- หน้าแรก
- รุ่นรถโตโยต้า
- ราคารถทุกรุ่น
- เงื่อนไข/ข้อเสนอ
- เว็บบอร์ด
- ติดต่อพิธาน
หมวดหมู่
บทความล่าสุด
ติดก๊าซคุ้มจริงหรือ?
ตลาดรถกระบะบ้านเราช่วงนี้อยู่ในภาวะอึดอัดหาวเรอ
เพราะสิงห์ปิกอัพกำลังขวัญผวากับราคาดีเซลที่พุ่งเอาๆ จนทะลักลิตรละ 40 กว่าบาทเข้าไปแล้ว ทำให้ผู้ที่เคยตัดสินใจซื้อรถกระบะเป็นรถบ้าน มากกว่าใช้เพื่อการขนส่งหรือการพาณิชย์ โดยเฉพาะผู้ใช้รถกระบะ 4 ประตูในกทม.และปริมณฑล เกิดอาการถอดใจ
โดยส่วนหนึ่งได้ตัดใจเทขายให้เต็นท์รถมือสอง แล้วหันมาใช้รถเก๋งขนาดเล็กแทน ขณะที่อีกส่วนหันไปติดก๊าซ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติอัด(ซีเอ็นจี) หรือก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี)
สำหรับผู้ที่ตัดแปลงเป็นรถปิกอัพติดก๊าซ จำต้องยอมรับสภาพขาดทุนอีก 4 เด้ง คือ
- ยอมขาดทุนจากการถอดเครื่องดีเซลคอมมอนเรลซึ่งมีมูลค่าไม่กว่า 150,000 บาท
- เสิยเงิน 50,000 บาท เพื่อไปซื้อเครื่องเบนซิลเก่าๆ
- เสียเงินค่าวางเครื่องอีก 10,000 บาท โห!! และ
- เสินเงินค่าติดตั้งถังก๊าซซีเอ็นจี หรือแอลพีจีอีก 30,000 - 50,000 บาท
เท่ากับว่านอกจากจะขาดทุนจากการถอดเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลซึ่งได้ชื่อว่าสุดยอดประหยัดน้ำมันดีอยู่แล้ว ยังต้องควักเนื้อเพิ่มอีกถึง 100,000 บาท โห!!
ปัญหาก็คือว่าจริงๆแล้ว การนำรถปิกอัพไปติดก๊าซนั้น จะคุ้มหรือไม่?!?
เมื่อคิดถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท ซึ่งจะต้องใช้เวลากว่า 2 ปีถึงจะคุ้มทุน
ขณะที่อัตราบริโภคเชื้อเพลิงก็ต่างกันอักโข โดยปิกอัพดีเซล น้ำมัน 1 ลิตรจะวิ่งได้ 13.31 กม. ขณะที่ปิกอัพซีเอ็นจี จะมีอัตราบริโภค 8.50 กม.ต่อ กก.
สำหรับเครื่องยนต์เบนซินเก่าๆ ที่นำมาเปลี่ยน ก็ไม่แน่ใจว่าจะยังใช้งานได้อีกนานเท่าไร
แถมต้องปวดหัวกับการนำรถมาจูนเรื่อยๆ วิ่งไปได้สักพักก็มีปัญหาแก้ไม่จบเสียที
สิงห์ปิกอัพติดก๊าซแอลพีจี นอกจากจะขวัญผวากับการขับรถขนระเบิดเคลื่อนที่แล้ว ยังต้องประสาทรับประทานว่าเมื่อไรหนอที่รัฐบาลจะลอยตัวราคาก๊าซ
ส่วนปิกอัพเอ็นจีวีหรือใช้ก๊าซซีเอ็นจีเป็นเชื้อเพลิง ก็ต้องหงุดหงิดกับการเสียเวลารอคิดเติมก๊าซ
หากปั้มก๊าซซีเอ็นจีมี 4 หัวจ่าย ถ้าอยู่ในคิวที่ 10 ก็ต้องเสียเวลาจอดรอดนานถึง 45 นาทีจึงจะได้เริมก๊าซ ซึ่งจะกินเวลาอีก 15 นาทีในการอัดก๊าซ รวมเบ็ดเสร็จต้องเสียเวลาเติมก๊าซนานนับชั่วโมง
อย่าลืมว่าถังก๊าซซีเอ็นจี 1 ถัง จะวิ่งได้เพียง 150 กม. !!
ถ้าเดือนหนึ่งใช้รถอยู่1,800 กม. ก็ต้องเติมก๊าซไม่ต่ำกว่า 12 ครั้ง หรือแทบจะวันเว้นวัน เท่ากับต้องเสียเวลาเติมก๊าซในแต่ละเดือนไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง เมื่อรวมเวลาที่เสียไปทั้งเดือนจะยิ่งสะอึก เพราะได้เสียเวลาทำมาหากินไปไม่น้อย!!
ที่สำคัญ จากแผนการขยายปั้มซีเอ็นจีของ ปตท.ใน 5 ปีข้างหน้า คือ ปี 2555 จะพบว่ามีเพียง 740 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในกทม. และปริมณฑล ขณะที่ปั้มน้ำมันดีเซลของ ปตท. ณ วันนี้มีอยู่ทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 18,521 แห่ง
หากระยะทางระหว่างบ้านกับปั้มก๊าซอยู่ห่างราว 50 กม. แค่วิ่งไปกลับเติมก๊าซก็หมดไปแล้วถึง 2 ใน 3 ของถัง เหลือวิ่งใช้งานจริงได้อีกเพียง 50 กม.
เฮ้อ!!!
ข่าวและภาพข่าว จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ฉบับวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฏาคม 2551
โดยคอลัมนิสต์คุณอัลคาโปน
ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
พิธาน
บทความที่น่าสนใจ
© Copyright 2008 phithan-toyota.com E-Mail : Phithan@phithan-toyota.com
สาขาสุรวงศ์ : 0-2234-8760 , สาขาเพชรบุรี : 0-2716-6360, สาขารามอินทรา : 0-2973-1500 ,สาขาทวีวัฒนา 0-2888-2999 Call Center 0-2973-1268-9