หมวดหมู่
บทความล่าสุด
ความไว้วางใจกันในการทำงาน ระหว่างผู้บังคับบัญชากับ
การทำงานแต่ละอย่างจะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบหลายประการ ในยุคปัจจุบันองค์ประกอบอันหนึ่งซึ่งมี ความสำคัญมาก และ จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นต่อไปในอนาคต ก็คือ การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีม จะมีประสิทธิภาพได้ ก็ต่อเมื่อสมาชิกในทีมมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน สำหรับในบทความนี้ จะกล่าวถึงสิ่งที่เป็น ประโยชน์ หรือ เป็นแนวทางสำหรับผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา
1.แสดงออกอย่างมีเหตุผลเมื่อไม่เห็นด้วยกับผู้บังคับบัญชา
เมื่อไม่เห็นด้วยกับหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแนวความคิด คำสั่ง ข้อมูลรายละเอียด วิธีปฏิบัติ ฯลฯ คุณควรแสดงออก อย่างตรงไปตรงมา ว่าไม่เห็นด้วย ทั้งนี้การแสดงออกจะต้อง เป็นไปอย่างสุภาพอ่อนน้อมและมีเหตุมีผลเสมอ การแสดงออกในทางตรงข้าม เช่น การพยักหน้า การตอบครับหรือค่ะ จะทำให้หัวหน้าเข้าใจผิด การที่คุณได้สัญญาหรือรับปาก ที่จะปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งไว้แล้ว และ ไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา จะเป็นผลให้สูญเสียซึ่ง ความไว้วางใจจากหัวหน้า และ การที่จะได้รับความไว้วางใจกลับคืนมาได้นั้น ก็จะต้องทำงานหนัก และใช้เวลาอีกมากทีเดียว
2.ถ้าไม่รู้ต้องถาม
หัวหน้าที่ดีจะต้องไม่โกรธหรือหงุดหงิด เมื่อลูกน้องถาม อันเนื่องมาจากไม่รู้ หรือ ไม่เข้าใจ นอกจากนี้การถาม ของลูกน้องยังแสดงถึงความเอาใจใส่ และการแสวงหา ความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี บ่อยครั้งสาเหตุที่ไม่ค่อยถามกัน ก็เนื่องมาจากการกลัวเสียหน้า ซึ่งแท้จริงแล้วการยอม เสียหน้านั้น ดีกว่าการสูญเสียความไว้วางใจ หรือสูญเสีย ตำแหน่งงานมากมายนัก การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความไม่รู้ หรือไม่เข้าใจ เป็นการกระทำที่มีความเสี่ยงอย่างมาก ต่อความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
3.ยอมรับผิด
เมื่อมีความผิดเกิดขึ้น หลายคนมักจะปกปิดไม่ให้ผู้อื่นรู้ โดยเฉพาะหัวหน้า อย่างไรก็ตาม หากคุณแจ้งให้หัวหน้า ได้ทราบโดยเร็วแล้ว ก็มีโอกาสที่จะแก้ไขความผิดพลาด ดังกล่าวได้ง่ายขึ้น แต่ในทางตรงข้าม หากยังคงปกปิดไว้ ก็อาจเป็นผลให้ความผิดพลาดนั้นขยายผลมีความรุนแรง มากขึ้น ยากต่อการแก้ไข การยอมรับผิดต่อหัวหน้า อาจทำให้หัวหน้าโกรธได้ในบางกรณี แต่เชื่อหรือไม่ว่า การไม่ยอมรับผิด หรือไม่แจ้งให้หัวหน้าทราบถึงความผิด โดยเร็วนั้น จะทำให้หัวหน้าโกรธมากกว่าหลายเท่า เลยทีเดียว
4.ตรงประเด็น
ในบางครั้งก็เป็นการยากที่จะพูดถึงปัญหาบางอย่าง อย่างตรงไปตรงมา แต่การพูดแบบอ้อมค้อมไม่ตรง ประเด็นก็จะเป็นผลให้ผู้ฟังเกิดความสับสนได้ สิ่งหนึ่งที่พอจะเป็นการเตือนว่าเรากำลังพูด ไม่ตรงประเด็นก็คือ การถูกถามว่า"ที่ว่านั้นหมายถึงอะไร" ซึ่งถ้าคุณถูกถามด้วยคำถามดังกล่าวหลายครั้ง แปลว่าคุณกำลังพูดไม่ตรงประเด็นพอ สิ่งที่จะช่วย คุณได้เป็นอย่างมาก คือ การเตรียมตัวก่อนไปพบ หัวหน้าควรจัดลำดับเรื่องราวที่จะพูด ตั้งแต่ สภาพแวดล้อม ปัญหา เหตุของปัญหา ทางเลือก ในการแก้ปัญหา ตลอดจนข้อเสนอแนะ หรือ ความเห็นของคุณ ไม่ควรไปพบผู้บังคับบัญชา เพียงแต่แจ้งให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ควรมีข้อเสนอแนะถึงแนวทางแก้ปัญหาด้วย สิ่งนี้นอกจากจะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของหัวหน้า แล้ว ที่สำคัญก็คือการฝึกฝนพัฒนาตัวคุณเอง ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์ การรายงาน การแก้ปัญหา การหาข้อมูล ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพูลความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความมั่นใจ สำหรับการก้าวเดินต่อไปข้างหน้า
5.รายงานความคืบหน้าเสมอๆ
หัวหน้าส่วนใหญ่มักต้องการทราบถึงความคืบหน้า ของงานที่ลูกน้องได้รับมอบหมายไป จะเป็นการดี ที่ผู้ปฏิบัติงานรายงานความคืบหน้าของงานให้หัวหน้า ได้รับทราบเป็นระยะๆ ซึ่งการรายงานดังกล่าว จะทำโดยวิธีใดก็ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความเหมาะสม และรูปแบบที่หัวหน้าต้องการ อาทิเช่น E-mail , memo , โดยวาจา , โทรศัพท์, รายงาน ฯลฯ
6.บันทึกสิ่งที่ได้ทำไป
การบันทึกงานที่ได้ทำไป การบันทึกการประชุม การบันทึกข้อมูลที่น่าสนใจ ฯลฯ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะใช้ในการอ้างอิง เป็นข้อมูล สำหรับหัวหน้าหรือพนักงานที่มาใหม่ หรือมาทำแทน ตลอดจนเป็นข้อมูลในการพิจารณาความดีความชอบ ของพนักงานอีกด้วย
สิ่งต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น น่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันในองค์กรโดยเฉพาะระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง
แปล เพิ่มเติม และเรียบเรียง จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ของ Khun Kriengsak Niratpattanasai
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ความคิดเห็น (1)
1 |