ระบบเชื้อเพลิงประกอบด้วยอุปกรณ์หลายชิ้น เรียงลำดับจากถังเชื้อเพลิงจนถึง ตัวกรองแก๊สในเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงที่บรรจุอยู่ในถังเชื้อเพลิงจะถูกส่งเข้าที่คาร์บิเรเตอร์โดยผ่านท่อโลหะและท่อยางต่าง ๆ โดยมีกรองเชื้อเพลิงเป็นตัวแยกน้ำ ทราย สิ่งสกปรก และสารที่ไม่พึงปรารถนาออกจากเชื้อเพลิงคาร์บิวเรเตอร์ (สำหรับรถธรรมดา) จ่ายส่วนผสมของอากาศและเชื้อเพลิงจำนวนที่พอเหมาะให้แก่เครื่องยนต์ ส่วนจำนวนแก๊สไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ภายในถังเชื้อเพลิงจะถูกลดปริมาณลงท้ายตัวกรอง แก๊สในเชื้อเพลิง (มีใช้เฉพาะรุ่นเท่านั้น) อุปกรณ์และชิ้นส่วนทั้งหมดนี้ต่างประกอบกันเป็นระบบเชื้อเพลิง
น้ำมันเบนซินในถังเชื้อเพลิงไหลเข้าสู่กรองเชื้อเพลิงโดยผ่านท่อส่ง จากนั้นน้ำมันที่ถูกกรองจะถูก ปั๊ม เชื้อเพลิงส่งเข้าสู่คาร์บิวเรเตอร์ และที่คาร์บิวเรเตอร์เชื้อเพลิง และอากาศจะผสมกันในอัตราส่วนที่ เหมาะสม เพื่อเป็นส่วนผสมของอากาศและเชื้อเพลิง ซึ่งส่วนผสมของอากาศและเชื้อเพลิงจะระเหยไปบาง ส่วน และกลายเป็นไอในขณะที่มันไหลผ่านท่อร่วมไอดีเข้าสู่กระบอกสูบ
ถังเชื้อเพลิง
ถังเชื้อเพลิงทำด้วยเหล็กแผ่นอย่างบาง โดยปกติติดตั้งอยู่ที่ด้านล่างหรือด้านหลังของรถเพื่อป้องกันการรั่ว ของน้ำมันในขณะเกิดอุบัติเหตุทางด้านหน้าของรถ และแผ่นกั้นด้านในของถังเชื้อเพลิงเคลือบด้วยสารป้องกันสนิมถังเชื้อเพลิงมีท่อเติมเชื้อเพลิงโบลท์ถ่ายเชื้อเพลิง และมาตรแจ้งปริมาณเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ใน ถังในขณะเดียวกันภายในถังเชื้อเพลิงจะแบ่งออกเป็นตัวป้องกันน้ำมันกระฉอก ในขณะที่รถเริ่มเคลื่อนตัวหรือหยุดทันทีทันใด หรือในขณะที่ขับรถบนถนนขรุขระ ถ้าหากว่าถังเชื้อเพลิงไม่ได้ถูกแบ่งเป็นส่วน ๆ ดังกล่าวแล้วเชื้อเพลิงจะกระฉอกในถังเชื้อเพลิงด้วยเสียงที่ดัง และอาจจะกระเซ็นออกจากท่อเติมเชื้อเพลิงได้ เชื้อเพลิงถูกดูดขึ้นผ่านท่อส่งเชื้อเพลิง ซึ่งปลายท่อติดตั้งอยู่เหนือส่วนที่ต่ำที่สุดของถังเชื้อเพลิง 2 ถึง 3 ซม. เนื่องจากปลายท่อส่งเชื้อเพลิงอยู่พ้นจากก้นถัง จึงทำให้น้ำและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ไม่ถูกดูดเข้าท่อส่งและปะปนไปกับเชื้อเพลิง
สำคัญ
สำคัญ
เครื่องแยกสารพิษ
