ระบบอีเอฟไอ ( 4 เอ - อีจี )
ประเภทของระบบอีเอฟไอ
ระบบอีเอฟไอถูกออกแบบเพื่อใช้วัดปริมาณของไอดี เพื่อใช้ควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงได้อย่าง สอดคล้องกันปริมาณของไอดีจะถูกวัดได้ทั้งทางอ้อมด้วยแรงดันของอากาศในท่อร่วมไอดี (ระบบอี เอฟไอแบบดี) หรือโดยตรงด้วยมาตรวัดการไหลของอากาศ (ระบบอีเอฟไอแบบแอล)
1. ระบบอีเอฟไอแบบดี
ระบบอีเอฟไอแบบดี จะวัดแรงดันของอากาศภายในท่อร่วมไอดี และจากการวัดนั้นทำให้เรารู้ ปริมาณของอากาศที่เข้าสู่เครื่องยนต์ ถึงอย่างไรก็ดี เนื่องจากแรงดันของอากาศ และปริมาณของอากาศในท่อร่วมไอดี ไม่เป็นอัตราส่วนที่แน่นอน ระบบอีเอฟไอแบบดี จึงไม่มีความแน่นอนเท่ากับระบบอีเอฟไอ แบบแอล
สำคัญ
อีเอฟไอแบบดี ปกติเรียกว่า “ดี-เจทรอนิค” ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของ บ๊อช สัญลักษณ์ “ดี” เป็นตัวย่อในภาษาเยอรมันว่า “ดรีค” ซึ่งมีความหมายว่า “แรงดัน” และคำว่า “เจทรอนิค” มีความหมายว่าการฉีดเชื้อเพลิง
2.ระบบอีเอฟไอแบบแอล (แบบควบคุมด้วยมาตรวัดการไหลของอากาศ)
ระบบอีเอฟไอแบบแอล มาตรวัดการไหลของอากาศ จะวัดปริมาณของอากาศที่ไหลผ่าน เข้าสู่ท่อร่วมไอดีโดยตรง เนื่องจากว่ามาตรวัดการไหลของอากาศนี้ทำงานได้อย่างเที่ยงตรง ระบบอีเอฟไอแบบแอลจึงสามารถควบคุมปริมาณการฉีดเชื้อเพลิงได้อย่างแม่นยำเท่ากับระบบอีเอฟไอแบบดี
ระบบเชื้อเพลิง
ระบบเชื้อเพลิงถูกดูดมาจากถังเชื้อเพลิงด้วยปั๊มเชื้อเพลิง และถูกส่งด้วยแรงดันไปยังกรอง เชื้อเพลิง เชื้อเพลิงที่ผ่านการกรองจนสะอาดแล้วจะถูกส่งต่อไปยังหัวฉีด และหัวฉีดสตาร์ทเย็น
แรงดันของเชื้อเพลิงที่อยู่ในท่อเชื้อเพลิง จะถูกควบคุมด้วยตัวควบคุมแรงดันเชื้อเพลิง น้ำมัน ส่วนที่เกินความต้องการจะถูกส่งกลับไปยังถังเชื้อเพลิง โดยทางท่อเชื้อเพลิงไหลกลับ ส่วนการกระเพื่อม ของน้ำมันที่เกิดจากการฉีดเชื้อเพลิงจะถูกดูดซับไว้ด้วยตัวกันกระเพื่อม
เชื้อเพลิงถูกฉีดเข้าสู่ท่อร่วมไอดีด้วยหัวฉีด ซึ่งการฉีดนี้จะต้องสอดคล้องกับสัญญาณการฉีด ที่ได้รับจากอีซียู หัวฉีดสตาร์ทเย็นจ่ายเชื้อเพลิงให้กับห้องไอดีโดยตรง ในขณะที่อากาศเย็นเพื่อที่จะทำ ให้เครื่องยนต์สามารถสตาร์ทติดได้ง่ายขึ้น
ระบบนำอากาศ
อากาศบริสุทธิ์จากกรองอากาศ จะไหลเข้าสู่มาตรวัดการไหลของอากาศ และดันแผ่นวัดให้ เปิดออก ขนาดความกว้างของแผ่นวัดนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วของอากาศ ขณะที่ไหลเข้าสู่ห้องไอดี ปริมาณ ของอากาศที่ไอดี จะถูกตรวจจับได้โดยการเปิดกว้างของลิ้นเร่ง จากนั้นอากาศจะไหลเข้าสู่ท่อร่วมไอดี และตรงไปยังห้องเผาไหม้
