ไฟฟ้าตัวถัง 1.ข้อมูลรายละเอียดทั่วไป ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวถังคือ อุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งติดเป็นหลักกับตัวถังรถยนต์ มันประกอบด้วยอุปกรณ์ระบบไฟแสงสว่าง แผงมาตรวัด อุปกรณ์ระบบปัดน้ำฝนและน้ำล้างกระจก และอุปกรณ์อื่นซึ่งได้ออกแบบมาเพื่อความปลอดภัย และความสะดวกสบายขณะขับขี่ มันรวมถึงชุดสายไฟซึ่งต่อไฟให้กับอุปกรณ์เหล่านี้
ในปัจจุบันแบบยึดจับด้านข้างด้วยสกรู นิยมใช้กันโดยทั่วไปเนื่องจากใบปัดต่ำลงและใบปัดยึดกับแขนใบปัดได้แน่นยิ่งขึ้น
2.ชุดสายไฟ ชุดสายไฟเป็นกลุ่มของฉนวนสายไฟ และสายเคเบิ้ลแต่ละอย่างชิ้นส่วนข้อต่อชิ้นส่วนวงจรป้องกัน ฯลฯ กลุ่มทั้งหมดนี้จะรวมเข้าด้วยกัน เพื่อง่ายในการต่อกันระหว่างชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าของรถยนต์ ชุดสายไฟแต่ละชุดประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
3.สวิทช์และรีเลย์
สวิทช์และรีเลย์ตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์เปิด และปิดไฟแสงสว่าง และกระตุ้นระบบควบคุมอื่นต่างๆกัน
สวิทช์
สวิทช์ซึ่งทำมาใช้ในรถยนต์โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบ : สวิทช์ ซึ่งทำงานโดยตรงด้วยมือ และสวิทช์ซึ่งทำงานโดยแรงดันแรงดันน้ำมัน ไฮโดรลิค หรือ อุณหภูมิ รายละเอียดสำคัญของแต่ละแบบได้อธิบายไว้ด้านล่าง
1. สวิทช์ซึ่งทำงานโดยตรงด้วยมือ
1.2)สวิทช์กด สวิทช์กดมีจุดสัมผัสซึ่งทำงานโดยกดที่ยอดสวิทช์ สวิทช์ไฟฉุกเฉิน คือแบบที่เป็นตัวอย่าง
1.3)สวิทช์สองทาง ความหมายของชื่อนี้ สวิทช์สองทางมี 2 ปลาย จุดสัมผัสต่อเมื่อปลายด้าน "ON" ถูกกด และตัดเมื่อปลายด้าน OFF ถูกกดสวิทช์แบบอิสระส่วนมากจะเป็นแบบสวิทช์สองทาง
1.4)สวิทช์แบบก้าน จุดสัมผัสของสวิทช์แบบก้านทำงานได้โดยการเคลื่อนก้านขึ้นลง ไปทางซ้ายและขวาสวิทช์สัญญาณไฟเลี้ยวเป็นตัวอย่างของสวิทช์แบบนี้
2.สวิทช์ที่ทำงานโดยการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือการเปลี่ยนแปลงในความร้อนที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนในกระแสไฟ ตัวอย่างของสวิทช์แบบนี้ คือ สวิทช์ตรวจจับอุณหภูมิ และสวิทช์ตรวจจับกระแสไฟ
3.สวิทช์ซึ่งทำงานโดยการเปลี่ยนแปลง ในระดับของเหลวสวิทช์แบบนี้ทำงานได้โดยการเปลี่ยนแปลงในระดับของเหลว ตัวอย่างของสวิทช์ แบบนี้คือ สวิทช์ไฟเตือนระดับน้ำมันเบรค
รีเลย์ รีเลย์เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าอย่างหนึ่งซึ่งตัด-ต่อวงจรไฟฟ้า โดยสอดคล้องกับสัญญาณแรงดันไฟรีเลย์ใช้เพื่อต่อและตัดไฟแบตเตอรี่เป็นสวิทช์ อัตโนมัติของวงจรไฟฟ้า ฯลฯ รีเลย์แบ่งประกอบออกเป็น รีเลย์แม่เหล็กไฟฟ้า และรีเลย์ทรานชิสเตอร์ รีเลย์แม่เหล็กไฟฟ้า ที่แสดงอยู่ด้านล่าง คือตัวอย่างของรีเลย์แม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไฟไหลผ่านระหว่างจุด A และ B มันจะไหลผ่านขดลวด และทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กขึ้นรอบๆ ดึงลูกสูบขึ้นและต่อหน้าสัมผัสไฟฟ้าจึงไหลผ่านจุด A และ C นี้
