เครื่องยนต์ระบบ VVT-i ทำงานอย่างไร?
เครื่องยนต์ระบบ VVT-i เป็นระบบควบคุมการเปิด - ปิด วาล์วไอดี และ ไอเสีย คือหัวใจหลักในการพัฒนาเครื่องยนต์ การเปิด - ปิดวาล์วจะขึ้นอยู่กับความต้องการกำลัง ของเครื่องยนต์ ในแต่ละสถานการณ์ (ระยะเดินเครื่องเบา เร่งแซงหรือขับเร็วคงที่) วิศวกรโตโยต้าได้ทุ่มเทพัฒนา ระบบวาล์วอัจฉริยะ เพื่อความสุดยอดในจุดนี้ ระบบ VVT-i จะคำนวณหารอบเครื่องยนต์ (RPMs) องศาการเปิดลิ้นปีกผีเสื้อ และปัจจัยอื่นๆเพื่อให้เกิดจังหวะการทำงานที่แม่นยำและต่อเนื่องที่สุด ในขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ เพียงแต่เปลี่ยนไทยม์มิ่ง ของรอบเดินเครื่อง ณ. จุดสูงสุดหรือต่ำสุดเท่านั้น การควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ VVT-i ของโตโยต้า ให้การตอบสนองที่ฉับไวอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือ มีจังหวะเปลี่ยน 1/1000 ครั้งในหนึ่งวินาทีผลดีที่ได้รับคือเครื่องยนต์ให้พลังแรงจัดทำงานเต็มสมรรถนะ และสะอาดหมดจด
คุณสมบัติเด่น 3 ประการของ VVT-i
กำลังแรงจัดยิ่งขึ้น จากระบบควบคุมเวลาการเปิด - ปิดวาล์ว VVT-i จึงให้แรงบิดสูงในทุกรอบเครื่องยนต์ ทำให้มีอัตราเร่งที่ดีเลิศ และนุ่มนวลขณะเร่งเครื่องยนต์ ประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้น เครื่องยนต์ VVT-i ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทำงานได้เต็มสมรรถนะ ปริมาณควันพิษลดลง การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ทำให้ควันพิษลดลง ด้วยเหตุนี้เครื่องยนต์โตโยต้าจึงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ขณะที่มีสมรรถนะเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น
ระบบท่อไอเสียวางหลังดีกว่าระบบท่อไอเสียวางหน้าจริงหรือ?
ระบบท่อไอเสียวางหลัง Rear Exhaust Pipe Layout เครื่องยนต์ใหม่ มีการสลับที่ของท่อนำเข้าไอดีและท่อผ่านไอเสีย โดยให้อากาศดีผ่านท่อซึ่งอยู่ด้านหน้า และระบายอากาศเสียออกไปทางท่อที่อยู่ด้านหลังของเครื่องยนต์ส่งผลให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นลดเสียงดัง และร่นระยะทางไปยังเครื่องกรองไอเสียให้สั้นลง เป็นการเพิ่มสมรรถนะเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี ดังรูป
พ่วงแบตเตอรี่ ขั้วบวกหรือขั้วลบ ก่อน
ควรพ่วงแบตเตอรี่ขั้วบวกก่อน แล้วค่อยพ่วงขั้วลบทีหลัง ซึ่งจะเป็นผลให้ ขณะพ่วงมีไฟสปาร์คน้อยหรือไม่มี แต่ถ้าพ่วงขั้วบวกทีหลังจะมีไฟสปาร์คมาก หรือรุนแรงได้
แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานกี่ปี?
ถ้าเป็นแบตเตอรี่ที่ใช้กันอยู่ทั่วๆไป จะมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 2 - 3 ปี แต่ถ้าเป็นแบตเตอรี่แบบพิเศษ( ซึ่งจะมีราคาแพง) จะใช้งานได้นานกว่านี้
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่
จะทราบได้อย่างไรว่า แบตเตอรี่ใกล้หมด?
