันใกล้ ทั่วโลกไม่มีการใช้เป็นมาตรฐาน ต้องมีการปรับแต่งระบบบ่อยครั้ง ในช่วงแรกของการติดตั้ง ตัวรถมีการดัดแปลงเสียสิทธิการ รับประกันคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยไม่ดีทั้งใน ขั้นการติดตั้งและการเติมเชื้อเพลิง เครื่องยนต์จะสึกหรอเร็วกว่าปกติ ประกันภัยไม่คุ้มครอง ต้องซื้อเพิ่ม มีน้ำหนักเพิ่ม ถัง + แก๊ส ประมาณ 80 กก. | ราคาเชื้อเพลิงแพงมากแม้จะมีทาง เลือกคือ E20 แต่มีหัวจ่ายน้อย มีการปล่อยสารพิษทางไอเสียมาก |
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้ LPG กับ CNG
CNG | LPG | หมายเหตุ | |
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง | แพง | ถูก | ต่างกันประมาณ 2-3 หมื่นบาท |
ความปลอดภัย | สูงกว่า | ต่ำกว่า | LPG เมื่อรั่วจะลอยต่ำเป็นอันตราย ส่วน CNG จะลอยสูง |
สถานีบริการ | มีน้อย | มีมาก | |
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง | ประหยัดกว่า LPG 35 % | เปลืองกว่า | |
ปริมาตรบรรจุต่อถัง | น้อย | มาก | LPG เป็นของเหลวจึงบรรจุได้ในปริมาณมากกว่าต่อถังขนาดเท่ากัน |
ระยะทางที่วิ่งได้ต่อความจุถังที่ติดตั้ง | สั้นกว่ามาก | ไกลกว่า | |
ราคาเชื้อเพลิง | ถูกกว่า LPG 33 % | ||
การสนับสนุนจากรัฐ | ได้ | ไม่ได้ | ราคา LPG ลอยตัว จะแพงขึ้น |
Hybrid ในรถยนต์
ระบบขับเคลื่อนรถยนต์แบบผสม ซึ่งที่แพร่หลายคือการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงทั้งนี้โดยมีเป้าหมายหลักคือเพื่อช่วยประหยัดการใช้เชื้อเพลิงโดยปัจจุบันได้รับการพัฒนาไว้ 3 แบบ คือ
1. แบบอนุกรม (Series) คือใช้เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันหมุนไดชาร์จเพื่อประจุไฟเข้าแบตเตอรี่ และ รถจะเคลื่อนที่ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น
2. แบบขนาน ( Parallel) คือใช้ทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนรถยนต์
3. แบบอนุกรมขนาน (Series-Parallel) มีลักษณะเหมือนแบบขนาน แต่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าตรงที่มีมอเตอร์ชาร์จไฟแยกจากมอเตอร์ขับเคลื่อนต่างหาก จึงสามารถชาร์จไฟได้ตลอดเวลา และ มอเตอร์สามารถช่วยเสริมการทำงานในการขับเคลื่อนรถได้มี ประสิทธิภาพกว่า
ปัจจุบัน โตโยต้าใช้แบบอนุกรมขนาน ซึ่งติดตั้งและจำหน่ายอยู่ทั่วโลกโดยมียอดจำหน่ายกว่า ล้านคัน ได้แก่รุ่น Prius Camry Lexus เป็นต้น
หลักการทำงานของรถ Hybrid
โดยปกติระบบเครื่องยนต์และส่งกำลังจะทำงานและควบคุมให้โดยอัตโนมัติโดยที่ผู้ขับเพียงควบคุมรถเหมือนรถปกติทั่วไป คือ ควบคุมเกียร์ คันเร่ง เบรก และบังคับพวงมาลัย
ระบบไฮบริดทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้การควบคุมของผู้ขับดังนี้
ข้อดีของระบบ Hybrid
1. ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมได้ประสิทธิภาพเครื่องยนต์ที่ดีกว่า
(อัตราเร่งดีกว่าการใช้น้ำมันแต่อย่างเดียว) ประหยัดกว่าแบบใช้น้ำมันอย่างเดียว 25-30%
2. ช่วยลดการสร้างมลภาวะทางเสียง
3. ช่วยลดการปล่อยสารพิษสู่ชั้นบรรยากาศ (ลดปัญหาโลกร้อน)
4. ช่วยลดการปล่อยความร้อนสู่บรรยากาศขณะการจราจรติดขัด
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://pttweb2.pttplc.com/webngv/kw_df.aspx
ข้อมูลจาก Toyota Motor Thailand.
ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ความคิดเห็น (1)
1 |
พิธาน
บทความที่น่าสนใจ
© Copyright 2008 phithan-toyota.com E-Mail : Phithan@phithan-toyota.com
สาขาสุรวงศ์ : 0-2234-8760 , สาขาเพชรบุรี : 0-2716-6360, สาขารามอินทรา : 0-2973-1500 ,สาขาทวีวัฒนา 0-2888-2999 Call Center 0-2973-1268-9