หมวดหมู่
บทความล่าสุด
สีรถกับโชคชะตา
สีกับวันเกิด
วันเกิด | บริวาร | เดช | ศรี | ภรรมะ | มนตรี | อัปมงคล |
---|---|---|---|---|---|---|
อาทิตย์ | แดง | ชมพู | เขียวใบไม้ | แดงแสด | ควันบุหรี่ (เทา) | ฟ้า |
จันทร์ | เหลือง-ขาว-ครีม | เขียวใบไม้ | น้ำเงิน- ดำ-ม่วง |
ควันบุหรี่ (เทา) |
ฟ้า | แดง |
อังคาร | ชมพู | น้ำเงิน-ดำ-ม่วง | แดงแสด | ฟ้า | แดง | เหลือง-ขาว-ครีม |
พุธ | เขียวใบไม้ | แดงแสด | ควันบุหรี่ (เทา) |
แดง | เหลือง-ขาว-ครีม | ชมพู |
พุธ (กลางคืน) |
ควันบุหรี่ (เทา) |
แดง | เหลือง-ขาว-ครีม | เขียวใบไม้ | น้ำเงิน- ดำ-ม่วง |
แดงแสด |
พฤหัสบดี | แดงแสด | ฟ้า | แดง | ชมพู | เขียวใบไม้ | น้ำเงิน- ดำ-ม่วง |
ศุกร์ | ฟ้า | เหลือง-ขาว-ครีม | ชมพู | น้ำเงิน- ดำ-ม่วง |
แดงแสด | ควันบุหรี่ (เทา) |
เสาร์ | น้ำเงิน- ดำ-ม่วง |
ควันบุหรี่ (เทา) |
ฟ้า | เหลือง-ขาว-ครีม | ชมพู | เขียวใบไม้ |
บริวาร คือ บุตร เพื่อน ผู้ใต้บังคับบัญชา
เดช คือ อำนาจที่สูงกว่าผู้อื่น คุ้มครองตัว และผู้อื่นได้
ศรี คือ คุณ ความดี ลาภ ยศ ความสำเร็จ การเงิน และ ศิริมงคล
กรรมะ คือ กิจการงานเจริญ สำเร็จ
มนตรี คือ ได้รับความเมตตาจากผู้ใหญ่ รักใคร่
อัปมงคล คือ การสูญสิ้น ตรงข้ามกับความดีทุกประการ
หมายเหตุ : รถสีบรอนซ์ทอง จะถูกราศรีกับทุกคน จะส่งเสริมการงาน และมีผู้ใหญ่ให้ความเมตตา ส่วนรถที่ไม่ถูกราศรีของตนและมีอยู่แล้วควรแก้ไข โดยการเอาเทปสีที่ถูกต้องปิดกันชนหน้าและหลังก็เป็นการแก้เคล็ดได้ โดยไม่ต้องไปพ่นสีใหม่สีกับปีเกิด
มนุษย์เราแต่ละคนจะมีธาตุประจำตัวแตกต่างกับไปและธาตุแต่ละธาตุก็จะถูกโฉลก กับกับสีบางสีเท่านั้น ในตำราที่จะกล่าวถึงนี้ ใครมีธาตุเป็นอะไรจะขึ้นอยู่กับปีเกิดซึ่งท่านสามารถดูได้ว่าท่านมีธาตุอะไร และธาตุนั้นถูกโฉลกกับสีอะไรบ้างดังตารางต่อไปนี้
ปีเกิด | ธาตุ | ปีเกิด | ธาตุ | ปีเกิด | ธาตุ |
ชวด | น้ำ | มะโรง | ดิน | วอก | ทอง |
ฉลู | ดิน | มะเส็ง | ไฟ | ระกา | ทอง |
ขาล | ไม้ | มะเมีย | ไฟ | จอ | ดิน |
เถาะ | ไม้ | มะแม | ดิน | กุน | น้ำ |
สีของธาตุน้ำ สีน้ำเงิน สีฟ้า สีเหลืองทอง สีเขียว
สีของธาตุไม้ สีเขียว สีดำ
สีของธาตุไฟ สีแดง สีชมพู สีเขียว
สีของธาตุทอง สีเหลืองทอง สีตะกั่ว สีเงิน สีขาว
สีของธาตุดิน สีเหลือง สีน้ำตาล สีฟ้า สีเงิน
สำหรับท่านที่ใช้รถที่สีไม่ตรงกับตารางข้างต้น ก็อย่าคิดมากนะคะ เพราะรถจะถูกโฉลกกับท่านหรือไม่นั้น มีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย
เสื้อผ้ากับสีประจำวัน
วันอาทิตย์ : ใช้สีแดง
วันจันทร์ : ใช้สีขาวหรือเทา