แบตเตอรี่ใกล้หมดอายุการใช้งานมักจะมีอาการดังนี้
1. เครื่องยนต์หมุนช้าเมื่อทำการสตาร์ทเครื่อง โดยเฉพาะตอนเครื่องเย็น
2. แม้ว่าจะสามารถประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่มีแรงดันปกติได้ แต่หลังจากทำการสตาร์ท
เครื่องยนต์แบตเตอรี่จะมีแรงดันลดลงอย่างรวดเร็ว
3. ความถ่วงจำเพาะ ( ถ.พ. ) ของน้ำยาอิเล็คโตรไลท์ไม่เพิ่มขึ้น เมื่อทำการชาร์ทแบตเตอรี่
4. ความถ่วงจำเพาะ ( ถ.พ. ) ของน้ำยาอิเล็คโตรไลท์ ของแต่ละช่องในแบตเตอรี่มีค่าต่างกันมาก
5. ปริมาณน้ำยาอิเล็คโตรไลท์ช่องใดช่องหนึ่งของแบตเตอรี่ลดลงอย่างมาก
ดับเบิ้ลวิชโบน กับ แมคเฟอร์สันสตรัท ต่างกันอย่างไร?
ข้อที่เหมือนกัน คือ เป็นระบบรองรับแบบอิสะมีความนุ่มนวลต่างกัน คือ
ดับเบิ้ลวิชโบน
|
แมคฟอร์สันสตรัท
|
* มีปีกนกสองชั้น
|
มีปีกนกล่างขนาดใหญ่ตัวเดียว
|
* มีจุดเชื่อมยึดหลายจุด | จุดเชื่อมยึดน้อย |
* ค่าบำรุงรักษาแพง เพราะ ต้องเปลี่ยนหลายชิ้น |
ค่าบำรุงรักษาน้อย เพราะเปลี่ยนน้อย ชิ้น |
* ใช้โช๊คอัพขนาดเล็ก | ใช้โช๊คอัพขนาดใหญ่ |
* เกาะถนนทรงตัวดีในทาง | เกาะถนนทุกสภาพทางและทนทานที่สุด |
ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ ดิสก์ทั้งสี่ล้อ กับ หน้าดิสก์หลังดรัม เป็นอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของระบบเบรกสองแบบคือ Disc และ Drum
Disc
|
Drum
|
ข้อดี 1. เบรกทั้งสองข้างทำงานเท่ากัน 2. ระบบระบายความร้อนดี 3. ผ้าเบรกแห้งเร็วเมื่อวิ่งผ่าน น้ำท่วมขัง |
1. แรงจับเบรกมาก (ประสิทธิภาพสูง) 2. ป้องกันฝุ่นละออง หินกรวดดี 3. ทนทานกว่า 4. ราคาอะไหล่ถูกกว่า |
ข้อเสีย 1. ประสิทธิภาพต่ำ (ต้องใช้หม้อ ลมเบรกช่วย) 2. ผ้าเบรก จานเบรกสึกเร็ว 3. ราคาอะไหล่แพง |
1. แรงจับเบรกสองข้างมีโอกาสทำงาน ไม่เท่ากัน 2. ผ้าเบรกแห้งช้ากว่า แบบ Disc เมื่อวิ่งผ่านน้ำท่วมขัง |
การใช้เกียร์ช่วยเบรก ในเกียร์ Auto เช่น ใช้เกียร์ 2 เพื่อชลอรถ จะมีผลเสียหรือไม่ ?
ไม่มี แต่ความเร็วขณะนั้น ต้องไม่เร็วเกินกว่าความเร็วสูงสุด ณ. เกียร์ที่เปลี่ยนไป
MINOR CHANGE ต่างกับ MODEL CHANGE อย่างไร
MINOR CHANGE - เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละรุ่นของรถ หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อันรวมถึงการแก้ไข หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางส่วนในเครื่องยนต์แซสซีส ห้องเกียร์ หรือรูปแบบของรถทั้งหมด แต่ในบางครั้ง จะรวมถึงเครื่องยนต์แบบใหม่ หรือรูปทรงตัวถังใหม่ เป็นต้น
MODEL CHANGE- โดยทั่วไปจะหมายถึง การเปลี่ยนรุ่นแบบเต็มตัว ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงระบบและการทำงานที่สำคัญ ๆ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของรถที่มีอยู่แล้วในตลาดรถ ถ้าเป็นการเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยเรียกว่า Minor changes หรือ Facelifts การเปลี่ยนรุ่นแบบเต็มตัวนี้ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในเครื่องยนต์หรือ แซสซีส หรือ รูปทรงของตัวถัง โดยทั่วไปแล้วรถยนต์โดยสารจะเปลี่ยนรุ่นแบบเต็มตัวในทุก ๆ 4-6 ปี และจะเปลี่ยนรุ่นเพียงเล็กน้อย ในทุก ๆ 2-3 ปี เพื่อแนะนำการเปลี่ยนแปลงบางส่วนทั้งภายในและภายนอกของรถพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการทำงาน
KICK-DOWN คืออะไร?
