phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

รวมถามตอบเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย

หมวด ถาม-ตอบที่น่าสนใจ | จำนวนคนอ่าน 33256 ครั้ง | เมื่อ : 15 พ.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

ระบบ VSC (Vehicle Stability Control)มีลักษณะการทำงานอย่างไร?
ระบบ VSC จะควบคุมกำลังเบรกในแต่ละล้อ และปรับอัตราเร็วให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้รถเสียการทรงตัว หากเกิดอาการลื่น หรือปัดของล้อ เมื่อมีการเข้าโค้ง มีลักษณะการทำงานดังนี้

ป้องกันการปัดของล้อหลัง (Oversteer Control) หากระบบ VSC ตรวจพบอาการปัดของล้อหลังก็จะปรับกำลังส่งพร้อมส่งกำลังเบรกไปยังด้านในของล้อคู่หลังเพื่อปรับทิศทางให้ถูกต้อง ป้องกันการปัดของล้อหน้า (Uudersteer Control) หากระบบ VSC ตรวจพบอาการปัดของล้อหน้าก็จะปรับกำลังส่งพร้อมส่งกำลังเบรกไปยังด้านในของล้อคู่หน้า เพื่อปรับทิศทางให้ถูกต้อง  TRC เป็นส่วนหนึ่งของระบบ VSC ที่ช่วยควบคุมการทรงตัวของรถ 
ป้องกันล้อหมุนฟรี และปัดกรณีออกตัว หรือ เร่งแซงบนพื้นถนนลื่นโดยการลดกำลังเครื่องยนต์ลง และสั่งให้เบรกทำงานสำหรับกรณีที่รถติดหล่มโคลน การพยายามเคลื่อนตัวจะทำให้เกิดการหมุนฟรีของล้อ ซึ่งระบบจะเข้าใจว่ารถเสียการทรงตัวและจะสั่งลดกำลังของเครื่องยนต์ลง ทำให้รถไม่มีกำลังเพียงพอที่จะตะกุยออกจากโคลนได้ จึงจำเป็นต้องมีปุ่ม TRCเพื่อยกเลิกการควบคุมข้างต้น    
      
โครงสร้างนิรภัย GOA คืออะไร ?
   โครงสร้างนิรภัย GOA เป็นมาตรฐานความปลอดภัยแบบปกป้องระดับโลกของโตโยต้า สามารถดูดซับแรงกระแทก แล้วถ่ายเทแรงกระแทกไปสู่ส่วนต่างๆของโครงรถ เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ช่วยให้ห้องโดยสารคงสภาพเดิมและปกป้องผู้ที่อยู่ข้างในรถ GOA = Global Outstanding Assessment โตโยต้าทดสอบความแข็งแกร่งของโครงสร้างนิรภัย GOA จากการทดสอบการชนหลายแบบ การชนด้านหน้าแบบ
เฉียงการชนด้านหน้าแบบเต็มคัน การชนด้านข้างด้วยความเร็วต่างๆโดยสถาบันทดสอบความปลอดภัยของรถยนต์ต่างๆทั่วโลก นั่นคือUSA NCAP , EU NCAP , Japan NCAP ดังตารางข้างล่าง    

 
ชนด้านหน้าแบบเฉียง
ชนด้านหน้าแบบเต็มคัน
ชนด้านข้าง
โครงสร้างนิรภัย GOA
ทดสอบการชนที่ควาเร็ว
64 กม./ชม.
55 กม./ชม.
55 กม./ชม.
USA NCAP
-
55 กม./ชม.
-
EU NCAP
64 กม./ชม.
-
-
Japan NCAP
-
55 กม./ชม.
-

     
ระบบเบรก ABS พร้อม EBD และ BA ช่วยเพิ่มสมรรถนะในการเบรกอย่างไร     
ดิสก์เบรก 4 ล้อ จานเบรกขนาด 14 นิ้ว ระบบเบรก ABS พร้อม EBD และระบบเสริมเบรก(BA) คือความสมบูรณ์แบบที่สุด ของระบบควบคุมการเบรก

