phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

TQ Herbs จำหน่ายต้นกล้าสมุนไพร

หมวด บทความทั่วไป | จำนวนคนอ่าน 1928 ครั้ง | เมื่อ : 23 ธ.ค. 2563 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน





TQ Herbs
จำหน่ายต้นกล้าสมุนไพร








ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

สรรพคุณทางยาขมิ้นชัน
ขมิ้นชันนอกจากที่จะมีคุณค่าทางอาหารแล้ว ก็ยังถือเป็นพืชที่มีคุณค่าทางยาอีกด้วย ซึ่งชาวไทยนิยมนำส่วนต่างๆ มาใช้เป็นยาเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย โดยสามารถดูรายละเอียดได้ดังนี้
เหง้า : เหง้ารสฝาดหวานเอียด ใช้สำหรับแก้อาการไข้เรื้อรัง ผอมเหลือง แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะและโลหิต แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ธาตุพิการ ขับผายลม แก้ผื่นคัน ขับกลิ่นและสิ่งสกปรกในร่างกาย คุมธาตุหยอดตาแก้ตาบวม ตาแดง น้ำคั้นจากเหง้าสดทาแก้แผลถลอก แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ลดอาการอักเสบ ทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง นำมาอัดเม็ดทำเป็นยารักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอ่อนแอรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง แก้บิด
ผงขมิ้น : (น้ำเหง้าแห้งมาบดเป็นผง) นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด
ขมิ้นสด : (ใช้เหง้าสดล้างให้สะอาด) ตำกับดินประสิวเล็กน้อย ผสมน้ำปูนใสพอกบาดแผลและแก้เคล็ดขัดยอก เผาไฟ ตำกับน้ำปูนใส รับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด

การใช้ขมิ้นรักษาแผลและแมลงกัดต่อย
วิธีใช้ ใช้ผงขมิ้นชัน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2 – 3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง ใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผล นำขมิ้นชันมาล้างให้สะอาดแล้วตำจนละเอียด คั้นเอาน้ำที่ได้มาใส่แผล เอาขมิ้นชันผสมกับน้ำปูนใสเล็กน้อยจากนั้นให้ผสมสารส้ม หรือดินประสิว พอกบริเวณที่เป็นแผลและแก้เคล็ดขัดยอก

การใช้ขมิ้นเพื่อรักษากลาก เกลื้อน
วิธีใช้ ผสมขมิ้นกับน้ำแล้วทาบริเวณที่เป็นกลาก เกลื้อน จำนวน 2 ครั้ง/วัน

การใช้ขมิ้นชันในการกำจัดและป้องกันศัตรูพืช
วิธีใช้ ตำขมิ้นชันแห้งครึ่งกิโลกรัมให้ละเอียด จากนั้นนำไปหมักในน้ำ 2 ลิตร ทิ้งไว้ค้างคืน เมื่อได้ที่แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำไปผสมน้ำเพิ่มอีก 2 ลิตร ใช้ฉีดพ่นแปลงผักจะช่วยป้องกันหนอนใยผัก หนอนกระทูผักและหนอนผีเสื้อทั่วไป

ราคาต้นละ 60 บาท

แหล่งที่มา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพนมสารคาม

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

สรรพคุณทองพันชั่ง
1. ราก - แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงูแก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง
2. ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อนผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
4. ใบ - ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบแก้โรคมุตกิต รักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง
นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคต่อไปนี้คือ
5. ราก - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด กระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ทำให้ผมดกดำ แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้กระษัย แก้ผมหงอก ผมร่วงรักษาโรคตับพิการ รักษาโรครูมาติซึม รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อทำให้ปวดบวมต่างๆ ขับปัสสาวะ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค
6. ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง คุดทะราด แก้เม็ดผื่นคัน
7. ต้น - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตามร่างกาย มะเร็งลำไส้ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง
8. ใบ - แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดหัวตัวร้อน แก้มะเร็งไช แก้หิดมะตอย รักษาโรคมะเร็ง รักษาวัณโรค แก้ใจระส่ำระสาย แก้คลุ้มคลั่ง แก้สารพัดพิษ
นอกจากนี้ในตำราบางเล่ม ยังได้กล่าวถึงสรรพคุณทองพันชั่ง โดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใดของพืช หรือส่วนใดในตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคมะเร็ง แก้มุตกิตระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ผมร่วง รักษาโรคนิ่ว
แก้เคล็ดขัดยอกชายโครง มือเคล็ด คอเคล็ด แก้มะเร็งในกระเพาะ แก้ฝีประคำร้อย แก้มะเร็งในคอ แก้มะเร็งในปาก แก้ไข้เหนือ แก้จุกเสียด เป็นยาหยอดตา แก้ไอเป็นเลือด แก้ช้ำใน แก้นิ่ว แก้โรคผิวหนัง แก้ลมสารแก้มะเร็งในปอด แก้มะเร็งภายในและภายนอก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้รับประทานเป็นยาภายใน รักษาโรคมะเร็ง และวัณโรคระยะเริ่มแรก
1. ใช้ทั้งต้น สด จำนวน 30 กรัม ต้มกับน้ำ จำนวนท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ
2. ใช้ก้านและใบสด 30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) ผสมน้ำตาลกรวดต้มน้ำดื่ม รักษาโรคปอดระยะเริ่มแรก
ใช้เป็นยาภายนอก แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนและผื่นคันอื่นๆ
1. ใช้ใบสด 5-8 ใบ หรือ รากสด 2-3 ราก ใบสดตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน หรือเอารากมาป่น แช่เหล้าไว้ 1 สัปดาห์ กรองเอาน้ำยาที่แช่มาทา ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
2. ใช้ใบสดตำผสมน้ำมันดิบ หรือ แอลกอฮอล์ 75% ทาบริเวณที่เป็น