4.ระบบไฟแสงสว่าง ระบบไฟแสงสว่างจะขาดเสียไม่ได้ จัดขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่เวลากลางคืน จัดขึ้นเพื่อเป็นแสงสว่างภายนอกและแสงสว่างภายใน
5.แผงมาตรวัดและเกจต่างๆ หน้าปัทม์ติดตั้งอยู่ที่โครงแผงหน้าปัทม์ด้านเบาะผู้ขับขี่ เพื่อสามารถให้ผู้ขับตรวจสอบสภาพของรถยนต์ได้ง่าย แผงหน้าปัทม์บอกให้คนขับทราบรายละเอียด และสภาพปัจจุบันของรถยนต์ โดยดูจากมาตรวัด (เกจต่างๆ) และไฟสัญญาณ หรือไฟเตือน
6.ปัดน้ำฝน และน้ำล้างกระจก คุณลักษณะ ปัดน้ำฝนมีความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยติดตั้งเอาไว้เพื่อให้คนขับรถมองเห็นทัศนวิสัยได้อย่างมั่นใจว่า ไม่มีอะไรกีดขวางอยู่ โดยการปัดน้ำฝนหิมะ แมลง โคลน คราบน้ำมันจารบี ออกจากกระจก ปัดน้ำฝนจะใช้ร่วมกับน้ำล้างกระจกเสมอ เพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกจากกระจก
6.1.มอเตอร์ปัดน้ำฝน มอเตอร์ปัดน้ำฝนเป็นมอเตอร์แม่เหล็กไฟฟ้าโดยใช้เฟืองทดการทำงานของขดลวดสนามแม่เหล็กของมอเตอร์ที่ใช้อยู่มี 2วิธี คือ แบบสายไฟพันโรเตอร์โดยการใช้ขดลวดเป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็ก และแบบแม่เหล็กถาวร โดยการใช้แม่เหล็กถาวรเป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็ก
เมื่อไม่นานมานี้แม่เหล็กถาวรได้ถูกพัฒนาขึ้น และมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบาดังนั้นมอเตอร์กระแสตรงมีการใช้แม่เหล็กถาวรกันอย่างกว้างขวาง
6.2.ก้านปัดน้ำฝน ก้านปัดน้ำฝนจะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่แบบหมุนของมอเตอร์ ปัดน้ำฝน มาเป็นการเคลื่อนที่แบบปัดไปปัดมาของแกนใบปัดน้ำฝน ในกลไกการเคลื่อนที่ของก้านใบปัดแบบคู่ขนาน แขนข้อเหวี่ยงของมอเตอร์จะเริ่มหมุนเมื่อมอเตอร์เริ่มหมุน ก้านดึง-ดันจะต่อเข้าด้วยกันกับแขนข้อเหวี่ยงเป็นเหตุให้แขนเกิดการเคลื่อนที่กึ่งวงกลมรอบๆ จุดหมุนของเพลา ก้านต่ออื่นๆ ที่ประกอบเข้ากับแขนข้อเหวี่ยง ที่จะเคลื่อนที่กึ่งวงกลมขนานกันไป จุดหมุนของเพลาข้างซ้ายและขวาจะหมุนไปในทิศทางเดียวกัน แขนใบปัดน้ำฝนข้างซ้ายและขวาจะทำงานขนานกันไป
6.3.แขนใบปัดน้ำฝน แขนใบปัดน้ำฝนประกอบด้วย ส่วนหัวสำหรับยึดมันเข้ากับเพลาใบปัดน้ำฝนสปริงยึดรูใบปัด ส่วนของแขนสำหรับยึดใบปัดน้ำฝน และปลอกหุ้มสำหรับปกคลุมชิ้นส่วนทั้งหมด
ใบปัดน้ำฝนโดยทั่วไปจะทำให้ทัศนวิสัยที่ไม่ดี เมื่อปิดสวิทช์ใบปัดน้ำฝนแบบซ่อนรูปได้ถูกปรับปรุงขึ้นถึงจุดนี้ ใบปัดน้ำฝนจะซ่อนอยู่ระหว่างกระจกหน้ากับฝากระโปรงหน้า
6.4.ใบปัดน้ำฝน ใบปัดน้ำฝนประกอบด้วยยางใบปัด สำหรับปัดผิวหน้าสัมผัสของกระจก ยึดรวมกับแผ่นสปริง และแขนต่อหลายอันและคลิ๊ปสำหรับยึดใบปัดเข้ากับแขนใบปัด
การยึดใบปัดเข้ากับแขนใบปัดมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี
ใบปัจจุบันแบบยึดจับด้านข้างด้วยสกรู นิยมใช้กันโดยทั่วไปเนื่องจากใบปัดต่ำลงและใบปัดยึดกับแขนใบปัดได้แน่นยิ่งขึ้น