วันอังคาร : ใช้สีชมพู
วันพุธ : ใช้สีแดง
วันพฤหัสบดี : ใช้สีเขียว หรือเหลือง
วันศุกร์ : ใช้สีม่วงหรือเทาแก่
วันเสาร์ : ใช้สีดำหรือครามแก่
จักระ
จักระ คือ ศูนย์รวมของพลังงานของร่างกายของมนุษย์ ทั้งกายเนื้อ และกายทิพย์ มีลักษณะคล้ายรูปจักร หมุนอยู่ตลอดเวลา โดยแต่ละจักระจะหมุนที่ความถี่ต่าง ๆ กันไป จักระมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับอวัยวะของร่างกาย ระบบการทำงานของร่างกาย รวมทั้งอารมณ์ และจิตใจ ในร่างกายมีจักระหลายจักระ แต่จะกล่าวในที่นี้ เฉพาะจักระหลัก ซึ่งมีอยู่ 7 จักระ ดังรูปตำแหน่งของจักระดังรูป ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างมากกับต่อมไร้ท่อ
ตารางชื่อและตำแหน่งของจักระหลัก
จักระ | ชื่อจักระ | ศูนย์รวมพลังงานและตำแหน่งของจักระ | ต่อม |
1 | Muladhara มูลลัดดา |
Base ระหว่างอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก |
Adrenals ต่อมคุมเกลือและแร่ |
2 | Svadhistana สวัสดิ์ธนา |
Sacral (hara , dantian) ปลายกระดูกสันหลังใต้ก้นกบ |
Gonals ต่อมเพศ |
3 | Manipura มณีปูระ |
Solar Plexus สันหลังบริเวณเอว |
Pancreas ต่อมหมวกไต |
4 | Anahata อนัตตา |
Heart ตรงกระดูกสันหลัง ระดับเดียวกับหัวใจ |
Thymus ต่อมไทมัส |
5 | Vishudha วิสุทธิ |
Throat กระดูกต้นคอ |
Thyroid ต่อมไทรอยด์ |
6 | Ajna อัจนา |
Third Eye กลางหน้าผาก |
Pituitary ต่อมพิททูอิเทรี่ |
7 | Sahasra สหัสรา |
Crown อยู่เหนือกลางกระหม่อม |
Pineal ต่อมไพนีล |
จักระแต่ละจักระจะหมุนอยู่ตลอดเวลา
โดยมีความถี่ในการหมุนสัมพันธ์กับสี ดังนี้จักระที่ 1 สีแดง
จักระที่ 2 สีส้ม
จักระที่ 3 สีเหลือง
จักระที่ 4 สีเขียว
จักระที่ 5 สีฟ้า
จักระที่ 6 สีคราม / สีน้ำเงินเข้ม
จักระที่ 7 สีม่วง
เมื่อรวมทุกสีเข้าด้วยกันจะเป็นสีขาว การที่คนจะมีชีวิตอย่างเป็นสุข นอกจากจะต้องดูแลสุขภาพ ทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใน คิดแต่สิ่งที่ดี ๆ แล้ว ยังมีบางตำรากล่าวว่า การทำสมาธิกำหนดจิตใจไว้ที่จักระต่าง ๆ ทั้ง 7 จักระ (กำหนดจิตทีละจักระเดียว) พร้อมทั้งจินตนาการสีที่สอดคล้องไว้ที่จักระนั้น ๆ ก็จะเป็นการช่วยดูแลสุขภาพจิตใจและอารมณ์ พร้อมทั้งมีผลช่วยรักษาความบกพร่องของร่างกายและจิตใจที่จักระนั้น ๆ ควบคุมอยู่ด้วย นอกจากนี้ สีของเสื้อผ้าของใช้ต่าง ๆ ตลอดจนสีของห้อง เฟอร์นิเจอร์ และสภาพแวดล้อมก็มีผลกระตุ้นการหมุนของจักระด้วย แม้จะไม่ มากนัก หากสีของสิ่งเหล่านี้เป็นสีของจักระที่ร่างกายหรือจิตใจมีข้อบกพร่องอยู่ ก็จะมีส่วนช่วยรักษาข้อบกพร่องดังกล่าวให้ดีขึ้นได้.