ราคาต้นละ 60 บาท

แหล่งที่มา : www.rspg.or.th

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

สรรพคุณฟ้าทะลายโจร
1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ด เลือดขาวให้จับกินเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
2. มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
3. เป็นยาขมที่ช่วยทำให้เจริญอาหาร
4. ช่วยแก้ไข้ทั่ว ๆ ไป อาการหวัด คัดจมูก รวมถึงอาการปวดหัวตัวร้อน เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
5. ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อน อาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ
6. ช่วยแก้อาการไอ ลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูก
7. ช่วยลดและขับเสมหะ
8. ช่วยระงับอาการอักเสบแก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ
9. ช่วยแก้อาการติดเชื้อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นบิด
10. ช่วยแก้อาการร้อนใน
11. มีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ
12. ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนอง
13. มีสรรพคุณช่วยในการย่อยอาหารและช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี
14. ช่วยควบคุมและป้องกันมิให้เชื้อไวรัสหวัดชนิดต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย
15. ส่งเสริมการไหลเวียนของโลหิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
16. ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวง
17. บรรเทาอาการกระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อไวรัส ฯลฯ

วิธีใช้ฟ้าทะลายโจร
1. ทำเป็นยาชง ด้วยการใช้ใบสดหรือใบแห้ง (ใบสดจะมีสรรพคุณที่ดีกว่า) ประมาณ 5-7 ใบ แล้วนำมาต้มกับน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง เมื่ออุ่นแล้วก็นำมารินดื่มโดยให้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง
2. ทำเป็นยาลูกกลอน หรือ ยาเม็ดฟ้าทะลายโจร ด้วยการใช้ใบสดนำมาล้างให้สะอาดแล้วผึ่งในที่ร่มที่มีลมโกรกให้แห้ง (ห้ามตากแดด) นำมาบดจนเป็นผงละเอียด แล้วนำมาปั้นผสมกับน้ำผึ้ง(หรือน้ำเชื่อมก็ได้เช่นกัน) ให้เป็นเม็ดขนาดเท่ากับเม็ดถั่วเหลือง (หนักประมาณ 250 มิลลิกรัม)เมื่อปั้นเสร็จแล้วให้ผึ่งลมจนแห้ง (ถ้าไม่แห้งแล้วนำมารับประทานจะขมมาก)โดยรับประทานก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
3. ทำเป็นยาแคปซูล ด้วยการใช้ผงยาที่ปั้นเป็นยาลูกกลอน ก็ให้นำมาใส่ในแคปซูลเพื่อที่จะช่วยกลบรสขมของยา ทำให้รับประทานได้ง่าย โดยขนาดแคปซูลที่ใช้คือ ขนาดเบอร์ 2 (250 มิลลิกรัม)ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอนวันละ 3-4 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง
4. ทำเป็นยาผงสำหรับใช้สูดดม โดยใช้ยาผงที่บดละเอียดนำมาใส่ขวด ปิดฝาเขย่าแล้วเปิดฝาออกผงควันก็จะลอยออกมา ก็ให้สูดดมควันนั้นเข้าไป โดยผงยาจะติดที่คอช่วยทำให้ยาออกฤทธิ์ที่ลำคอโดยตรง จึงช่วยลดเสมหะแก้อาการเจ็บคอ ช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อในจมูกได้เป็นอย่างดี (ซึ่งวิธีนี้จะดีกว่าวิธีกวาดคอ วิธีเป่าคอและวิธีการชง เพราะจะรู้สึกขมน้อย ไม่รู้สึกขยาดเวลาใช้ ใช้งานง่ายและสะดวก) โดยนำมาสูดดมบ่อย ๆ วันละหลาย ๆครั้ง แต่ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ให้หยุดใช้สักพัก เมื่อหายแล้วก็นำมาสูดใหม่จนกว่าอาการจะดีขึ้น
5. ทำเป็นยาดองเหล้า หรือทำเป็นยาทิงเจอร์ ด้วยการใช้ผงแห้งที่ได้นำมาแช่กับสุราโรง 40 ดีกรี(แต่ถ้าใช้แอลกอฮอล์ที่สามารถรับประทานได้ หรือ Ethyl alcohol ก็จะดีกว่าเหล้า) โดยแช่พอท่วมยาผงขึ้นมาเล็กน้อยหลังจากนั้นปิดฝาขวดให้แน่น ทิ้งไว้ 7 วัน และให้เขย่าขวดทุก ๆ วัน วันละ 1 ครั้ง เมื่อครบตามกำหนดก็ให้กรองเอาแต่น้ำนำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (รสชาติจะขมมาก) วันละ 3-4 ครั้ง(ส่วนที่เหลือก็ให้เก็บไว้ในขวดที่สะอาดและปิดให้สนิท)

