จาระบีเป็นผลิตภัณฑ์หล่อลื่น มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว เหมาะสำหรับให้การหล่อลื่นในที่ซึ่งน้ำมันไม่สามารถจะให้การหล่อลื่นได้อย่างสมบูรณ์ เช่น แบริ่ง หรือลูกปืนบางชนิด แหนบ ลูกหมาก ฯลฯที่เป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งของรถยนต์ ที่ต้องการการหล่อลื่นที่ดีตลอดเวลาของการใช้งานทั้งนี้การใช้จาระบีจะมีคุณสมบัติในการจับเกาะชิ้นส่วนที่ต้องการ การหล่อลื่นได้ดีกว่าการใช้น้ำมันหล่อลื่น นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นตัวจับ หรือป้องกันไม่ให้ฝุ่นผง และสิ่งสกปรกภายนอก เข้าไปทำความเสียหายกับผิวโลหะที่ใช้งานด้วย เราอาจเปรียบเทียบการหล่อลื่นด้วยน้ำมันและจาระบีได้ดังนี้
จาระบี
|
น้ำมันหล่อลื่น
|
- เกาะจับได้ดี | - อาจไหลออกได้ |
- เหมาะสำหรับการใช้งานในส่วน ที่ไม่มีการปิด ป้องกันสิ่งสกปรก |
- เหมาะสำหรับใช้กับการหล่อลื่นใน ส่วนที่มีการปิด ป้องกันสิ่งสกปรก ฝุ่นผง |
- เหมาะสำหรับกับใช้งานหนัก |
- เหมาะสำหรับใช้กับเครื่องจักรที่ประณีต ( Close Tolerance ) อาทิเช่น เครื่องยนต์ ฯลฯ |
- ไม่ต้องเติมบ่อย | - เหมาะสำหรับใช้กับส่วนที่ต้องการ ระบายความร้อนด้วย |
จาระบี
สำหรับรถยนต์ทุกคัน สมรรถนะในการขับขี่ ขี้นอยู่กับปัจจัยหลายประการปัจจัยที่ถือได้ว่ามีความ สำคัญประการหนึ่งคือการหล่อลื่น ซึ่งช่วยในการขับเคลื่อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเครื่องยนต์หรือส่วนอื่น ๆ ของรถยนต์ ดังนั้นเพื่อการหล่อลื่นที่สมบูรณ์แบบสำหรับลูกปืนล้อ และช่วงล่างของรถยนต์ โตโยต้าจึงได้พัฒนา จาระบีโตโยต้าออกจำหน่าย 2 ประเภท แบ่งตาม
ลักษณะการใช้งานดังนี้
1. จาระบีสำหรับลูกปืนล้อรถยนต์
2. จาระบีสำหรับช่วงล่างรถยนต์
ส่วนประกอบของจาระบีโตโยต้า
จาระบีโตโยต้ามีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนดังนี้
1. น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผ่านการะบวนการสกัดแยกส่วนที่ไม่ต้องการออกจนเป็นน้ำมันหล่อลื่นบริสุทธิ์
2. สบู่ ได้จากการผสมไฮดรอกไซด์ของโลหะ (ด่าง) กับไขของสัตว์หรือน้ำมันพืช ซึ่งเมื่อผสมลงไปจะทำให้จาระบีเหนียวข้น มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวนอกจากนี้คุณสมบัติของสบู่ ยังมีผลโดยตรงกับคุณสมบัติของจาระบีด้วย คือ
ชนิดของสบู่ที่ผสม
|
คุณสมบัติของจาระบีที่ได้
|
- สบู่ลิเธียม | - ทนน้ำ และทนความร้อน |
- สบู่ลิเธียม คอมเพล็กซ์ |
- ทนน้ำ และทนความร้อนสูง และรับแรงกดได้ดี |
3. สารเคมีเพิ่มคุณภาพเป็นสารเคมีที่ผสมอยู่ในจาระบีเพื่อให้มีคุณสมบัติต่าง ๆ ในการใช้งานเช่น สารรับแรงกดแรงกระแทก, สารป้องกันสนิม และการกัดกร่อนเป็นต้น
คุณสมบัติของจาระบีโตโยต้า
1. คุณสมบัติของจาระบีโตโยต้า สำหรับลูกปืนล้อรถยนต์
1.1 เป็นจาระบีผลิตจากสบู่ลิเธียมคอมเพล็กซ์ เนี้อจาระบีสีเขียวเข้มเหมาะสำหรับใช้หล่อลื่นลูกปืนล้อรถยนต์ ซึ่งเป็นจุดใช้งานที่มีอุณหภูมิใช้งานสูง