ตาราง อวัยวะของร่างกายและจิตใจ ที่ควบคุมโดยจักระต่าง ๆ
จักระ |
อวัยวะ |
จิตใจ |
---|---|---|
จักระที่ |
เท้า , ช่วงขา กล้ามเนื้อ และ กระดูก , บริเวณปลายสุดของกระดูกสันหลัง , บริเวณช่องทวาร , ระบบภูมิคุ้มกัน และอวัยวะบริเวณใกล้เคียง |
พื้นฐานพลังแห่งชีวิตให้คงอยู่ความรู้สึกในการอยู่ร่วมกันในครอบครัว ความสามารถยืนหยัดเพื่อตนเอง ความรู้สึกต่อถิ่นกำเนิด ความรักพวกพ้อง รักชาติ |
จักระที่ |
อวัยวะสืบพันธุ์ , ลำไส้ใหญ่ , ไส้ติ่ง , กระดูกสันหลังส่วนล่าง กระดูกเชิงกราน, กระเพาะปัสสาวะ , บริเวณสะโพก และอวัยวะบริเวณใกล้เคียง |
เงินทอง , การสืบพันธุ์ อำนาจ และการควบคุมสิ่งต่าง ๆ การกล่าวหาและความผิดความคิดสร้างสรร จริยธรรมและเกียรติยศ |
จักระที่ |
ช่องท้อง , กระเพาะอาหาร , ลำไส้เล็ก , ตับ , ไต , ตับอ่อน , ม้าม , กระดูกสันหลังส่วนกลาง และอวัยวะบริเวณใกล้เคียง |
ความเชื่อถือ ความกลัว และความหวาดระแวง ความมั่นใจในตัวเอง , ความเป็นตัวของตัวเอง, ความรับผิดชอบในการตัดสินใจ ความรู้สึกต่อตนเองและผู้อื่น |
จักระที่ |
หัวใจ , ระบบหมุนเวียนของเลือด , ปอด, หัวไหล่และแขน , ซี่โครงและหน้าอก และอวัยวะบริเวณใกล้เคียง |
ความรักและความเกลียด ความรู้สึกถูกทอดทิ้ง และความขมขื่น ความเศร้าและความโกรธ ความเอาแต่ใจตนเองและอารมย์ การให้สัญญา , การให้อภัย , ความสงสาร ความหวัง และการไว้ใจ |
จักระที่ |
คอ , ไทรอยด์ , กระดูกคอ , ปาก , ฟันและเหงือก , หลอดอาหาร และอวัยวะบริเวณใกล้เคียง |
การเลือกและพลังแห่งความต้องการการแสดงออกส่วนตัว การสร้างฝันให้เป็นจริง การยึดติดและเสพติด ความสามารถในการตัดสินใจ การตัดสินใจและวิจารณ์ |
จักระที่ |
สมอง , ระบบประสาท , หู , ตา , จมูก และอวัยวะบริเวณใกล้เคียง |
การประเมินตนเอง ความจริง ความฉลาด ความสามารถ ในการเรียนรู้ และการหยั่งรู้ ความสามารถในการเปิดรับความคิดเห็น |
จักระที่ |
ระบบกล้ามเนื้อ , ระบบกระดูก , ผิวหนังและอวัยวะบริเวณใกล้เคียง |
คุณค่า , จริยธรรม และความกล้าหาญ ความเป็นมนุษย์ และ ความไม่มีตัวตน ความสามารถในการมองอย่างกว้างไกล |
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ความคิดเห็น (13)
< | << | 1 | 2 |