ผู้ที่ไม่ควรใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร
1. สตรีมีครรภ์
2. ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ
3. ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค (Rheumatic heart disease)
4. ผู้ที่มีอาการเจ็บคอเนื่องมาจากการติดเชื้อ Streptococcus group A
5. ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องมาจากการติดเชื้อ Streptococcus group A
6. ผู้ที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีไข้สูง มีอาการหนาวสั่น มีหนองในลำคอ

คำแนะนำในการใช้ฟ้าทะลายโจร
1. ในต้นฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ซึ่งละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ แต่ละลายน้ำได้น้อย ดังนั้นตำรับยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสูตรยาดองเหล้าหรือยาทิงเจอร์จึงมีฤทธิ์แรงที่สุด ส่วนชนิดชงจะมีฤทธิ์รองลงมาและแบบยาเม็ดจะมีฤทธิ์อ่อนที่สุด
2. ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่เหมาะสำหรับใช้รักษา "หวัดร้อน" (อาการเหงื่อออก กระหายน้ำ เจ็บ ท้องผูก ปัสสาวะสีเข้ม) แต่ฟ้าทะลายโจรจะไม่เหมาะกับการนำมาใช้รักษาผู้ที่มีอาการ "หวัดเย็น"(ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกหนาวสะท้านบ่อย อุ้งมืออุ้งเท้าเย็น) เพราะอาจจะเกิดอาการกำเริบขึ้นได้ เช่น มีอาการหนาวสั่น คลื่นไส้ เป็นต้น

ข้อควรระวังในการใช้
1. ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร เพราะฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณในการลดความดันโลหิตอยู่แล้ว ซึ่งถ้าหากใช้ฟ้าทะลายโจรอาจจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หรือมีอาการมึนงง วิธีการแก้ก็คือให้หยุดใช้ทันที หลังจากนั้น 3-4 ชั่วโมงอาการก็จะดีขึ้นเอง เพราะตัวยาสามารถถูกขับออกไปได้และไม่ตกค้างในร่างกาย
2. ผลข้างเคียงของฟ้าทะลายโจร สำหรับบางรายที่ใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรแล้วเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย มีอาการปวดเอว หรือมีอาการวิงเวียนศีรษะ แสดงว่าคุณแพ้สมุนไพรชนิดนี้ หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดการใช้ยา และเปลี่ยนไปใช้ยาสมุนไพรชนิดอื่นแทน แต่ถ้ามีอาการแพ้ไม่มากก็อาจจะลดขนาดในการรับประทานลงตามความเหมาะสม
การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการรักษาอาการต่าง ๆ หากใช้ติดต่อกัน 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น คุณควรหยุดใช้และให้ไปพบแพทย์ทันที
3. ไม่ควรรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรติดต่อกันนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ เพราะอาจจะส่งผลทำให้ร่างกายไม่มีเรี่ยวแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแขนและขา และยังรวมไปถึงอาการท้องอืด หน้ามืดตามัว และมือเท้าชา (แต่จากงานวิจัยก็ไม่พบว่าจะเป็นอันตรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือมีผลต่อระบบภายในแต่อย่างใด) เพราะสมุนไพรชนิดนี้ตามตำราเวชศาสตร์การแพทย์แผนโบราณระบุไว้ว่าเป็นยาเย็น ช่วยลดธาตุไฟในร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายที่ร้อนจากอาการไข้ก็จะเย็นลง แต่ถ้าหากร่างกายอยู่ในสภาพปกติ การรับประทานติดต่อกันนาน ๆ ก็จะทำให้ร่างกายไม่มีแรง แต่ถ้าหากคุณจำเป็นต้องใช้สมุนไพรชนิดนี้ติดต่อกันเกินกว่า 1 สัปดาห์ ก็ควรจะรับประทานคู่กับน้ำขิง เพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย (นพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, พญ.ดร.อัญชลี จุฑ รองผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข)

ราคาต้นละ 60 บาท

แหล่งที่มา : www.phoonzone.com

รางจืด

รางจืด

สรรพคุณของรางจืด
1. แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
2. ถอนพิษไข้ ลดไข้
3. พอกบาดแผล ให้บาดแผลหายไวขึ้น โดยเฉพาะแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
4. ลดพิษจากการบริโภคสารพิษเข้าไปได้ เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ยาเบื่อ
5.ลดพิษจากสัตว์มีพิษ เช่นแมงดาทะเล ปลาปักเป้า
6. บรรเทาอาการผื่นแพ้ต่างๆ
7. ช่วยลด และเลิกการใช้สารเสพติดได้เพราะมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้ายสารเสพติดบางชนิด ใช้ควบคู่ไปกับการรักษากับผู้ป่วยที่ต้องการเลิกยาเสพติดได้
8. แก้อาการเมาค้างแก้พิษจากแอลกอฮอล์จากการดื่มมากเกินไป
9. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเบาหวาน และความดันโลหิตได้ดี
10. มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยต่อต้านมะเร็ง

รางจืดใช้อย่างไร
1. ต้ม นำใบรางจืด 10-15 ใบ ใส่น้ำพอท่วม จากนั้นต้มไฟปานกลางจนน้ำเดือด ตั้งทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วปิดไฟ กรองเอาแต่น้ำมาจิบเป็นชา ดื่มวันละไม่เกิน 5 ครั้ง
2. กินสด ล้างใบรางจืดให้สะอาดก่อนนำมาเคี้ยวสดครั้งละ 4-5 ใบ

