ค้นหาบทความ

หมวดหมู่

 โหราศาสตร์(9)
 ท่องเที่ยว(9)
 Lifestyle(9)
 รถยนต์(15)
 กีฬา(11)
 สุขภาพ(12)
 ลักษณะปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถยนต์(24)
 บทความทั่วไป(75)
 เทคนิคเกี่ยวกับรถ(44)
 ถาม-ตอบที่น่าสนใจ(162)
 ข้อมูล-ความรู้ทางเทคนิค(97)
 อะไหล่(21)
 การดูแลรักษารถ(61)
 การใช้รถ(85)
 Camry Hybrid(13)
 อื่นๆ(35)

บทความล่าสุด

น้ำในหม้อน้ำลดหาย เกิดจากสาเหตุใด ?
ดอกยางสึกเพียงด้านเดียวเป็นเพราะอะไร ?
อย่า !! ละเลยภายในห้องเครื่องยนต์
ไฟเบรกไม่ติดมีความไม่ปลอดภัยอย่างไร ?
เข้าศูนย์ตอนเช้าดียังไง ?
กรณีรถเสีย จะติดต่อหน่วยงานไหนดี ?
ขับรถตกหลุมบ่อย ๆ จะส่งผลอย่างไรบ้าง ?
ถ้าได้กลิ่นเหม็นไหม้ภายในรถ ควรทำอย่างไร ?
คินโตะ (บริการการเช่ารถจากโตโยต้าราคาเดียว) เหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มใดบ้าง?
เหตุใด !! รถยนต์คัมรี่ใหม่ (2564) รุ่น Hybrid ที่ใช้เครื่องยนต์เดิมจึงมีตัวเลขประหยัดน้ำมันตาม Eco Sticker ลดลงจากเดิม ?
เหตุใดจึงต้องมีการยกเลิก รถยนต์ Camry รุ่น 2.0 ลิตร ?
จากรูปลักษณ์ภายนอก เราสามารถแยกรุ่น Hybrid กับเบนซิน ได้อย่างไร ?
คำว่า HEV ย่อมาจากคำว่าอะไร?
เหตุใดการลากรถจึงต้องทำการตรวจสอบระบบขับเคลื่อน ?
สตาร์ทรถไม่ปิดแอร์ส่งผลอย่างไร?
จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง!! หากการเร่งเครื่องหรือเบิ้ลเครื่อง ขณะที่เครื่องยนต์เย็นอยู่ ?
ขณะจอดรถติดไฟแดงควรเลื่อนคันเกียร์อยู่ตำแหน่งใด ?
หลีกเลี่ยงการคิกดาวน์ (Kickdown) เนื่องจากสาเหตุใด ?
สีฟุตบาทขาวเหลืองหมายถึงอะไร ?
เราจะเห็นสีฟุตบาทขาวแดงได้ที่ไหนบ้าง ?

 

พรบ.จราจรทางบก : สัญญาณจราจรฯ

เมื่อ : 23 พฤศจิกายน 2550เวลา08:52:07 บทความทั้งหมด   แสดงความคิดเห็น(0)