ถ้าในขณะนั้นเครื่องยนต์เย็นอยู่ ลิ้นอากาศจะเปิดเพื่อให้อากาศไหลเข้าสู่ห้องไอดีได้โดยตรง โดยไม่ผ่านลิ้นเร่ง ลิ้นอากาศนั้นป้อนอากาศจำนวนที่เพียงพอเข้าสู่ห้องไอดี เพื่อเพิ่มความเร็วรอบเดินเบา (จนถึงรอบเดินเบาเร็ว) ไม่ว่าขณะนั้นลิ้นเร่งจะเปิดหรือปิดอยู่ ปริมาณของไอดีนั้นถูกตรวจจับได้โดยมาตรวัดการไหลของอากาศ (อีเอฟไอแบบแอล) หรือโดยตัวตรวจจับแรงดันในท่อร่วมไอดี (อีเอฟไอแบบดี)
ระบบความคุมทางอิเล็คทรอนิค
ระบบควบคุมทางอิเล็คทรอนิค ซึ่งรวมถึงตัวตรวจจับต่างๆ (ตรวจจับสภาพการทำงานของ เครื่องยนต์) คอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่ค้นหาปริมาณการฉีดเชื้อเพลิง และจังหวะการฉีดเชื้อเพลิงที่ เหมาะสม และสอดคล้องกับสัญญาณที่ได้รับจากตัวตรวจจับต่างๆ
ตัวตรวจจับต่างๆ เหล่านี้วัดปริมาณของไอดี สภาวะของเครื่องยนต์ อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นและ อากาศ การเร่งเครื่องยนต์ หรือลดความเร็วเครื่องยนต์ ฯลฯ และส่งสัญญาณเหล่านี้ให้กับคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่ง ที่คอมพิวเตอร์จะคำนวณหาช่วงเวลาการฉีดเชื้อเพลิงที่ถูกต้อง โดยมีพื้นฐานจากสัญญาณ เหล่านี้ จากนั้นจึงส่งสัญญาณการฉีดที่จำเป็นไปยังหัวฉีดต่อไป
ระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็คทรอนิคในเครื่องยนต์บางรุ่นจะมีตัวความต้านทานต่อเข้ากับวงจรการฉีด เชื้อเพลิงอยู่ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสูง และช่วยทำให้หัวฉีดทำงานได้อย่างแน่นอน
หัวฉีดสตาร์ทเย็นจะทำงานในขณะที่ติดเครื่องยนต์ ในขณะที่อากาศเย็น ช่วงเวลาการฉีดของ มันจะถูกควบคุมด้วยสวิทช์ควบคุมเวลา ส่วนวงจรคอมพิวเตอร์ของระบบอีเอฟไอ จะมีการป้องกัน ในกรณีที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าตกคร่อมด้วยเมนรีเลย์
เช่นเดียวกันวงจรปั๊มเชื้อเพลิงของระบบอีเอฟไอ ก็มีรีเลย์ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งจะเปิดให้ปั๊มเชื้อ เพลิงทำงานในขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน และจะปิดปั๊มเมื่อเครื่องยนต์ดับรูปประกอบด้านล่างนี้เป็นวงจรของระบบควบคุมอิเล็คทรอนิค ของเครื่องยนต์อีเอฟไอ
ตัวตรวจจับสัญญาณ
|
รายละเอียด
|
|
สัญญาณปริมาณไอดี