ข้อควรระวังในการทานรางจืด
1. ถึงแม้สรรพคุณจะดีขนาดนี้ แต่ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา หรือ อย. ประกาศว่าไม่อนุญาตให้ใช้รางจืดเป็นอาหารหรือส่วนประกอบในอาหาร รวมทั้งเครื่องดื่ม เพราะ อย.ระบุว่ามีงานวิจัยบางชิ้นพบว่า หากกินเป็นเวลานานอาจทำให้ระบบเลือด ตับ ไตทำงานผิดปกติได้
2. หากอยากทานรางจืดให้ได้ประโยชน์ตามที่ต้องการ ไร้อาการข้างเคียง ไม่ควรกินในปริมาณความเข้มข้นที่สูงเกินไปและไม่ควรทานติดต่อกันนานจนเกินไป หรือควรทานสลับหมุนเวียนไปกับอาหาร หรือชาสมุนไพรประเภทอื่นเพื่อให้ได้สารอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น

ราคาต้นละ 60 บาท

แหล่งที่มา : www.sanook.com

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก

สรรพคุณของว่านชักมดลูก 1. ว่านชักมดลูกมีความปลอดภัยมากกว่า กวาวเครือขาว และยังช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
2. ว่านชักมดลูกช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว หรือมดลูกต่ำไม่เข้าที่
3. มีส่วนช่วยเสริมหรือขยายหน้าอก
4. ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ขาวนวล และมีเลือดฝาด
5. มีส่วนช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ฝ้า และรอยดำ
6. ช่วยแก้อารมณ์แปรปรวนต่าง ๆของสตรี เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว จิตใจห่อเหี่ยว โกรธง่าย อ่อนไหวง่าย ให้หายไป
7. ช่วยกระชับหน้าท้องที่หย่อนคล้อยหลังคลอดบุตร
8. ช่วยกระชับช่องคลอดภายในของสตรี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
9. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอดหรือในมดลูก
10. ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง
11. ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอดของสตรีให้ลดลงหรือหายไป
12. ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดของสตรี
13. ช่วยรักษาอาการหน่วงเสียวของมดลูกหรืออาการเจ็บท้องน้อยเป็นประจำให้ดีขึ้น
14. ช่วยแก้ปัญหาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
15. ช่วยรักษาอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือนหรืออาการปวดท้องอย่างรุนแรงให้มีอาการดีขึ้น
16. ช่วยแก้อาการตกขาวในสตรี ทำให้อาการดีขึ้น
17. ช่วยทำให้สตรีมีอารมณ์ทางเพศที่สมบูรณ์ ทำให้อารมณ์ทางเพศที่ขาดหายไปกลับมาเหมือนเดิม
18. ว่านชักมดลูกมีสรรพคุณช่วยขับน้ำคาวปลา
19. ช่วยแก้พิษอาหารไม่ย่อย
20. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
21. ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน
22.ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยทอง
23. ช่วยดับกลิ่นปาก และกลิ่นตามตัว
24. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย
25. ช่วยปกป้องเซลล์เรตินาของตาจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมของคนวัยทอง
26. ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน โดยช่วยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก
27. ช่วยรักษาซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ
28. ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้นช่วยป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น
29. ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (P388 leukemic cell) ด้วยการไปทำลายดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็ง
30. ช่วยในการลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่างๆ เข้าไปในตับและช่วยเสริมให้เกิดการขับคอเลสเตอรอลและกรดน้ำดีสู่ทางเดินอาหารและออกจากร่างกายพร้อมกับอุจจาระ
31. ว่านชักมดลูกมีประโยชน์ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดีและช่วยเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากยิ่งขึ้นจึงช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
32. มีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษคาร์บอนเตตระคลอไรด์โดยไปช่วยกระตุ้นกลไกการล้างพิษและลดการสร้างสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย
33. ช่วยปกป้องตับและไต
34. มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาท
35. นำมาเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตยาสมุนไพรยี่ห้อต่าง ๆ ทั้งชนิดแคปซูล ชนิดผง เป็นต้น

ว่านชักมดลูกนำมารับประทานได้อย่างไร
การนำผลสดของว่านชักมดลูกมาทาน โดยส่วนใหญ่จะนำหัวว่านมาปอกเปลือกล้างให้สะอาดแล้วนำมาต้มน้ำดื่มบางท่านนำไปผสมกับสุราใช้ดื่มบรรเทาอาการปวดมดลูก
การนำว่านมาทำเป็นผง การนำว่านชักมดลูกมาตำให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งทำเป็นยาลูกกลอนเพื่อทานหรือการนำผงว่านชักมดลูกผสมน้ำผึ้งหรือผสมกับน้ำร้อนดื่ม3 มื้อก่อนอาหาร