แก๊สไฮโดรคาร์บอนที่เป็นพิษจะก่อตัวภายในถังเชื้อเพลิงและจะไม่ถูกขับออกสู่บรรยากาศสำหรับเครื่องยนต์บางแบบไอเชื้อเพลิงเช่นนี้จะถูกกักให้อยู่ภายใน ภาชนะชั่วขณะหนึ่งในขณะที่เครื่องยนต์ดับ และถูกส่งเข้าห้องเผาไหม้ เพื่อเผาไหม้ เมื่อเครื่องยนต์ติดอีกครั้งหนึ่งเครื่องแยกสารพิษก็คือภาชนะบรรจุไอเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ภายในจะบรรจุด้วยผงถ่านและไอเชื้อเพลิงที่ถูกส่งเข้าไปพร้อมกับอากาศ แก๊สไฮไดรคาร์บอนจะถูกแยกออกจากไอเชื้อเพลิงด้วยผงถ่าน เมื่อติดเครื่องยนต์แก๊สนี้จะถูกส่งเข้าสู่ คาร์บิวเรเตอร์ และห้องเผาไหม้ที่ซึ่งจะทำให้แก๊สถูกเผาไหม้จนกลายเป็นก๊าซไอเสียที่ไม่เป็นพิษต่อไป
ปั๊มเชื้อเพลิง
เนื่องจากถังเชื้อเพลิงอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าคาร์บิวเรเตอร์ทำให้เชื้อเพลิงไม่สามารถไหลสู่คาร์บิวเรเตอร์ได้ตามธรรมชาติ จำเป็นต้องมีปั๊มเชื้อเพลิง ซึ่งปั๊มเชื้อเพลิงที่ใช้อยู่มีสองแบบ คือแบบกลไกและแบบไฟฟ้าปั๊มแบบกลไกโดยปกติจะมีไดอะแฟรม และมักจะใช้กับเครื่องยนต์ที่ใช้คาร์บิวเรเตอร์ ส่วนปั๊มไฟฟ้าจะใช้ในเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบฉีดเชื้อเพลิงแบบอิเล็คทรอนิค
1. ปั๊มเชื้อเพลิงแบบกลไก
ปั๊มเชื้อเพลิงแบบกลไกมีไดอะแฟรมประกอบอยู่ตรงกลางดังภาพประกอบ และลิ้นหนึ่งคู่ซึ่งทำ หน้าที่ต่างกัน ซึ่งประกอบอยู่ภายในปั๊ม ลิ้นเหล่านี้ทำงานได้ด้วยการเคลื่อนที่ขึ้นและลงของไดอะแฟรม เพื่อป้อนเชื้อเพลิงให้กับคาร์บิวเรเตอร์ แผ่นไดอะแฟรมจะทำงานได้ด้วยกระเดื่องของปั๊ม ซึ่งก็จะถูกลูกเพลาลูกเบี้ยวหมุนเกาะให้เกิดการทำงาน
การทำงาน
(1.1) จังหวะดูด
เมื่อกระเดื่องถูกดันขึ้นด้วยลูกเบี้ยว แผ่นไดอะแฟรมจะถูกดึงลง และทำให้เกิดสุญญากาศขึ้นภายในห้องไดอะแฟรม ลิ้นทางเข้าจึงเปิดขึ้นให้เชื้อเพลิง ไหลเข้าไปในห้องไดอะแฟรมในขณะที่ลิ้นทางออกยังคงปิดอยู่
(1.2) จังหวะจ่าย
ในขณะที่เพลาลูกเบี้ยวหมุนต่อไป กระเดื่องจะปล่อย ให้แผ่นไดอะแฟรมดีดตัวลงมาตามแรงสปริงอัดดันเชื้อเพลิงในห้องเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงที่ถูกอัดจนมีแรงดันนี้จะเปิดลิ้น ทางออกและไหลไปที่คาร์บิวเรเตอร์ จังหวะการดูดและจ่ายซึ่งกระทำอย่างต่อเนื่องกันนี้ทำให้น้ำมันถูกส่งไปสู่คาร์บิวเรเตอร์ได้อย่างไม่ขาดตอน
(1.3) จังหวะปั๊มทำงานตัวเปล่า
ถ้าหากว่าปั๊มเชื้อเพลิงจ่ายเชื้อเพลิงไปมากกว่าความต้องการของคาร์บิวเรเตอร์ แผ่นไดอะแฟรม จะต้านการผลักขึ้นของสปริงแผ่นไดอะแฟรม ทำให้แผ่นไดอะแฟรมและก้านดึงค้างอยู่ในตำแหน่งดึงลงส่วนกระเดื่องยังคงทำงานตามการหมุนของเพลาลูกเบี้ยว แต่ไม่ทำให้แผ่นไดอะแฟรมทำงานในสภาพเช่นนี้ ซึ่งเรียกว่าจังหวะปั๊มทำงานตัวเปล่า และจะทำให้ ปั๊มส่งเชื้อเพลิงได้เพียงพอกับความต้องการของคาร์บิวเร เตอร์ตลอดเวลาแรงดันของเชื้อเพลิงที่ปั๊มจ่ายออกไปจะถูกรักษาให้ อยู่ที่ประมาณ 0.2 ถึง 0.3 กก./ซม.?
