ความเร่งรีบและความสะดวกสบาย ทำให้กล่องโฟมกลายเป็นทางเลือกใหม่ของหลายๆ คน กล่องโฟมทำจากพลาสติกชนิดหนึ่ง ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติก เช่น โพลีเอทิลีน โพลียูรีเทน แต่ที่นิยมใช้มากที่สุด คือ โพลีสไตริน อาจเป็นเพราะ คุณสมบัติที่เบายืดหยุ่นตัวเก็บความร้อนความเย็นได้ดี ไม่ดูดน้ำมัน และไม่ดูดน้ำ กล่องโฟมจึงกลายเป็นเป็นภาชนะบรรจุ อาหารที่ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเวลาอันรวดเร็ว
สารสไตรีน หรือสไตรีนโมโนเมอร์ สามารถแพร่กระจายตัวเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว หากมีการสลายตัวออกมาในอาหาร จะถูกสะสมในชั้นไขมันของร่างกาย ซึ่งกำจัดออกได้ยากมากและด้วยกระบวนการเผาผลาญ พลังงานของร่างกาย สารชนิดนี้จะทวีความเป็นพิษสูงกลายเป็นสารก่อมะเร็งอีกชนิดหนึ่งด้วย นอกจากนั้นแล้วสไตรีนยังมีผลโดยตรงต่อระบบประสาท
ปัจจัยที่ทำให้สารเคมีจากโฟมออกมาก็คือ ความร้อน ไขมันและระยะเวลากับการสัมผัส อาหาร ยิ่งเป็นอาหารที่ร้อนมาก มันมาก และใส่ไว้นานมากก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น แม้ว่าโฟมจะผ่านกระบวนการที่ ทำให้สามารถทนความร้อนได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะบรรจุอาหารได้ทุก อย่างเพราะจริงๆแล้วโฟมทนความร้อนได้เพียง 70-85 องศาเซลเซียสเท่านั้น
ข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับการเลือกซื้ออาหารที่บรรจุด้วยกล่องโฟม
1. หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ปรุงร้อนทันที่ โดยเฉพาะอาหารที่บรรจุกล่องโฟม
2. ห้ามนำอาหารที่บรรจุในกล่องโฟมเข้าไปอุ่นในเตาไมโครเวฟ เพราะเมื่อ ความร้อนพิ่มสูงขึ้น สารเคมีในโฟมจะละลายและ ปนเปื้อนออกมาในอาหาร
3. กล่องโฟมที่ผ่านการใช้งานแล้ว ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำอีก เพราะโฟมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดูดซับเอาฝุ่นและสิ่งสกปรกรวมทั้งเกิด
การขูดขีดเป็นรอยง่ายซึ่งเป็นช่องทางสะสมเชื้อโรค
4. หากหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารบรรจุกล่องโฟมไม่ได้ ให้ใช้แผ่นพลาสติกรองในกล่องอย่างเสมอ เพื่อป้องกันเศษสกปรก
ที่ตกค้างอยู่และป้องกันการสัมผัสกับอาหารโดยตรง
จากนิตยสาร ชีวจิต