  • ระบบป้องกันล้อล็อก ABS (Anti-lock Breaking System)ป้องกันล้อล็อก เมื่อต้องเหยียบเบรกแรงๆ หรือหยุดรถบนถนนที่ลื่น ระบบนี้จะช่วยให้ผู้ขับ บังคับรถผ่านสิ่งกีดขวางได้ เพื่อการทรงตัว และบังคับทิศทางรถที่ดี
  • ระบบควบคุมและกระจายแรงเบรกด้วยอิเล็กทรอนิกส์ EBD (Electronic Brake-force Distribution) ปริมาณแรงเบรกที่แต่ละล้อต้องการนั้นต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาวะการขับขี่เช่น จำนวนผู้โดยสาร หรือในขณะเลี้ยวเข้าโค้งด้านหนึ่งของรถจะรับน้ำหนักมากกว่าอีกด้านไม่สมดุล ระบบ EBD จะส่งกระจายแรงเบรกที่ถูกต้องไปยังล้อหน้าและล้อหลังเพื่อให้สมดุลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ ABS การกระจายแรงเบรกนี้ยังใช้ในจังหวะเข้าโค้ง เพื่อเสถียรภาพในการทรงตัว และเกาะถนนที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการควบคุมกำลังเบรกของล้อซ้ายและขวา
  • ระบบเสริมเบรก BA (Brake Assist)ผู้ขับขี่อาจไม่ทันตั้งตัวกับการหยุดรถโดยกะทันหัน นี่จึงเป็นเหตุผลในการใช้คอมพิวเตอร์ตรวจจับแรงเหยียบและความเร็วในการเหยียบแป้นเบรกที่ผิดปกติจากการหยุดรถฉุกเฉิน ระบบ BAจะส่งแรงเบรกเพิ่มไปที่ล้อ จากการศึกษาของโตโยต้า พบว่าระบบBA ช่วยให้ระยะเบรกสั้นลง 10-15 %
  • การทำงานของระบบเสริมเบรก BA
    - ในกรณีของการเบรกฉุกเฉิน ผู้ขับขี่อาจเหยียบแป้นเบรกไม่แรงพอที่จะทำให้รถหยุดได้ในฉับพลัน ระบบ BA จะช่วยเพิ่มแรงเบรก
    - ถ้าผู้เหยียบแป้นเบรกไม่เต็มเท้าหรือเหยียบแป้นแรก ไม่นานพอ ระบบ BAจะช่วยเพิ่มแรงเบรก
    - ระบบ BA จะทำหน้าที่ทันทีที่จับความรู้สึกได้ว่ามีแรงกดแป้นเบรกที่หนักและกะทันหัน
    - ระบบ BA จะหยุดทำงาน เมื่อสามารถควบคุมเบรกไว้ได 

 กุญแจที่มีระบบ Immobilizer และ TVSS ต่างจากกุญแจธรรมดาอย่างไร  ?   
กุญแจที่มีระบบ Immabilizer และ TVSS เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ล้ำหน้า ของImmobilizer จะตรวจสอบกุญแจเพื่อหา IC ก่อนสั่งการให้
เครื่องยนต์สตาร์ทติด ซึ่งกุญแจที่ทำเลียนแบบไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติดได้ และระบบ TVSS เป็นระบบความปลอดภัยที่ไว้วางใจได้ และสะดวกด้วยระบบรีโมท ล็อก-ปลดล็อกประตู (Keyless Entry System) 
    

 ควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อเกิดอุบัติเหตุ      
ข้อควรปฏิบัติ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ

  1. หากตกลงกันไม่ได้ว่าใครผิดใครถูก ห้ามเคลื่อนย้ายรถ ต้องเปิดไฟฉุกเฉินให้รถคันอื่นทราบว่า รถท่านเกิดอุบัติเหตุ
  2. แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  3. ถ้ามีประกันภัย ให้แจ้งประกันภัยก่อนเคลื่อนย้ายรถ
  4. จดรายละเอียดต่างๆ ของรถคู่กรณีไว้ เช่น หมายเลขทะเบียนรถ สีและ ยี่ห้อรถตลอดจนชื่อ และนามสกุล ของผู้ขับรถคู่กรณีด้วย
  5. หากมีผู้บาดเจ็บให้รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
        

ความเร็วที่ปลอดภัยคืออะไร  ?  
 ความเร็วที่ปลอดภัยคือ ความเร็วที่เหมาะกับสภาพถนน สภาพอากาศสภาพการจราจร ซึ่งเป็นความเร็วที่ไม่ก่ออันตรายให้แก่ผู้อื่น ลองมาศึกษาการประมาณความเร็วที่ปลอดภัย