1.2 สามารถใช้ในจุดใช้งานที่มีช่วงอุณหภูมิการใช้งานช่วงกว้าง คือ สามารถทนต่อุณหภูมิต่ำได้ถึง -40 อาศาเซลเซียสและสามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้ถึง 165 องศาเซลเซียส
1.3 มีความคงตัวสูง แม้จะอยู่ภายใต้การทำงานหนัก และรับแรงกดสูง จึงสามารถป้องกันการสึกหรอได้อย่างดีเยี่ยม
1.4 เนี้อจาระบีจับเกาะจุดหล่อลื่นได้ดี จึงช่วยป้องกันฝุ่นละออง หรือสิ่งสกปรกจากภายนอกแทรกต้วเข้าไปเกาะติดชิ้นส่วนอะไหล่
1.5 ต้านทานการรวมตัวกับอากาศได้ดี และมีความทนทานต่อการชะล้างของน้ำทำให้สามารถป้องกันการเกิดสนิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.6 ผ่านการทดสอบพิเศษ การต้านทานการเกิดปฏิกิริยากับชิ้นส่วนที่เป็นยางและทองแดงจึงช่วยยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเหล่านั้น
1.7 ผ่านการรับรองมาตรฐานจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ประเทศญี่ปุ่น
1.8 ความอ่อนแข็งเบอร์ 2 (NLGI No.2) ตามกำหนดของสถาบันจาระบีในสหรัฐอเมริกา
1.9 ระยะเปลี่ยนถ่าย 20,000 กม. หรือ 1 ปี
2. คุณสมบัติของจาระบีโตโยต้า สำหรับช่วงล่าง
2.1 เป็นจาระบีผลิตจากสบู่ลิเธียม เนื้อจาระบีสีดำ สามารถทนทานต่อการชะล้างของน้ำ
และทนความร้อนได้เป็นอย่างดี
2.2 ผสมโมลิบดินั่ม ไดซัลไฟด์(MoS2) ซี่งเป็นสารเคมีเพิ่มคุณภาพชนิดหล่อลื่น ช่วยทำให้การหล่อลื่นมีประสิทธิภาพสูง จึงเป็นจาระบีที่เหมาะสำหรับใช้ในส่วนที่มีการเสียดสี และสึกหรอสูง เช่น สลักเพลาคันชักส่ง กากบาทเพลากลาง ลูกหมากข้อต่อต่างๆ เป็นต้น
2.3 สามารถใช้งานได้ในช่วงอุณหภูมิการใช้งานตั้งแต่ -30 องศาเซลเซียสถึง 125 องศาเซลเซียส
2.4 มีความดันสูง และป้องกันการรวมตัวกับอากาศได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
2.5 ช่วยป้องกันการกัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ ของช่วงล่างรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านการทดสอบพิเศษ การต้านทานการทำปฏิกิริยากับทองแดงและน้ำเกลือ โดย บริษัทโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น
2.6 ความอ่อนแข็งเบอร์ 2 (NLGI No.2) ตามกำหนดของสถาบันจาระบีในสหรัฐอเมริกา
2.7 การตรวจเช็ค และอัดจาระบีเพิ่ม ตามจุดใช้งานต่าง ๆ ให้ดูจากตารางการบำรุงรักษา ในคู่มือการใช้รถส่วนที่ 6
ข้อแนะนำในการใช้จาระบีโตโยต้า
1. การใช้จาระบีควรเลือกใช้ตามสภาพการใช้งาน และคุณภาพของจาระบีซึ่งจุดใช้งานแต่ละจุดจะมีสภาพที่แตกต่างกัน เช่น ความร้อนสูง การสัมผัสกับความชื้น หรือนำ รวมถึงการถูกชะล้างและฝุ่นละอองสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องใช้จาระบีที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับจุดใช้งานนั้น ๆ
2. เพื่อให้การหล่อลื่นจุดใช้งานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรจะเปลี่ยน หรืออัดจาระบีเพิ่มตามระยะที่ระบุไว้
3. การอัดจาระบีควรอัดจาระบีโดยให้มีเนื้อที่ว่างบ้างเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทะลัก เมื่อจุดใช้งานนั้น ๆ ทำงาน