สำคัญ
แผ่นไดอะแฟรมจะเสื่อมคุณภาพลง เมื่อสัมผัสถูกกับน้ำมันเครื่อง หรือไอน้ำมัน เป็นต้น ดังนั้นจึงถูกต่อเข้ากับก้านดึงโดยซิลน้ำมัน เพื่อป้องกันน้ำมันสัมผัสถูกนั่นเองซีลน้ำมันยังช่วยป้องกันน้ำมันเบนซินมิให้รั่วเข้าสู่เสื้อสูบ ในกรณีที่แผ่นไดอะแฟรมรั่ว ที่เรือนปั๊มเชื้อเพลิง จะจัดให้มีรูระบายอยู่หนึ่งรู ถ้าหากว่าแผ่นไดอะแฟรมเกิดขาด น้ำมันเบนซินจะกระเซ็นออกมาจากรูนี้ ทำให้สามารถตรวจพบการทำงานบกพร่องของปั๊มได้ง่าย
2. ปั๊มเชื้อเพลิงไฟฟ้า
ปั๊มเชื้อเพลิงแบบไฟฟ้านั้นมีแรงดันส่งเชื้อเพลิงได้สูงกว่า (2 กก./ซม? หรือมากกว่านั้น) ปั๊มแบบกลไกและ มีการเปลี่ยนแปลงการส่งเชื้อเพลิงน้อยกว่าด้วย
เนื่องจากว่าปั๊มแบบนี้ไม่ได้ถูกขับด้วยเพลาลูกเบี้ยว จึงสามารถส่งเชื้อเพลิงได้อย่างแน่นอนแม้ว่าในขณะที่ เครื่องยนต์ดับ และไม่จำเป็นต้องติดตั้งอยู่กับเครื่องยนต์โดยตรง โดยทั่ว ๆ ไปจะติดตั้งอยู่ ภายในถังเชื้อเพลิง (แบบปั๊มอยู่ในถัง) หรือในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งตามท่อส่งน้ำมัน (แบบปั๊มอยู่ในท่อน้ำมัน)
เชื้อเพลิงจะถูกเพิ่มแรงดันโดยโรเตอร์หรือเทอร์ไบน์โดยที่ปั๊มเชื้อเพลิงแบบเทอร์ไบน์ เกิดเสียง ดังในขณะที่ทำงานน้อย จึงไม่จำเป็นต้องมีแผ่นเก็บเสียง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับปั๊มเชื้อเพลิงแบบโรเตอร์
คาร์บิวเรเตอร์
เครื่องยนต์เบนซินสามารถผลิตกำลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องมีปัจจัยที่สำคัญ 3ประการดังนี้คือ
1. กำลังอัดสูง
2. จังหวะจุดระเบิดถูกต้องและประกายไฟแรง
3. ส่วนผสมอากาศกับเชื้อเพลิงถูกต้อง
1. ส่วนผสมอากาศกับเชื้อเพลิง
เชื้อเพลิงที่ถูกส่งเข้าสู่กระบอกสูบ จะต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสมที่สุด กับการจุดระเบิดของ เครื่องยนต์ เพื่อที่จะผลิตกำลังงานสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพน้ำมันเบนซินนั้นจะลุกไหม้เมื่อมันระเหยอยู่ ในสภาพแก๊สอีกทั้งมันไม่สามารถลุกไหม้ได้ด้วยตัวเอง คือจะต้องผสมกับอากาศในอัตราส่วนที่เหมาะสมด้วยเหตุนี้ อัตราส่วนผสม อากาศและเชื้อเพลิงที่ดีจะต้องประกอบด้วยน้ำมันเบนซินที่ระเหยเป็นไอกับจำนวน อากาศที่พอเหมาะอัตราส่วนผสมอากาศกับเชื้อเพลิงยังมีผลต่อการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ด้วย
2. อัตราส่วนอากาศกับเชื้อเพลิง
อัตราส่วนอากาศกับเชื้อเพลิงสามารถแสดงอยู่ทั้งในรูปของปริมาตร หรือน้ำหนัก โดยปกติแล้ว อัตราส่วนอากาศกับเชื้อเพลิง เป็นอัตราส่วนของอากาศกับเชื้อเพลิงโดยน้ำหนัก
น้ำมันเบนซินต้องเผาไหม้ได้อย่างหมดจดในห้องเผาไหม้เพื่อที่เครื่องยนต์สามารถจุดระเบิดเพื่อสร้างกำลังงานสูงสุดได้ อัตราส่วนอากาศกับเชื้อเพลิงตามทฤษฎีคือ 15 ต่อ 1 (15 : 1 ) นั่นคืออากาศ สิบห้าส่วนต่อเชื้อเพลิงหนึ่งส่วน