  1. สภาพการจราจรกับความเร็วปลอดภัยความเร็วจำกัด คือ ความเร็วที่คำนึงถึงอุบัติเหตุ ที่อาจเกิดบนท้องถนน ปริมาณของรถยนต์ และคนเดินเท้า ระยะห่างระหว่างสี่แยก ความพร้อมของสิ่งอำนวยความปลอดภัยและสภาพบ้านเรือนสองข้างทาง       โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน ป้องกันมลภาวะของเสียงและแรงสั่นสะเทือน ให้การจราจรเป็นไปอย่างราบรื่นฉะนั้นความเร็วจำกัดจะถือเป็นความเร็วที่ปลอดภัยก็ได้ อย่างไรก็ตามสภาพการจราจร ณ ขณะนั้น ๆ อาจทำให้ความเร็วจำกัดเป็นความเร็วที่ไม่ปลอดภัยได้ ตัวอย่างเช่น บนถนนที่มีรถยนต์และคนพลุกพล่าน การขับรถด้วยความเร็วจำกัดคือ 40 กม./ชม.นั้น กล่าวได้ว่าเป็นความเร็วที่ไม่ปลอดภัย ในกรณีนี้ ไม่เพียงแต่อย่าขับเกินความเร็วที่กำหนดเท่านั้น แต่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสภาวะบนท้องถนนขณะนั้นด้วย 
  2. ความเร็วที่ปลอดภัยในเวลากลางคืน
    2.1 อันตรายเมื่อขับรถกลางคืนแสงสว่างมีอิทธิพลต่อสายตาของมนุษย์มาก เวลากลางคืนที่มีแสงน้อยสายตาของคนเราจะมองไม่ค่อยเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ยกเว้นสิ่งที่ส่องแสงหรือวัตถุที่สะท้อนแสงได้เท่านั้น จึงทำให้มีอันตรายมาก นอกจากนี้ความรู้สึกเกี่ยวกับระยะทางใกล้ไกล หรือความเร็ว ของรถก็จะเฉื่อยชาลง ความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในเวลากลางวัน สาเหตุเหล่านี้จะทำให้การตัดสินใจและความระมัดระวังลดลง ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับการขับรถในเวลาวันแล้วการขับรถในเวลากลางคืนจะมีอันตรายมากกว่า
    2.2 ขับอย่างไรให้ปลอดภัยในเวลากลางคืนอุบัติเหตุร้ายแรงมักจะเกิดในช่วงเวลาพลบค่ำและในช่วงกลางคืน ทั้งนี้เพราะผู้ขับไม่ได้คำนึงถึงอันตรายของการขับรถในเวลากลางคืน จึงขับรถด้วยความเร็วเหมือนเวลากลางวัน นอกจากนั้นจำนวนรถที่วิ่งมีน้อยลง จึงมักลดความระมัดระวังลง และใช้ความเร็วสูงกว่าในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ

 SIDE AIRBAGS , SIDE DOOR BEAM      
SIDE AIRBAGS 
เป็นถุงลมนิรภัยที่ป้องกันส่วนบนของผู้โดยสาร ในกรณีที่รถชนกัน ประกอบด้วยถุง , ที่เป่าลม , ตัวรับสัญญาณการชนด้านข้างในประตู ในกรณีมีการชนเกิดขึ้น ถุงอากาศนี้จะถูกปล่อยออกมาจากที่วางแขน และจะครอบคลุมบริเวณตั้งแต่ที่วางแขนไปจนถึงหลังคาด้วยถุงอากาศที่มีลักษณะเหมือนพรมบาง ๆ

SIDE DOOR BEAM เป็นเหล็กท่อนยาวที่สร้างอยู่ภายในประตู เพื่อป้องกันในกรณีที่รถชนด้านข้างในกรณีชนด้านหน้า-หลัง ที่เก็บของ และห้องเครื่องยนต์จะผิดรูปแบบไป เนื่องจากต้องดูดซับแรงกระแทก แต่ในกรณีชนด้านข้าง มีแต่ประตูเท่านั้นที่จะช่วยป้องกันอันตรายได้ ฉะนั้นประตูข้างจึงต้องป้องกันอย่างดี
    

CATALYTIC CONVERTER (อุปกรณ์กำจัดก๊าซพิษ)  
ก๊าซไอเสียประกอบด้วยสารมลพิษต่าง ๆ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และ อ๊อกไซด์ ของไนโตรเจน   อุปกรณ์กำจัดพิษนี้ถูกติดตั้งอยู่ภายในท่อไอเสียด้านหน้า ของหม้อพักไอเสีย ทำหน้าที่ขจัดสารมลพิษต่าง ๆ จากท่อไอเสีย   อุปกรณ์กำจัดก๊าซพิษมีด้วยกัน 2 แบบ

  1. Catalytic Converter สำหรับ (Oxidation) ซึ่งจะช่วยทำให้คาร์บอนมอนอกไซด์   และ      ไฮโดรคาร์บอนกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ
  2. Thee-Way Catalytic Converter หรือเรียกว่า Catalytic Converter for Reduction and Oxidation ซึ่งจะทำการสลายตัวของไนโตรเจนอ๊อกไซด์ โดยใช้ขบวนการย่อย       สลาย และยังทำการสลายคาร์บอนมอนอกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน อย่างในหัวข้อที่ 1 ข้างต้น
        