คือเทคนิคการขับขี่ที่ใช้กับเกียร์อัตโนมัติเพื่อเพิ่มความเร็วเมื่อเวลาต้องการเร่งรถยนต์โดยการเหยียบแป้นคันเร่งให้จมลงไปทีเดียว จะทำให้เกียร์
เปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำโดยอัตโนมัติ และให้กำลังมากขึ้น เราจึงนิยมใช้เทคนิคแบบนี้ในการเร่งแซงและเปลี่ยนช่องทางบนทางด่วน
CRUISE CONTROL SYSTEM (CCS) คืออะไร?
ระบบตั้งความเร็วหรือระบบตั้งความเร็วอัตโนมัติ ทำให้สามารถขับรถได้ โดยไม่ต้องเหยียบแป้นคันเร่ง เมื่อขับรถอยู่ที่ความเร็วคงที่แล้ว เราสามารถตั้ง CRUISE CONTROL ไว้ที่ความเร็วที่เราต้องการจะทำให้รถยนต์สามารถรักษาความเร็วคงที่ไว้ได้ตามที่ตั้ง ไม่ว่าจะขึ้นหรือลงเขาอัตราความเร็วที่ตั้งไว้จะถูกเร่งขึ้นและลดเองโดยอัตโนมัติ เมื่อผู้ขับเหยียบแป้นเบรก ระบบตั้งความเร็ว (CRUISE CONTROL SYSTEM) จะถูกล้างออกโดยอัตโนมัติ ระบบนี้ทำให้ผู้ขับรถที่ใช้อัตราเร็วคงที่ และในระยะทางไกล ๆ เกิดความรู้สึกสะดวกสบายและเพลิดเพลิน กับการขับรถมากขึ้น
หัวเทียนร้อน - หัวเทียนเย็น
หัวเทียนเย็น (Cold Plug) ตัวฉนวนส่วนที่หุ้มแกนกลางจะสั้น ระยะทางความร้อนจึงสั้น จึงระบายความร้อนได้ง่าย
หัวเทียนร้อน (Hot Plug) ตัวฉนวนส่วนที่หุ้มแกนกลางจะยาว ระยะทางระบายความร้อน จึงระบายความร้อนได้ยากกว่า
การเลือกใช้หัวเทียน ที่มีช่วงความร้อนของหัวเทียนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาระในการทำงาน ถ้าใช้หัวเทียนเย็นเกินไป หัวเทียนจะบอด ถ้าใช้หัวเทียนร้อนเกินไป อายุการใช้งานของหัวเทียนจะสั้น จึงต้องเลือกให้เหมาะกับภาระในการทำงาน
สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานที่ความเร็วสูง ๆ หรือ ภาระมาก ๆ เช่นรถยนต์วิ่งทางไกลไปต่างจังหวัด หัวเทียนจะร้อนมาก จำเป็นต้องเลือกใช้หัวเทียนเย็น เพื่อให้ระบายร้อนได้ง่าย
สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานที่ความเร็วต่ำ ๆ หรือ ภาระน้อย ๆ เช่นรถยนต์ที่วิ่งในเมืองที่มีรถติดมาก ๆ หัวเทียนจะเย็น จำเป็นต้องเลือกใช้หัวเทียนร้อน
Shift Lock หรือ Shift Lock Overdrive (ปุ่มปลดล็อกเกียร์)
กรณีถ้าเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง " P " ไปยังตำแหน่งที่ต้องการไม่ได้ ให้ใช้ปุ่ม Shift Lock หรือ Shift Lock Overdrive (ปุ่มปลดล็อกเกียร์) เราจะสามารถเลื่อนเกียร์ออกจากตำแหน่ง " P " ได้โดยการกดปุ่ม Shift Lock (บริเวณโคนเกียร์)และสามารถเลื่อนเกียร์ จากตำแหน่งเกียร์ " P " ไปยังตำแหน่งเกียร์ที่ต้องการได้