4. การเปลี่ยน และการอัดจาระบี: จำแนกได้ดังนี้
4.1 การเปลี่ยนจาระบีลูกปืนล้อรถยนต์ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
4.1.1 คลายน๊อตล้อออกเล็กน้อย แล้วจึงยกรถขึ้น แล้วถอดล้อออก
4.1.2 ถอดโบลย์ยึดก้ามปูดิสเบรคออกเสร็จแล้วใช้ผูกชุดก้ามปูดิสเบรกให้ห้อยไว้เพื่อป้องกันสายเบรกชำรุดและอย่าถอดสายเบรกออก
4.1.3 ถอดฝาครอบดุมล้อออก โดยใช้ปลายลิ่มวางระหว่างฝาครอบดุมล้อ ตอกเบา ๆ รอบ ๆ ฝา เพื่อให้ฝาครอบดุมล้อเผยออกแล้วให้ใช้ไขควงปากแบนงัดออก
4.1.4 ถอดสลักปิ๊นทิ้งไป (ไม่ควรนำกลับมาใช้อีก) ถอดฝาครอบล็อคน๊อตละน๊อตประกับลูกปืนออก
4.1.5 เสร็จแล้ว ดึงดุมล้อออกมา ต้องระวังอย่าให้ชุดดุมล้อหล่นโดยกดแหวนรองอัดลูกปืนตัวนอกไว้ด้วยในขณะดึงดุมล้อออก จากนั้นค่อยถอดแหวนรองอัดลูกปืนและลูกปืนตัวนอกออกจากดุมล้อ
4.1.6 ถอดซีลกันน้ำมันออก โดยสอดปลายไขควงเข้าใต้ซีลกันน้ำมันแล้วงัดออก และถอดลูกปืนตัวนอกออกจากดุมล้อ
4.1.7 ทำความสะอาดแกนล้อ ภายในดุมล้อ และชิ้นส่วนที่ถอดออก โดยการเอาจาระบีออก แล้วใช้น้ำมันล้าง เสร็จแล้วเช็ดให้แห้ง
4.1.8 ตรวจสภาพตลับลูกปืนและปลอก ถ้ามีส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือลูกปืนตัวใดตัวหนึ่งชำรุด ให้เปลี่ยนลูกปืนใหม่ทั้งชุด
4.1.9 อัดจาระบีสำหรับลูกปืนล้อรถยนต์ภายในดุมล้อ และฝาครอบล้อทาจาระบีบนผิวปลอกรองลูกปืน อย่าอัดจาระบีจนเต็มภายในดุมล้อและฝาครอบดุมล้อ
4.1.10 อัดจาระบีสำหรับลูกปืนล้อรถยนต์เข้าในลูกปืน โดยใส่จาระบีไว้ในอุ้งมือ อัดจาระบีเข้าในลูกปืนจนกระทั่งจาระบีไหลออกอีกด้านหนึ่งทำเช่นนี้จนรอบตลับ ทั้งลูกปืนตัวในและตัวนอก
4.1.11 ใส่ลูกปืนตัวในซึ่งทำการอัดจาระบีแล้วเข้าไปในดุมล้อด้านในแล้วใส่ซีลกันน้ำตาม เข้าไปตอกซีลเข้าจนเสมอกับขอบดุมล้อเสร็จแล้วให้ทาจาระบีบริเวณขอบในของซีลกันน้ำมันด้วย
4.1.12 ประกอบดุมล้อ ลูกปืนตัวนอก แหวนรองอัดลูกปืน และน๊อตประกับลูกปืน เข้ากับแกนล้อ พร้อมทั้งปรับตัวความตึงลูกปืน
4.1.13 ใส่ฝาครอบล็อคน๊อต และยึดด้วยสลักปิ๊นตัวใหม่
4.1.14 ใส่ฝาครอบดุมล้อ แล้วติดตั้งก้ามปูดิสเบรก เสร็จแล้วประกอบล้อรถ
4.1.15 ลดรถลงกับพื้น แล้วขันน๊อตล้อให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง
4.2 การตรวจเช็คและอัดจาระบีเพิ่มสำหรับช่วงล่าง ควรเข้าตรวจเช็ค และอัดจาระบีเพิ่มตามรายการที่ระบุในตารางการบำรุงรักษาในคู่มือการใช้รถส่วนที่ 6
ข้อควรระวังในการเปลี่ยน และการอัดจาระบีโตโยต้า
- ระวังอย่าให้มีสิ่งสกปรก ฝุ่น ผง หรือน้ำ ปนอยู่ในจาระบี เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ทั้งกับรถยนต์ และเครื่องมือ
- ไม่ควรใช้จาระบีคนละชนิดปนกัน เพราะสารเคมีในจาระบีอาจทำให้คุณภาพจาระบีด้อยลงได้ ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ปนกันสามารถใช้ได้ดังนี้
1. ใช้จาระบีคนละเบอร์ปนกัน โดยที่ประเภทสบู่เป็นชนิดเดียวกัน
2. ใช้จาระบีคนละยี่ห้อปนกัน โดยที่ประเภทสบู่เป็นชนิดเดียวกัน
ขอบคุณภาพ
thaitritonclub.com