ราคาต้นละ 60 บาท

แหล่งที่มา : www.medthai.com

เสลดพังพอนตัวเมีย

เสลดพังพอนตัวเมีย

สรรพคุณของเสลดพังพอนตัวเมีย
1. รากและเปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (รากและเปลือกต้น)
2. ทั้งต้นและใบใช้กินเป็นยาถอนพิษไข้ ดับพิษร้อน (ทั้งต้นและใบ)
ใช้เป็นยาลดไข้ ด้วยการใช้ใบสด 1 กำมือตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำซาวข้าวใช้พอกบนศีรษะคนไข้ประมาณ 30 นาที อาการไข้และอาการปวดศีรษะจะหายไป (ใบ)
3. ช่วยแก้อาการผิดสำแดง (กินอาหารแสลงไข้ แล้วทำให้โรคกำเริบ)ด้วยการใช้รากสดนำมาต้มกินครั้งละประมาณ 2 ช้อนแกง (ราก)
4. ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ ด้วยการนำใบสดมาเคี้ยวประมาณ 10 ใบกลืนเอาแต่น้ำยาพอให้ยาจืด แล้วจึงคายกากทิ้ง (ใบ)
5. ช่วยแก้คางทูม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 10-15 ใบตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง คั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่บวมอาการบวมจะหายไป และอาการเจ็บปวดจะหายไปภายใน 30 นาที (ใบ)
6. ใช้เป็นยารักษาโรคบิด (ทั้งต้นและใบ)
7. รากใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน (ราก)
8. ใช้เป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ (ทั้งต้น)
9. ช่วยแก้อักเสบแบบดีซ่าน (ทั้งต้น)
10. ใช้เป็นยาแก้แผลอักเสบมีไข้ ไข่ดันบวมด้วยการใช้ใบสดประมาณ 3-4 ใบ นำมาตำกับข้าวสาร 3-4 เม็ดผสมกับน้ำพอเปียก ใช้พอกประมาณ 2-3 รอบ จะช่วยให้อาการดีขึ้น (ใบ)
11. ลำต้นนำมาฝนแล้วใช้ทาแผลสดจะช่วยทำให้แผลหายเร็ว (ลำต้น)
12. ใช้รักษาแผลจากสุนัขกัดมีเลือดไหล ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 5 ใบนำมาตำพอกบริเวณแผลสัก 10 นาที (ใบ)
13. ใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผล แผลจะแห้ง หรือจะใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้า ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก จะมีสรรพคุณช่วยดับพิษร้อนได้ดี[4] ส่วนอีกตำราระบุว่า นอกจากจะใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้แล้ว ยังช่วยรักษาแผลเปื่อยเนื่องจากถูกแมงกะพรุนไฟ แผลสุนัขกัด และแผลที่เกิดจากการถูกกรดได้อีกด้วย เพียงแค่นำใบไปหุงกับน้ำมันแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น (ใบ)
14. ใช้รักษาแผลน้ำเหลืองเสีย ด้วยการใช้ใบประมาณ 3-4 ใบ กับข้าวสาร 5-6 เม็ด เติมน้ำลงไปให้พอเปียก แล้วนำมาพอกจะรู้สึกเย็น ๆ ซึ่งยาจะช่วยดูดน้ำเหลืองได้ดี ทำให้แผลแห้งไวโดยให้เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง พอกไปสักพักหนึ่งแล้วให้เอาน้ำมาหยอดกันยาแห้งด้วย (ใบ)
15. ใช้แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ด้วยการใช้ใบสดตำผสมกับเหล้าใช้ทาหรือใช้เหล้าสกัดใบเสลดพังพอน จะได้น้ำยาสีเขียวนำมาทาแก้ผื่นคัน (ใบ)
16. ใช้แก้สิวเม็ดผดผื่นคัน ด้วยการนำใบมาดองกับเหล้าแล้วผสมดินสอพองใช้ทาแก้สิวและเม็ดผดผื่นคัน (ใบ)
17. ใช้แก้ฝี ด้วยการใช้ใบนำมาโขลกผสมกับเกลือและเหล้าใช้พอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนยาทุกเช้าและเย็น (ใบ)
18. ทั้งต้นและใบใช้เป็นยาขับพิษ ถอนพิษ โดยเฉพาะพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง มด ยุง ฯลฯ รวมถึงผื่นคัน ไฟลามทุ่ง ลมพิษ แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 5-10 ใบ นำมาขยี้หรือตำใช้ทาบริเวณที่เป็น หรือใช้ใบสดนำมาตำให้พอแหลก แช่ในเหล้าขาวประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นแผล ส่วนอีกตำรับยาแก้ลมพิษ ตามข้อมูลระบุว่า ให้ใช้ใบตำผสมกับดินสอพอง ใส่น้ำเล็กน้อย ใช้ทาบริเวณที่เป็น (ใบ)
19. คนเมืองจะนำใบมาตากแห้งแล้วตำผสมกับแมงป่องปิ้ง ใช้เป็นยาแก้พิษงู (ใบ)
20. ใช้รักษาอาการอักเสบ รักษาแผลร้อนในปาก แก้เริม (แผลผิวหนังชนิดเริม) อีสุกอีใส แก้งูสวัด ขยุ้มตีนหมา และใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ ด้วยการใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียสดประมาณ 10-20 ใบ (เลือกเอาเฉพาะใบสดสีเขียวเข้มเป็นมัน ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป) แล้วนำมาตำผสมกับเหล้าหรือน้ำมะนาว คั้นเอาน้ำมาดื่มหรือเอาน้ำมาทาแผลและเอากากพอกบริเวณแผล หรืออีกวิธีให้เตรียมเป็นทิงเจอร์เพื่อใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กิโลกรัม นำมาปั่นให้ละเอียด เติมแอลกอฮอล์ 70% ลงไป 1 ลิตร แล้วหมักทิ้งไว้ 7 วัน ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำให้ปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง (ห้ามตั้งบนเตาไฟโดยเด็ดขาด) และเติมกลีเซอรีน (Glycerine pure) อีกเท่าตัว (ครึ่งลิตร) แล้วนำน้ำยาเสลดพังพอนกลีเซอรีนที่ได้มาใช้ทาแผลเริม งูสวัด แผลร้อนในปาก และใช้ถอนพิษต่าง ๆ สำหรับตำรายาแก้งูสวัดอีกตำรับจะใช้ใบสดผสมกับดอกลำโพง โกฐน้ำเต้า อย่างละเท่ากัน รวมกันตำให้พอแหลก แช่กับเหล้า แล้วนำมาใช้ทาแก้แผลงูสวัด (ใบ)
21. ใช้แก้ถูกหนามพุงดอตำหรือถูกใบตะลังตังช้าง ด้วยการนำขี้ผึ้งแท้มาลนไฟให้ร้อน แล้วนำมาคลึงเพื่อดูดเอาขนของใบตะลังตังช้างออกเสียก่อน แล้วจึงใช้ใบเสลดพังพอนผสมกับเหล้าทาบริเวณที่เป็น (ใบ)
22. ใช้เป็นยาแก้แพ้เกสรรักษาป่า ยางรักป่า และยางสาวน้อยประแป้ง ด้วยการใช้ใบผสมกับเหล้า นำมาทาบริเวณที่คัน (ใบ)
23. ใช้แก้หัด เหือด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 7 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 8 แก้ว ต้มให้เดือด 30 นาที เทยาออกและผึ่งให้เย็น แล้วนำใบสดมาอีก 7 กำมือ ตำผสมกับน้ำ 8 แก้ว แล้วเอาน้ำยาทั้งสองมาผสมกัน ใช้ทั้งกินและชโลมทา (ยาชโลมให้ใส่พิมเสนลงไปเล็กน้อย) เด็กที่เป็นหัด เหือด ให้กินวันละ 3 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว (ใบ)
24. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ปวดบวม เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ กระดูกร้าว ช่วยขับความชื้นในร่างกาย แก้อาการปวดเมื่อยเนื่องจากเย็นชื้น (ทั้งต้น)
25. รากใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยบั้นเอว (ราก)

ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนยาสดให้ใช้ครั้งละ 30 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำรับประทาน หรือตำพอกแผลภายนอก

ข้อควรระวัง : แม้ในอดีตจะมีการใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล แต่ในปัจจุบันวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะจะทำความสะอาดได้ยาก ทำให้กากติดแผล และอาจทำให้ติดเชื้อเป็นหนองได้

แหล่งที่มา : www.medthai.com

หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว

สรรพคุณของหญ้าหนวดแมว
1. ทั้งต้นมีรสจืด สรรพคุณช่วยรักษาโรคกระษัย (ทั้งต้น)
2. ช่วยลดความดันโลหิต (ใบ)
3. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ใบ)
4. ช่วยรักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ (ทั้งต้น)
5. ผลมีรสฝาด ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ (ผล)
6. เปลือกฝักช่วยแก้ลำไส้พิการ (เปลือกฝัก)
7. ช่วยแก้บิด แก้อาการท้องร่วง (ผล)
8. ช่วยรักษาโรคในทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว สลายนิ่ว หรือช่วยลดขนาดก้อนนิ่ว ด้วยการใช้ต้นกับใบประมาณ 1 กอบมือ (หากใช้ใบสดให้ใช้ประมาณ 90-120 กรัม แต่ถ้าเป็นใบแห้งให้ใช้ประมาณ 40-50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา หรือประมาณ 75 cc. วันละ 3 ครั้ง หรืออีกสูตรให้ใช้กิ่งกับใบขนาดกลาง (ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป) นำมาล้างให้สะอาดแล้วผึ่งในที่ร่มให้แห้ง ให้ใช้ประมาณ 4 หยิบมือ (ประมาณ 4 กรัม) นำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 750 cc. เหมือนชงชา แล้วนำมาดื่มต่างน้ำตลอดทั้งวัน นานประมาณ 1-6 เดือน จะช่วยทำให้ปัสสาวะใสและคล่องขึ้น ช่วยทำให้อาการปวดของนิ่วลดลง และทำให้นิ่วมีขนาดเล็กลงและหลุดออกมาเอง (ใบ, ราก, ทั้งต้น)
9. ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศออสเตรเลีย มีการใช้หญ้า หนวดแมวเพื่อรักษาอาการอักเสบของไตและนิ่วในไต (ใบ, ทั้งต้น)
10. ในอินโดนีเซียมีการใช้ใบนำมาชงเป็นชาดื่ม ช่วยแก้โรคไตและกระเพาะปัสสาวะ (ใบ, ทั้งต้น)
11. ช่วยแก้โรคไตพิการ (ผล, เปลือกฝัก)
12. ช่วยลดน้ำขับกรดยูริกจากไต ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น และช่วยบรรเทาอาการปวด (ใบ)
13. ช่วยขับล้างสารพิษในระบบทางเดินปัสสาวะ ไต และตับ (ทั้งต้น)
14. ช่วยแก้หนองใน (ทั้งต้น)
15. ช่วยรักษาโรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว (ใบ, ทั้งต้น)
16. ช่วยรักษาโรคปวดข้อ อาการปวดเมื่อย และไข้ข้ออักเสบ (ใบ)

คำแนะนำในการใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมว
สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตหรือโรคหัวใจ ไม่ควรใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมว เพราะสมุนไพรชนิดนี้มีสารโพแทสเซียมสูงมาก ถ้าหากไตไม่ปกติก็จะไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกมาได้ ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรง และยังมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะให้ออกมามากกว่าปกติ และเกรงว่าขนาดของโพแทสเซียมที่สูงมากนั้น อาจจะไปกระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วผิดปกติ จึงอาจส่งผลกระทบต่อโรคหัวใจได้
ผลข้างเคียงของหญ้าหนวดแมว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับคนปกติที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน โดยอาการที่อาจพบได้คือ ใจสั่น หายใจลำบาก ดังนั้นการใช้สมุนไพรชนิดนี้ครั้งแรก หากใช้วิธีการชงดื่มให้ใช้วิธีจิบ ๆ ดูก่อน หากมีอาการผิดปกติก็ควรหยุด แล้วดื่มน้ำตามให้มาก ๆ สักพักอาการก็จะหายไปเอง
การใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมวเพื่อรักษานิ่วจะได้ผลดีก็เมื่อใช้กับนิ่วก้อนเล็ก ๆ แต่จะไม่ได้ผลกับก้อนนิ่วที่มีขนาดใหญ่
การเลือกต้นนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ควรเลือกต้นที่ดูแข็งแรง แข็งและหนา ไม่อ่อนห้อยลงมา ลำต้นดูอวบเป็นเหลี่ยม ต้นมีสีม่วงแดงเข้ม และดูได้จากใบที่มีสีเขียวเข้มเป็นมันและใหญ่
วิธีการเก็บต้น เมื่อเลือกต้นได้ตามที่ต้องการแล้ว ให้เด็ดในส่วนของยอดลำต้น ยาวประมาณ 1 คืบ คือส่วนที่มีใบอ่อนจนถึงใบแก่ หรือดอกด้วย
ควรเลือกใช้ใบอ่อนในการปรุงเป็นยา เนื่องจากใบแก่จะมีความเข้มข้นมาก อาจทำให้มีฤทธิ์ไปกดหัวใจได้
การนำสมุนไพรหญ้าหนวดแมวมาปรุงเป็นยา ไม่ควรใช้วิธีการต้ม แต่ให้ใช้วิธีการชง
ควรใช้ใบตากแห้งในการปรุงเป็นยา เพราะใบสดอาจจะทำให้มีอาการคลื่นไส้และมีอาการหัวใจสั่นได้
สมุนไพรหญ้าหนวดแมวไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน เนื่องจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น

ราคาต้นละ 60 บาท

แหล่งที่มา : wwww.medthai.com

หนานเฉาเหว่ย

หนานเฉาเหว่ย

สรรพคุณของใบหนานเฉาเหว่ย
เฟซบุ๊คเพจ สมุนไพรอภัยภูเบศร อธิบายว่า ป่าช้าเหงามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ดังนี้
1. ลดน้ำตาลในเลือด
2. ลดไขมันในเลือด
3. ลดน้ำหนัก
4. ลดความดันโลหิต
5.มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
6. ปกป้องตับ (แต่หากเป็นโรคตับ ไม่แนะนำให้ทาน)
7. ปกป้องไต (หาก GFR หรือค่าการทำงานของไตต่ำกว่า 60ไม่แนะนำให้ทาน)
8. กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
9. แก้ปวด ลดอักเสบ
10.ต้านเชื้อแบคทีเรีย
11. ต้านเชื้อปรสิต
12. เพิ่มคุณภาพของสเปิร์ม
13. คนพื้นบ้านทานเพื่อแก้ไขมาลาเรีย
14. คนในแอฟริกา และลิงชิมแปนซีกินเพื่อขับพยาธิ
15.ปริมาณของใบหนานเฉาเหว่ยที่ควรทาน
16. ทานเป็นอาหาร
17. ทานใบป่าช้าเหงาโดยนำใบมารองกระทงห่อหมกแทนใบยอ หรือยำดอกขจรใส่ดอกป่าช้าเหงาคนพื้นบ้าน-นิยมกินช่วงเปลี่ยนฤดู ปลายฝนต้นหนาว เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ไม่ให้เจ็บป่วย(นิยมนำมาลวกน้ำร้อนก่อนรับประทาน เพื่อลดความขม และลดฤทธิ์ยา วันละ 3-5 ใบ)

ทานเป็นยา
เช่น เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือกินบำรุงร่างกาย
กินใบสด ถ้ากินใบใหญ่เท่าฝ่ามือ วันละ 1 ใบ กินบ้างหยุดบ้าง เช่น กินวันเว้นวัน หรือ 2-3 วันกินที ถ้าจะกินทุกวัน แนะนำวันละ 1-2 ใบเล็กๆ ติดต่อกันไม่เกิน 1 เดือน อาจเว้น 1 เดือน แล้วเริ่มกินใหม่
ต้มกิน ใบเท่าฝ่ามือ 3 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ต้มพอเดือด 3-5 นาที ดื่ม 250 มิลลิลิตร ก่อนอาหารเช้า วันละ 1 ครั้ง ตอนตื่นนอน กินบ้างหยุดบ้าง
ไม่แนะนำให้กินทุกวันหรือกินต่อเนื่อง เพราะเป็นยาเย็น (จากการใช้ของคนไทใหญ่และทางใต้ มักกินไม่เกินวันละ 5 ใบ)