|
มาตรวัดการไหลของอากาศ |
มาตรวัดการไหลของอากาศ ประกอบอยู่กับระบบ ไอดีจะตรวจจับปริมาณของไอดี ด้วยมุมการเปิด ของแผ่นวัดจากนั้นแปลงไปเป็นสัญญาณแรง แรงเคลื่อนไฟฟ้า ด้วยโพเทนเซียมิเตอร์ |
ตัวตรวจจับแรงดันใน ท่อร่วมไอดี |
ตรวจจับแรงดันในท่อรวม โดยอาศัยแผ่นซิลิคอนชิ้น เล็กๆ ที่ติดอยู่ในห้องผลึกด้วยสูญญากาศของตัว ตรวจจับ เมื่อมีสูญญากาศของท่อร่วมไอดีมากระทำ บนด้านหนึ่งของแผ่นซิลิคอนชิ้นเล็กๆ นั้น แรงกดดัน จะเกิดขึ้นเป็นอัตราส่วนกับแรงดันที่เปลี่ยนแปลงไป กับค่าความต้านทานของแผ่นซิลิคอน การเปลี่ยน แปลงจะถูกแปลงและขยายโดยไอซีไฮเบิร์ด ที่สร้าง รวมอยู่ไปเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า ซึ่งจะถูกส่งไปยัง อีซียู ในรูปของสัญญาณ |
สัญญาณจุดระเบิด (IG) |
การเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าของขดลวดปฐมภูมิของคอยส์จุดระเบิด จะถูก ตรวจจับและส่งไปยังอีซียูในรูปของสัญญาณ ซึ่งอีซียูจะกำหนด จังหวะการฉีดเชื้อเพลิงได้ ให้สอดคล้องไปกับรอบของเครื่องยนต์ |
ตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น (THW) |
ตรวจจับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นโดยอาศัยเทอร์มิสเตอร์ จากนั้นจะเปลี่ยน แปลงไปเป็นแรงดันไฟฟ้า และส่งสัญญาณนี้ไปให้กับอีซียู |
ตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศ (THA) |
จะติดตั้งอยู่ในมาตรวัดการไหลของอากาศ (อีเอฟไอแบบแอล) หรือใน หม้อกรองอากาศ (อีเอฟไอแบบดี) จะตรวจวัดอุณหภูมิของอากาศโดย อาศัยเทอร์มิสเตอร์เช่นกัน จากนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นแรงดันไฟฟ้า และส่ง สัญญาณนี้ไปให้กับอีซีย |
สัญญาณสตาร์ท (STA) |
ตรวจจับการทำงานของมอเตอร์สตาร์ทที่แรงดันไฟฟ้าขั้ว ST ของสวิทช์ จุดระเบิด และส่งสัญญาณเหล่านี้ไปยังอีซียู เพื่อเป็นการแจ้งว่าขณะนั้น เครื่องยนต์กำลังสตาร์ท |
ตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง (IDL/PSW) |
ติดตั้งอยู่บนแกนของลิ้นเร่งของเรือนลิ้นเร่ง ซึ่งใช้ควบคุมปริมาณของไอดี ที่เข้าสู่เครื่องยนต์จะตรวจจับตำแหน่งการเปิดของลิ้นเร่ง ในรูปของแรงดัน ไฟฟ้า และส่งสัญญาณนั้นไปยังอีซียู ซึ่งอีซียูจะตัดสินว่าขณะใดเครื่อง ยนต์เดินเบาอยู่ หรือทำงานในสภาพจะเร่งสุดหรือเล็กน้อย |
ตัวตรวจจับอ๊อกซิเจน (OX) |
ติดตั้งอยู่ในท่อร่วมไอเสียทำหน้าที่ตรวจจับปริมาณของก๊าชอ๊อกซิเจน
|