TRACTION CONTROL SYSTEM : TRC , TRAC (ระบบควบคุมกำลังฉุด)      
     TRC คือระบบควบคุมกำลังฉุดหรือระบบควบคุมการตะกุยเป็นระบบที่ช่วยควบคุมการหมุนฟรีของล้อหน้า ขณะออกรถบนถนนลื่น สามารถทำให้ยางเกาะถนนได้ดียิ่งขึ้นและให้การทรงตัวที่ดีขึ้น TRC ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมผลที่ได้จากเครื่องยนต์ในขณะที่ล้อหมุน ขณะที่ระบบทำงาน ไฟแสดงสถานะการลื่นไถลจะกะพริบขึ้น ผู้ขับขี่อาจจะรู้สึกว่ารถสั่น หรือมีเสียงดังซึ่งเกิดจากการทำงานของเบรกนั้นแสดงว่าระบบทำงานปกติ     ในขณะที่ขับรถออกจากหล่มโคลน ให้ปิดระบบTRCระบบนี้จะช่วยควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์และป้องกันล้อหน้าหมุนฟรี โดยการกดสวิตช์ " TRC OFF " ไฟแสดงสถานะ " TRC OFF " จะติดขึ้น ไฟเตือน " VSC " ไฟนี้จะเตือนให้ทราบว่าเกิดปัญหาขึ้นกับระบบควบคุมการตะกุย
และระบบควบคุมการทรงตัวรถ 

ระบบช่วยจอดของรถโตโยต้า 
ระบบช่วยจอดของรถโตโยต้าออกแบบเพื่อบอกให้คนขับทราบถึงระยะห่างโดยประมาณระหว่างตัวรถและสิ่งกีดขวางโดยจะมีไฟแสดงสถานะและเสียงเตือนดังขึ้นเมื่อทำการจอดรถระบบนี้ใช้เซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวาง

     ระบบช่วยจอดรถด้านหลัง 

ระยะห่าง A มม. (นิ้ว)
ไฟแสดงสถานะ
เสียงเตือน
 
 
 
ประมาณ 1000 - 600
กะพริบ
ดังเป็นระยะ
ประมาณ 600 - 400
กะพริบ
ดังเป็นระยะเร็ว ๆ
ประมาณ 400 หรือ น้อยกว่า
ติดขึ้น
ดังต่อเนื่อง

     ระบบช่วยจอดรถเข้ามุม

ระยะห่าง B มม. (นิ้ว)
ไฟแสดงสถานะ
เสียงเตือน
 
 
 
ประมาณ 500 - 375
กะพริบ
ดังเป็นระยะ
ประมาณ 375 - 250
กะพริบ
ดังเป็นระยะอย่างเร็ว
ประมาณ 250 หรือ น้อยกว่า
ติดขึ้น
ดังต่อเนื่อง


หมวด ถาม-ตอบที่น่าสนใจ | จำนวนคนอ่าน 33256 ครั้ง | เมื่อ : 15 พ.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

    แสดงความคิดเห็น (3)

  • ความเห็นที่ 1
  • เค้าพูดกันว่า วีโก้ พลิกคว้ำมากที่สุด เป็นความจริงหรือไม่ เพราะอะไร มีวิธีแก้อย่างไร
  • จาก : วิวัฒน์
  • เมื่อ : 2008-03-07 19:52:58
  • ความเห็นที่ 2
  • อยากจะถามว่าเวลาเราขับรถเวลากลางคืน แล้วฝนตก มันเกิดฝ้าขึ้นที่กระจกหน้าด้านนอก ต้องทำเช่นไรคะ ปรับแอร์ก็แล้ว เปิดกระจกก็แล้ว ไม่หายคะ งงมาก รบกวนช่วยตอบให้ด้วยนะคะ ขอบคุณคะ
  • จาก : ณัฐนันท์
  • เมื่อ : 2008-10-31 11:18:51
  • ความเห็นที่ 3
  • ทำไมเวลาถอยรถเซ็นเซอร์ถึงเสียงดังติดต่อกันตลอดเวลาอาการเป็นมาตั้งแต่ไปติดตั้งสัญญากันขโมย ช่วยตอบด้วย ขอบคุณค่ะ
  • จาก : อุไรพร
  • เมื่อ : 2010-11-19 13:18:56

FORTUNER ราคาเริ่มต้น 1,239,000 บาท

พิเศษ : ขยายการรับประกัน 5 ปี หรือ 150,000 km. และฟรีค่าแรง 5 ปีหรือ 100,000 km.

 

ขอใบเสนอราคา