"ถุงลมนิรภัยคู่หน้า" เป็นอุปกรณ์ป้องกันผู้โดยสารไม่ให้ร่างกายได้รับอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากทิศทางด้านหน้า ทั้งนี้ตำแหน่งที่ติดตั้งของถุงลมนิรภัยสำหรับผู้ขับขี่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในฝาครอบพวงมาลัยส่วนของผู้โดยสารตอนหน้าจะถูกติดตั้งอยู่ภายในแผงด้านหน้าเบาะนั่งตอนหน้าของผู้โดยสาร
ขั้นตอนการทำงานของถุงลมนิรภัย
ขณะที่รถยนต์เกิดการชนอย่างรุนแรงจากทิศทางด้านหน้าของรถยนต์ส่วนแรกที่ช่วยป้องกันผู้โดยสารคือการพับงอของตัวถังรถ ซึ่งจะดูดซับแรงกระแทกไว้ส่วนหนึ่ง เมื่อความเร็วรถยนต์ลดลงอย่างฉับพลัน หรือหยุดขณะเกิดการชนทำให้ผู้โดยสารเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อแรงกระแทกถึงในระดับที่กำหนด ถุงลมนิรภัยจะพองตัวขึ้นมาตรงแป้นพวงมาลัยของผู้ขับขี่ บริเวณศีรษะส่วนของผู้โดยสารตอนหน้าจะพองตัว บริเวณร่างกายด้านบนของผู้โดยสารถุงลมนิรภัยจะทำงานอยู่ชั่วขณะโดยมีแก๊สบรรจุ อยู่ภายในถุงลมนั้น ต่อจากนั้นก็จะยุบตัวลงโดยที่แก๊สจะระบายออกทางรูระบาย นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือ ผู้โดยสารจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ลำพังเพียงถุงลมนิรภัยอย่างเดียว ไม่สามารถป้องกันผู้โดยสารได้เพียงพอจึงจำเป็นต้องใช้ร่วมกับเข็มขัดนิรภัยด้วย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด เข็มขัดนิรภัยบางชนิดจะมีแก๊ส ซึ่งเป็นแก๊สเช่นเดียวกับถุงลมนิรภัยเมื่อใดที่ถุงลมนิรภัยเกิดการทำงานเข็มขัดนิรภัยแบบมีแก๊สนี้ก็จะทำงานด้วย ทำให้ร่างกายของผู้โดยสารและผู้ขับขี่ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย
ระบบของถุงลมนิรภัยไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ จุดประสงค์ของถุงลมนิรภัยออกแบบมาเมื่อมีการชนด้านหน้าอย่างรุนแรงเท่านั้นเมื่อมีการชนเกิดขึ้นในรัศมีที่กำหนดและแรงกระแทกอยู่ในค่าที่กำหนดถุงลมนิรภัยก็จะทำงาน แต่ถ้าไม่อยู่ในรัศมีที่กำหนด และแรงของการกระแทกไม่ถึงค่าที่กำหนดถุงลมนิรภัยก็จะไม่ทำงาน เพราะการป้องกันจะอาศัยโครงสร้างของตัวรถ และชุดเข็มขัด นิรภัยซึ่งก็เพียงพอต่อการป้องกันในสภาพ ความเร็วต่ำ จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยชุดถุงลมนิรภัย ถ้าเกิดการชนเสียรูปเช่น ชนกับเสาไฟฟ้า ชนด้านหลังรถบรรทุกความเร็วที่จะทำให้ถุงลมนิรภัยพองตัวต้องมากกว่า 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปกติถุงลมนิรภัยจะพองตัวเมื่อรถยนต์ชนกับเสารถยนต์ประมาณ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับการชนกับรถที่จอดอยู่กับที่, ชนกับกำแพง, คอนกรีตและชนนอกศูนย์กลางด้านหน้า ความเร็วของรถยนต์ต้องมากกว่า 40 - 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงจะทำให้ถุงลมนิรภัยพองตัว
ข้อควรปฏิบัติ
1. ให้ปรับตำแหน่งเบาะนั่งให้เหมาะสม
1.1 มือวางพักบนพวงมาลัยพอดี
1.2 ปรับหมอนพิงศีรษะให้แนบชิดศีรษะ
1.3 เบาะพิงควรเอียงไม่มาก และหลังผู้โดยสารแนบเบาะพิงพอดี
1.4 เท้า สามารถเหยียบคันเร่งในตำแหน่งพอดี
2. ให้คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง
2.1 ควรคาดเข็มขัดนิรภัยไว้ที่ไหล่
2.2 คาดเข็มขัดนิรภัยไว้ที่ด้านล่างบริเวณกระดูกเชิงกราน
2.3 สายเข็มขัดนิรภัยไม่บิดพันกัน
3. ห้ามวางสิ่งของใด ๆ บนแป้นถุงลมนิรภัย เพราะถ้าถุงลมนิรภัยทำงานทำให้เกิดอันตราย
4. ห้ามติดสติกเกอร์บนแป้นถุงลมนิรภัย มิฉะนั้นถุงลมอาจจะไม่ระเบิดออกมา
5. ในกรณีที่มีเด็กเล็กนั่งมาด้วย ขอแนะนำให้นั่งที่เบาะหลัง และควรคาดเข็มขัดนิรภัยด้วย
พิเศษ : ขยายการรับประกัน 5 ปี หรือ 150,000 km. และฟรีค่าแรง 5 ปีหรือ 100,000 km. (เฉพาะเครื่องยนต์ Hybrid เท่านั้น)