หรือใช้ใน กรณีที่เรา จอดรถและต้องการให้มีการเลื่อนรถได้ขณะจอดรถทิ้งไว้ เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือ โรงภาพยนตร์ เป็นต้น เราควรปฏิบัติดังนี้
- ควรเหยียบคันเหยียบเบรคให้รถยนต์หยุดสนิท
- เลื่อนคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง " P "
- ดับเครื่องยนต์
- ถอดกุญแจออก
- กดปุ่ม Shift Lock ค้างไว้
- เลื่อนตำแหน่ง เกียร์ " P " มายังตำแหน่ง " N "
อัตราส่วนการอัด
อัตราส่วนการอัด คือ อัตราส่วนปริมาตรของกระบอกสูบและปริมาตรของห้องเผาไหม้ที่ลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายล่าง (V2) กับปริมาตรห้องเผาไหม้ซึ่งลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบน (V1)ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้
อัตราส่วนกำลังอัด = (V1 + V2)/ V1
โดยทั่วไป อัตราส่วนกำลังอัดจะอยู่ระหว่าง 8 : 1 และ 11 : 1 สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และอยู่ระหว่าง 16 : 1 หรือ 20 : 1 สำหรับ เครื่องยนต์ดีเซล
วิธีการสตาร์ทเครื่องยนต์
เกียร์ธรรมดา
|
เกียร์อัตโนมัติ
|
ก่อนการสตาร์ท
|
|
1. ดึงเบรกมือ 2. ปิดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น 3.เหยียบคลัทช์สุดและเข้าเกียร์ว่าง เหยียบคลัทช์ค้างไว้จนสตาร์ทเครื่องยนต์ติด |
1. ดึงเบรกมือ 2. ปิดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น 3. ตำแหน่งคันเกียร์ มอเตอร์สตาร์ทจะไม่ทำงาน ถ้าคันเกียร์ไม่อยู่ในตำแหน่ง "P" หรือ "N" - กรณีที่เครื่องยนต์ดับและรถจอดอยู่กับที่ ให้สตาร์ทเครื่องยนต์ขณะที่คันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง "P" -กรณีที่เครื่องยนต์ดับแต่รถกำลังเคลื่อนที่ให้เลื่อน คันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง "N" 4.ให้เหยียบแป้นเบรกค้างไว้จนกว่าจะพร้อมขับเคลื่อน รถออกจากบริเวณที่จอดอยู่ |
ไม่ว่าเครื่องยนต์จะเย็นหรือร้อนให้สตาร์ทเครื่องยนต์ตามวิธีดังนี้ | |
- ปล่อยเท้าจากคันเร่ง (ไม่ต้องเหยียบคันเร่ง) ปิดกุญแจในตำแหน่ง "START" เมื่องเครื่องยนต์ติด แล้วปล่อยกุญแจคืนตัวเอง - ปล่อยให้เครื่องยนต์ติดประมาณ 10 วินาทีเป็นการอุ่นเครื่อง แล้วจึงนำรถออกใช้งานตามปกติ |
ไฟเตือนพื้นฐานของรถยนต์
ไฟเตือนพื้นฐาน ของรถยนต์ มีอย่างน้อย 2 ดวงคือ ไฟเตือนแรงดันน้ำมันเครื่อง (รูปกาน้ำมันเครื่อง หรือ หยดน้ำมัน) และ ไฟเตือนการชาร์จไฟกลับเข้าแบตเตอรี่ (รูปแบตเตอรี่)
ไฟเตือนแรงดันน้ำมันเครื่อง - ไฟเตือนจะสว่างขึ้นเมื่อไม่มีแรงดันน้ำมันเครื่อง เช่น ขณะดับเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องขาดมาก ๆ หรือ ปั๊มน้ำมันเครื่องพัง และไฟเตือนต้องดับลงเมื่อมีแรงดันน้ำมันเครื่องตามปกติ ดังนั้น ไฟเตือนจะดับลงในเวลา 2-3 วินาที หลังสตาร์ทเครื่องยนต์ ถ้าดับช้า