ในความเป็นจริง อย่างไรก็ดีเครื่องยนต์ต้องการอัตรา ส่วนผสมอากาศกับเชื้อเพลิงที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิความเร็วรอบเครื่องยนต์ ภาระและสภาพอื่น ๆ จาก ตารางด้านล่างแสดงอัตราส่วนอากาศ เชื้อเพลิงต่างๆ ที่เครื่องยนต์ต้องการในสภาพต่างๆ
สภาพการทำงานของเครื่องยนต์
|
อัตราส่วนอากาศกับเชื้อเพลิง (อากาศ : เชื้อเพลิง)
|
ติดเครื่อง (อุณหภูมิอากาศประมาณ 0 C) ํ | ประมาณ 1 : 1
|
ติดเครื่อง (อุณหภูมิอากาศประมาณ 20 C) ํ | ประมาณ 5 : 1
|
เดินเบา | ประมาณ 11 : 1
|
เดินรอบต่ำ | 12 - 13 :1
|
เร่งเครื่องยนต์ | ประมาณ 8 : 1
|
แรงขับสูงสุด (ภาระสูงสุด) | 12 - 13 :1
|
เดินที่รอบปานกลาง(ความเร็วรอบประหยัด) | 16 - 18 :1
|
3. หลักการทำงานของคาร์บิวเรเตอร์
พื้นฐานการทำงานของคาร์บิวเรเตอร์นั้นคล้ายคลึงกับการพ่นสี เมื่อมีลมเป่าผ่านไปบนปลายของ ท่อพ่นสี กำลังดันภายในท่อจะตกลง ของเหลวที่อยู่ภายในกาพ่นสีก็จะถูกดูดขึ้นมาตามท่อ และจะกลายเป็น ฝอยละอองเมื่อกระทบกับอากาศ ดังนั้นถ้าความเร็วของอากาศที่ไหลผ่านปลายท่อพ่นสีสูงขึ้น แรงดันภาย ในท่อจะตกลงมามากขึ้น เป็นผลให้ของเหลวถูกดูดขึ้นมาจากท่อมากขึ้น
4. โครงสร้างพื้นฐานของคาร์บิวเรเตอร์
ภาพด้านล่างแสดงการออกแบบพื้นฐานของคาร์บิวเรเตอร์ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงภายในกระบอกสูบในจังหวะดูดไอดีของเครื่องยนต์ ทำให้เกิดสุญญากาศขึ้นภายในห้องเผาไหม้ด้วยสุญญากาศนี้ทำให้อากาศไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ผ่านคาร์บิวเรเตอร์ ปริมาณอากาศไหลเข้าสู่กระบอกสูบจะถูกควบคุมโดยลิ้นปีกผีเสื้อซึ่งถูกควบคุมโดยคันเร่ง ความเร็วของอากาศจะเพิ่มขึ้นขณะที่ไหลผ่านคอคอด หรือที่เรียกว่า เวนทูรี่ แต่ความดันจะ ลดลง ด้วยสาเหตุนี้เชื้อเพลิงในห้องลูกลอยจึงถูกดูดออกจากห้องลูกลอย และขับออกทางหัวฉีดหลักในขณะที่เครื่องยนต์วิ่งที่ความเร็วสูงและลิ้นปีกผีเสื้อสุด อากาศจะไหลเข้าสู่คาร์บิวเรเตอร์ในปริมาณ ที่มากความเร็วของอากาศที่เคลื่อนผ่านเวนทูรี่จึงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณของน้ำมันเบนซินที่ถูกส่งออกจากหัวฉีดหลักเพิ่มมากขึ้นด้วย
5. คอคอด
สมมุติว่าถ้าอากาศไหลในอัตราความเร็วคงที่ภายในท่อที่มีคอคอดติดตั้งอยู่ดังภาพ เนื่องจาก อากาศไหลเข้าและออกจากท่ออยู่ในอัตราความเร็วเท่ากันตลอด ความเร็วของอากาศที่ไหลผ่านคอคอดจะต้องเร็วกว่าไหลผ่านส่วนอื่น ๆ เนื่องจากคอคอดนั้นแคบกว่า ดังนั้นจึงเท่ากับว่าแรงดันของอากาศบริเวณคอคอดจะน้อยกว่าในส่วนอื่น ๆ ของท่อด้วย ใน คาร์บิวเรเตอร์เชื้อเพลิงจะถูกขับออกจากหัวฉีดหลัก เพราะว่าแรงดันที่ต่ำกว่าในคอคอด
ในคาร์บิวเรเตอร์ที่ใช้งานจริงจะมีคอคอดสองหรือสามชุด เพื่อทำให้เกิดแรงดันของอากาศที่ต่ำการดึงดูดน้ำมันเบนซินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คอคอดคู่ คอคอดแบบสามชิ้น
ขอบคุณภาพ
checkraka.com
พิเศษ : ขยายการรับประกัน 5 ปี หรือ 150,000 km. และฟรีค่าแรง 5 ปีหรือ 100,000 km. (เฉพาะเครื่องยนต์ Hybrid เท่านั้น)