ข้อควรระวังในการทานใบหนานเฉาเหว่ย
1. ห้ามใช้ในคนไข้กินยาละลายลิ่มเลือดชื่อวาร์ฟาริน เพราะอาจเสริมฤทธิ์ยา
2. ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์
3. ผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับ และไตบกพร่อง (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำว่าหากค่าการทำงานของไต GFR น้อยกว่า 60 ไม่ควรทาน) เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยในการใช้ในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว
4. ไม่ควรทานเป็นยา ในผู้ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คุมความดันโลหิตได้ดีอยู่แล้ว
5. ระวังการใช้ในผู้ป่วยเลือดจาง เนื่องจากบางรายงานพบฤทธิ์ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก
6. หากมีอาการหน้ามืด เหนื่อยมากขึ้น เหงื่อออก ใจสั่น อ่อนแรง ควรหยุดทานแล้วปรึกษาแพทย์ทันที

ราคาต้นละ 60 บาท

แหล่งที่มา : www.sanook.com

อังกาบหนู

อังกาบหนู

สรรพคุณของอังกาบหนู
1. ดอกอังกาบนำมาตากแห้งใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดีมาก (ราก, ดอก)
2. รากหรือใบใช้เป็นยาลดไข้ (ราก, ใบ) ช่วยแก้หวัดด้วยการนำใบมาคั้นกิน (ใบ)
3. ช่วยขับเสมหะด้วยการใช้รากของดอกอังกาบสีเหลืองที่ตากแห้งแล้วนำมาต้มเป็นยาดื่ม (ราก)
4. ใบอังกาบหนูใช้เคี้ยวแก้อาการปวดฟันได้ (ใบ)
5. ใบใช้ผสมกับน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)
6. น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหู แก้หูอักเสบได้ (ใบ)
7. ช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูก (ใบ)
8. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (ราก)
9. ใช้แก้พิษงู (ใบ)
10. ช่วยรักษาโรคคัน (ใบ)
11. รากหรือใบใช้ผสมกับน้ำมะนาวช่วยรักษากลากเกลื้อน (ใบ, ราก)
12. รากใช้เป็นยาแก้ฝี (ราก)
13. ทั้ง 5 ส่วนของต้นอังกาบหนูใช้เป็นยาแก้ไข้ข้ออักเสบ (ทั้ง 5 ส่วน)
14. ช่วยแก้อัมพาต รักษาโรคปวดตามข้อ โรครูมาติซั่ม หรือใช้ทาแก้อาการปวดหลัง แก้ปวดบวม (ใบ)
15. มีคนเคยใช้อังกาบเพื่อเยียวยารักษาโรคมะเร็ง เนื้องอกในสมอง และเบาหวานแต่ไม่มีแหล่งข้อมูลไหนที่ยืนยันว่ามันสามารถช่วยหรือมีส่วนรักษาได้จริง (ราก)
16. สารสกัดจากรากอังกาบหนูมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยมีการทดลองในหนูเพศผู้นานติดต่อกัน 60 วันพบว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100% เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์มและทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลง โดยสารสกัดจากอังกาบหนูนั้นส่งผลต่อการสร้างสเปิร์มทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของสเปิร์มผิดปกติไป (ราก)

วิธีใช้อังกาบหนู
1. น้ำคั้นจากใบสามารถใช้ทาแก้ส้นเท้าแตกได้ (ใบ)
2. น้ำคั้นใบอังกาบหนูช่วยรักษาโรคหวัด ลดอาการไข้
3. เคี้ยวใบอังกาบหนูสดๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน
4. ใบอังกาบหนูสดผสมน้ำผึ้ง เคี้ยวทานเพื่อรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน
5. ราก หรือใบอังกาบหนู ผสมน้ำมะนาว ช่วยรักษาโรคคันตามผิวหนัง
6. น้ำคั้นใบอังกาบหนู ใช้หยอดหูเพื่อบรรเทาอาการหูอักเสบ
7. ราก หรือใบอังกาบหนู ผสมน้ำมะนาว ช่วยรักษาโรคคันตามผิวหนัง

ราคาต้นละ 60 บาท

แหล่งที่มา : www.medthai.com

สนใจสั่งซื้อต้นสมุนไพร โทร. 02-0216610

Facebook : TQ Herbs จำหน่ายต้นกล้าสมุนไพร

มีจำหน่ายที่โชว์รูมโตโยต้า บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด ทุกสาขา
สาขาสุรวงศ์ คลิกดูแผนที่
สาขาเพชรบุรีตัดใหม่ คลิกดูแผนที่
สาขารามอินทรา คลิกดูแผนที่
สาขาทวีวัฒนา คลิกดูแผนที่
สาขาสุขสวัสดิ์ คลิกดูแผนที่

สแกนเลย

สมุนไพร

หมวด บทความทั่วไป | จำนวนคนอ่าน 1928 ครั้ง | เมื่อ : 23 ธ.ค. 2563 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ Trumq