นั้นแสดงว่าปั๊มอาจจะเริ่มเสื่อมหรือน้ำมันเครื่องไม่ปกติหากไฟเตือนนี้สว่างขึ้นขณะขับควรรีบจอดและดับเครื่องยนต์ทันที นั้นแสดงว่า ไม่มีแรงดันน้ำมันเครื่องอาจเกิดจากปั๊มพังหรือน้ำมันรั่ว ถ้าฝืนขับต่อไปเครื่องยนต์อาจเสียหายได้
ไฟเตือนการชาร์จไฟกลับเข้าแบตเตอรี่ - ไฟเตือนจะสว่างขึ้น แสดงว่า ขณะนั้น ไม่มีการชาร์จไฟ และ ไฟเตือนจะดับเมื่อ มีการชาร์จไฟกลับเข้าแบตเตอรี่ ดังนั้น ไฟเตือนจะดับลง หลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์ ถ้าไฟเตือนนี้สว่างขึ้น นั้นหมายถึง ไดชาร์จเสีย หรือ สายพานขาด แต่ถ้าตรวจเช็คดูแล้ว ไดชาร์จไม่ทำงานแต่ สายพานไม่ขาด ก็ยังพอขับต่อไปได้จนไฟในแบตเตอรี่หมด
เมื่อไหร่ยางหมดสภาพ?
ยางหมดอายุได้หลายลักษณะ เช่น ดอกหมด , ไม่เกาะถนน , เนื้อยางแข็ง ,โครงสร้างกระด้าง , ยางแตกปริ , ยางแตกลายงา , หรือ แก้มยางบวม
เกิดขึ้นเพียงลักษณะเดียว หรือ ควบคู่กันก็ถือว่ายาง หมดอายุ
ยางรถยนต์ส่วนใหญ่ จะเริ่มแข็งตัวขึ้น แต่รู้สึกได้ชัดเจนเมื่อผ่านการใช้งานได้ระยะ 1 ปี หรือ ประมาณ 20,000 กม. เมื่อเนื้อยางแข็ง ดอกยางก็ไม่ค่อยสึกแต่แรงเสียดทานระหว่างยางกับผิวถนนจะลดลง
อายุการใช้งานของยางสำหรับเมืองไทย จะอยู่ที่ประมาณ 2-3 ปี หรือ 40,000 - 50,000 กม. ก็ถือว่ายางเสื่อมสภาพแล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา และ ลักษณะการใช้งาน ถ้าจะใช้งานเกินระยะเวลาหรือ ระยะทางข้างต้น ควรพิจารณาว่าสภาพของยางยังดีอยู่หรือไม่
อัตราความจุ (CAPACITY RATING)
อัตราความจุหรือความจุของแบตเตอรี่ คือ ตัวกำหนดความสามารถในการจ่ายกระแสไฟของแบตเตอรี่ มีหน่วยเป็นแอมแปร์-ชั่วโมง ซึ่งจะบอกอัตราการจ่ายกระแสต่อชั่วโมง เช่น 32 แอมแปร์-ชั่วโมง 50 แอมแปร์-ชั่วโมง หรือ 100 แอมแปร์-ชั่วโมง โดยจะเปรียบเทียบอัตราส่วนภายใน 20 ชั่วโมง เช่นแบตเตอรี่มีอัตราความจุ 100 แอมแปร์-ชั่วโมง จะมีความสามารถจ่ายกระแสไฟได้ สูงสุด 5 แอมแปร์ เป็นเวลานาน 20 ชั่วโมง
อัตราความจุของแบตเตอรี่ จะผันแปรไปตามอุณหภูมิ เช่น แบตเตอรี่มีความจุ100 แอมแปร์-ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25 C เมื่ออุณหภูมิลดลงเหลือ 0 C จะเหลือค่าความจุ 90 แอมแปร์-ชั่วโมง และเมื่ออุณหภูมิลดลงเหลือ -15 C จะเหลือค่าความจุเพียง 70 แอมแปร์-ชั่วโมง นี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ การสตาร์ทเครื่องยนต์ติดยาก ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ ๆ