phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ประกันภัยรถยนต์

หมวด อื่นๆ | จำนวนคนอ่าน 31961 ครั้ง | เมื่อ : 01 เม.ย. 2552 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

การทำประกันภัยรถยนต์ ถือเป็นเรื่องที่ดี สำหรับเจ้าของรถยนต์ทุกท่าน หากมีการเกิดอุบัติเหตุ บริษัทประกันภัยต้องเข้ามารับผิดชอบหรือมาดำเนินการแทนเจ้าของรถอยู่แล้ว แต่มีอยู่มากที่จะเลือกไม่ทำประกันภัยรถยนต์ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้นั่นก็คือ รถยนต์ทุกคันหากมีการใช้งานอยู่ ก่อนจะถึงวันครบที่จะต้องเสียภาษีประจำปี จะต้องมีการทำที่เราเรียกว่า  “  พ.ร.บ . ” ทุกคัน มิฉะนั้นจะผิดกฎหมาย และ ไม่อนุญาตให้ต่อภาษี

 


การประกันภัยรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นประเภท 1 , ประเภท 2 , หรือ ประเภท 3 ก็ตาม ต่างก็มีข้อกำหนดมากมาย ซึ่งคนส่วนใหญ่ ก็ไม่ทราบรายละเอียดหรือข้อมูลเท่าใดนัก รู้แต่เพียงว่ารถของฉันมีประกันภัย หากเกิดเหตุย่อมได้รับสิทธิ์ความคุ้มครอง แต่ในความเป็นจริง อาจจะไม่ตรงกับที่เราเข้าใจอยู่ก็เป็นได้

 

ยกตัวอย่างเช่น การทำประกันชั้น 1 ได้จำแนกออกเป็นส่วนอื่นๆอีก อย่างที่เห็นเด่นชัดก็เกี่ยวกับการประกันชั้น 1 ของศูนย์บริการหรือที่เราเข้าใจว่าห้าง กับ ประกันภัยชั้นหนึ่ง ของ อู่ทั่วไป อีกอันหนึ่ง ก็ ประกันภัยชั้น 1 เกี่ยวกับคุ้มครอง รถหาย กับ รถไม่หาย ดังนั้นผู้ที่จะทำประกันภัย ขอให้สอบถามทำความเข้าใจให้ดีก่อนที่จะทำการใดๆ

 

บริษัท ประกันภัย ยินดีที่จะรับใช้ท่านเจ้าของรถอยู่แล้วตามเงื่อนไขในเอกสาร แต่พนักงานของบริษัทประกันภัยอาจเป็นพนักงานใหม่ หรือ ไม่ทราบในรายละเอียดของประกันภัยมากนัก อาจทำให้ลูกค้าเกิดความสับสน หรือ อีกประเด็นหนึ่ง คือ ผ่านทางพนักงานขายเลยทำให้ตกหล่นไปบ้าง ที่สำคัญลูกค้าไว้ใจ เจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยเวลาเกิดเรื่องขึ้น ไม่ว่าอุบัติเหตุนั้นจะถูกหรือผิดก็ตาม ถึงอย่างไรต้องเรียกประกันภัยมา แต่มาช้าหรือมาเร็วนั่นอีกเรื่องหนึ่ง ( ส่วนใหญ่จะมาช้า )

 

การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ อย่าเห็นแก่ราคาถูก การบริการอาจจะไม่ดีตามที่เราคิดได้ ขอให้ท่านศึกษาให้ดีไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาลักษณะใด เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วคงจะเสียอารมณ์มิใช่น้อย ก็มีอยู่พอสมควรที่ร้องเรียนถึงบริษัทประกันภัย แต่ถ้าหากมองมุมกลับ บริษัท ประกันภัยอาจไม่จะไม่เกี่ยวข้อง แต่จะเป็นตัวเจ้าหน้าที่เอง ที่ทำให้เสียชื่อเสียงขอให้ระลึกอยู่เสมอว่า การเซ็นชื่อใดๆลงไปในเอกสาร ขอให้ อ่านให้รอบคอบเสียก่อน ว่าการเซ็นต์ชื่อไปนั้นเป็นการยินยอมชดใช้ของประกัน หรือ ยินดีที่จะจ่ายค่าเสียหายโดยที่ประกันภัยไม่เกี่ยวเลย และถ้าหากเราเซ็นชื่อลงไปแล้ว ถือ ว่าถูกกฎหมายเสียด้วยซ้ำ มนุษย์มีวิธีการที่แยบยลในกระทำการต่างๆโดยที่ผู้อื่นไม่ทราบ ดังนั้น ขอให้ใจเย็นๆ อย่ารีบร้อน คนส่วนใหญ่พอเกิดอุบัติเหตุแล้วย่อมมีอารมณ์ที่ไม่ดีนัก จังหวะนี้แหละ อาจจะทำการเซ็นชื่อไปโดยไม่รู้ตัว คิดว่าเซ็นต์ๆไปจะได้จบเรื่อง แต่ที่ไหนได้กลับถูกหักหลังจากเจ้าหน้าที่ประกันภัย ดังนั้น หากไม่เข้าใจตรงจุดใด อย่าเซ็นชื่อก่อนเด็ดขาด หากเอกสารนั้นอยู่ในมือผู้ที่ไม่หวังดี อาจเสียใจภายหลังอย่างไรแล้ว การทำประกันรถยนต์ถือเป็นเรื่องดี และ จำเป็น เห็นด้วยทุกประการครับผม

 “ สงสัยให้ถาม ความอย่างไร ใครถูกผิด คิดสักครู่ ดูให้เห็น แล้วจึงเซ็นชื่อรับทราบ ”
         
ประกันภัยดี ยังมีอยู่มาก
แผนกเทคนิคและฝึกอบรม
บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด ( กรุงเทพฯ )

 

หมวด อื่นๆ | จำนวนคนอ่าน 31961 ครั้ง | เมื่อ : 01 เม.ย. 2552 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

    แสดงความคิดเห็น (1)

  • ความเห็นที่ 1
  • ผมมีหนึ่งคำถาม ถ้ามีการลักทรัพย์โดยที่คนร้ายได้งัดบ้านเพื่อขโมยเอาทรัพย์สินภายในบ้าน ข้าวของกระเป๋าตังค์โทรศัพท์มือถือและเงินสดพร้อมทั้งได้ขโมยเอารถยนต์ไปด้วยแล้วคนร้ายก็ได้ขับรถออกไปแล้วกิดไปชนกับรถยนต์อีกคันแล้วก็ทิ้งรถยนต์แล้วหนีไป ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการจับกุมคนร้ายไว้ได้แล้วส่งตัวเพื่อดำเนินคดี อยากถามว่า รถยนต์ที่คนร้ายขโมยไป ทำ ปก1ไว้ ทางบริษัทประกันรับผิดชอบซ่อมให้อยู่แล้ว ส่วนรถยนต์อีกคันที่ๆคนร้ายได้ขับรถยนต์มี ปก1. ได้ไปชนไว้นั้น ทางบริษัทประกันจะต้องซ่อมให้ด้วยไหม เพราะหลังจากเกิดเหตุก็ได้มีการแจ้งความและลงบัณทึกประจำวันไว้แล้ว คนร้ายก็จับตัวได้
  • จาก : kan
  • เมื่อ : 2009-04-01 15:33:11

NEW YARIS Cross ราคาเริ่มต้น 789,000 บาท