ลักษณะ 2 สัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจร

               มาตรา 21 ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏในทาง หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบ
               สัญญาณจราจร เครื่องหมายจราจรและความหมายของสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร ให้อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีรูปตัวอย่างแสดงไว้ในประกาศด้วย
              มาตรา 22 ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้
              (1) สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุดเพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฏต่อไปดังกล่าวใน (2) เว้นแต่ผู้ขับขี่ที่ได้เลยเส้นให้รถหยุดไปแล้วให้เลยไปได้
              (2) สัญญาณจราจรไฟสีแดงหรือเครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่าหยุด ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด
              (3) สัญญาณจราจรไฟสีเขียวหรือเครื่องหมายจราจรสีเขียวที่มีคำว่า ไป ให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้ เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
              (4)(1) สัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป หรือสัญญาณจราจรไฟสีแดงแสดงพร้อมกับสัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป ให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถหรือขับรถตรงไปได้ตามทิศทางที่ลูกศรชี้และต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง และต้องให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้ามหรือรถที่มาทางขวาก่อน
              (5) สัญญาณจราจรไฟกระพริบสีแดง ถ้าติดตั้งอยู่ที่ทางร่วมทางแยกใดเปิดทางด้านใดให้ผู้ขับขี่ที่มาทางด้านนั้นหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้ว จึงให้ขับรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง
              (6) สัญญาณจราจรไฟกระพริบสีเหลืองอำพัน ถ้าติดตั้งอยู่ ณ ที่ใดให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลงและผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
               ผู้ขับขี่ซึ่งจะขับรถตรงไปต้องเข้าอยู่ในช่องเดินรถที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงให้ตรงไป ส่วนผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถต้องเข้าอยู่ในช่องเดินรถที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงให้เลี้ยว การเข้าอยู่ในช่องเดินรถดังกล่าวจะต้องเข้าตั้งแต่เริ่มมีเครื่องหมายจราจรแสดงให้ปฏิบัติเช่นนั้น
              มาตรา 23 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางเดินรถที่มีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวหรือไฟสีแดงติดตั้งไว้เหนือช่องเดินรถ มากกว่าสองช่องขึ้นไปต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
              (1) สัญญาณจราจรไฟสีแดงที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องเดินรถใดห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถในช่องเดินรถนั้น
              (2) สัญญาณจราจรไฟสีเขียวที่ทำเป็นรูปลูกศรอยู่เหนือช่องเดินรถใดให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในช่องเดินรถนั้นขับรถผ่านไปได้
              มาตรา 24 ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้
              (1) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถแต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ลดแขนข้างที่เหยียดออกไปนั้นลงและโบกมือไปข้างหน้าให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหลังขับรถผ่านไปได้              
              (2) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนข้างนั้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้น แล้วโบกผ่านศีรษะไปทางด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่นั้นขับรถผ่านไปได้
              (3) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนทั้งสองข้างของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ
              (4) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้นโบกไปด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ขับรถผ่านไปได้
              (5) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ส่วนแขนซ้ายเหยียดออกไปเสมอระดับไหล่ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าและด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ
               การหยุดรถตามมาตรานี้ ให้หยุดหลังเส้นให้รถหยุด ในกรณีที่ทางเดินรถใดไม่มีเส้นให้รถหยุด ให้ผู้ขับขี่หยุดรถห่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในระยะไม่น้อยกว่าสามเมตร
              มาตรา 25 ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แสดงด้วยเสียงสัญญาณนกหวีดในกรณีต่อไปนี้
              (1) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดยาวหนึ่งครั้ง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที
              (2) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดสั้นสองครั้งติดต่อกันให้ผู้ขับขี่ขับรถผ่านไปได้
              มาตรา 26 ในทางเดินรถที่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรตามมาตรา 22 หรือสัญญาณจราจรตามมาตรา 23 ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการจราจรในทางเดินรถนั้น เห็นสมควรเพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวก
ในการจราจร จะให้สัญญาณจราจรเป็นอย่างอื่นก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติการเดินรถตามสัญญาณที่พนักงาน-
เจ้าหน้าที่กำหนดให้
              มาตรา 27 สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีเหตุอันสมควรให้อธิบดีมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
              มาตรา 28 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานทำ ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรในทางที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 21
              มาตรา 29 ห้ามมิให้ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้าย ขีดเขียน หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานติดตั้งไว้ หรือทำให้ปรากฏในทาง
              มาตรา 30 สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ทำ ติดตั้งหรือทำให้ปรากฏในทางโดยฝ่าฝืนมาตรา 28 หรือมาตรา 29 เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจยึด รื้อถอน ทำลาย หรือทำให้สิ้นไปซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรนั้นได้

 

ขึ้นด้านบน   ส่งบทความนี้ให้เพื่อน   สั่งพิมพ์หน้านี้   แสดงความคิดเห็น(0)

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 พรบ.รถยนต์ : หมวด 1 การจดทะเบียน
 โทรศัพท์มือถือทุกค่ายสามารถไปขอแก้อีมี่ได้
 ข้อระวัง..สำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศ
 ธรรม กับ การบริหารเวลา(Time Management)
 น้ำแข็งในร้านที่คุณกิน..สะอาดพอรึยัง??
แสดงความคิดเห็นในเรื่อง "พรบ.จราจรทางบก : สัญญาณจราจรฯ"