ระบบรองรับ
ระบบรองรับติดตั้งอยู่ระหว่างโครงตัวถังรถยนต์และล้อ ออกแบบเพื่อให้รองรับการสั่นสะเทือนจากผิวถนน พร้อมทั้งปรับปรุงการขับขี่ให้สะดวกสบายและมั่นคง
หน้าที่ของระบบรองรับ
- ระบบรองรับจะทำงานรวมกับยาง ในการดูดซับแรงสั่นสะเทือน และการแกว่งตัวในขณะขับขี่ อันเนื่องมาจากผิวถนน และการบังคับเลี้ยวรถเพื่อความมั่นคง และนุ่มนวลในการขับขี่
- ทำหน้าที่ให้เกิดการทรงตัวที่ดี และเกิดความมั่นใจในการขับขี่ ขณะออกตัว , เร่ง , ชะลอ และหยุดรถ
- รองรับตัวถังซึ่งตั้งอยู่บนเพลาขับและรักษาความสัมพันธ์เชิงมุมเรขาคณิตระหว่างตัวถังและล้อให้ถูกต้อง
ระบบรองรับประกอบด้วยชิ้นส่วนหลักดังต่อไปนี้
1. สปริง 6. แขนหนวดกุ้ง
2. ช็อคแอบชดรัยเบอร์ 7. แขนกันโคลง
3. ปีกนก 8. แขนควบคุม
4. ลูกหมาก9. ลูกยางกันกระแทก
5. บูชยาง
สปริง
สปริงออกแบบมาเพื่อรองรับการสั่นสะเทือนจากการสัมผัสของล้อกับพื้นผิวถนน ก่อนที่จะส่งมายังตัวถังรถยนต์ พร้อมทั้งมีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการเกาะถนนของรถด้วย โดยทั่วไปแล้วสปริงจะมีอยู่ 3 แบบ คือ
1. คอยส์สปริง คอยส์สปริงทำด้วยแกนเหล็กพิเศษขึ้นรูปเป็นขด
2. แหนบแผ่นแหนบแผ่นเป็นแผ่นงอของเหล็กสปริง ซึ่งสามารถยืดหยุ่นอิสระได้
3. สปริงแบบแท่ง (ทอร์ชั่นบาร์)แท่งทอร์ชั่นบาร์ทำขึ้นด้วยแท่งเหล็กสปริง มีแรงบิดยืดหยุ่นได้
ช้อคแอบซอร์บเบอร์
1. ปัญหาโดยทั่วไปเกี่ยวกับสปริงคือ มันจะรักษาการแกว่งขึ้นและลง ต่อไปอีกหลายครั้ง ทำให้เกิดการโคลงของรถต่อเนื่องไปเมื่อขับผ่านเนิน หรือหลุมไปแล้ว การควบคุมรถจะทำได้ยากดังนั้นเพื่อให้การแกว่งของสปริงหยุดลงในเวลาที่เหมาะสมจึงต้องมีช้อคแอบซอร์บเบอร์เป็นตัวหน่วงการแกว่งดังกล่าว
2. เมื่อมีแรงมากระทำที่ก้านของช้อคแอบซอร์บเบอร์ ( ไม่ว่าจะเป็นการกดหรือการดึงออก )ของเหลวในกระบอกด้านที่ถูกอัดจะไหลผ่านรูที่ลูกสูบไปยังอีกด้านหนึ่ง แต่เนื่องจากขนาดของรูที่ของเหลวผ่านไม่ได้ใหญ่มาก ทำให้ของเหลวไม่สามารถไหลได้อย่างสะดวก การที่ของเหลวไหลไป - ไหลกลับ ไม่สะดวกนี้เอง คือ แรงหน่วงให้สปริงหยุดแกว่ง
3. แบบต่าง ๆของช้อคแอบชอร์บเบอร์มีวิธีแบ่งประเภทของช้อคแอบชอร์บเบอร์ได้หลายวิธีได้แก่ แบ่งตามลักษณะการทำงาน , แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง และแบ่งตามสื่อการทำงาน
1) แบ่งออกโดยลักษณะการทำงาน
1.1 ช้อคแอบชอร์บเบอร์แบบทำงานทางเดียวช้อคแอบชอร์บเบอร์แบบนี้จะมีการหน่วงของการไหลของของเหลว จากการผ่านรูในลูกสูบเพียงด้านเดียวกล่าวคือ เมื่อมีแรงมากระทำกับช้อคแอบชอร์บ - เบอร์ด้านหนึ่ง ( ดึง ) จะมีการหน่วงของการไหลของของเหลวในขณะที่ถ้ามีแรงมากระทำในทางตรงข้าม
( กด ) น้ำมันจะไหลผ่านลูกสูบได้โดยสะดวก
1.2 ช้อคแอบชอร์บเบอร์แบบทำงานหลายทางช้อคแอบชอร์บเบอร์แบบนี้ จะมีการหน่วงของการไหลของของเหลวจากการผ่านรูในลูกสูบทั้งสองด้านไม่ว่าจะรับแรงดึง หรือแรงกด ซึ่งในปัจจุบันช้อคแอบชอร์บเบอร์ส่วนมากที่ใช้รถยนต์จะเป็นแบบนี้
2) แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง
2.1 ช้อคแอบชอร์บเบอร์แบบท่อคู่ คือ ช้อคแอบชอร์บเบอร์ที่มีเสื้อกระบอกสูบ 2 ชิ้น
2.2 ช้อคแอบชอร์บเบอร์แบบท่อเดียว คือ ช้อคแอบชอร์บเบอร์ที่มีเพียงเสื้ออันเดียว
3) แบ่งตามสื่อการทำงาน
3.1 ช้อคแอบชอร์บเบอร์แบบใช้น้ำมันคือ ช้อคแอบชอร์บเบอร์ทั่วๆไป ซึ่งใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น (น้ำมันโช๊ค) เป็นสื่อการทำงาน
3.2 ช้อคแอบชอร์บเบอร์แบบใช้แก๊ส คือ โช๊คน้ำมันซึ่งประจุไว้ด้วยแก๊ส แก๊สส่วนใหญ่ที่ใช้คือไนโตรเจน ซึ่งมีแบบแรงดันต่ำ 10-15 กก/ซม2* (142- 213 ปอนด์/นิ้ว2**) หรือ แรงดันสูง 20-30 กก/ซม2* (284- 427 ปอนด์/นิ้ว2**)
หมายเหตุ
* ซม2 => ตารางเซนติเมตร
** นิ้ว2 => ตารางนิ้ว
ลูกหมาก
ลูกหมากจะรับแรงทั้งทางแนวตั้ง และแนวนอน และยังเป็นจุดหมุนของแกนบังคับเลี้ยว เมื่อล้อถูกหมุนไป
ภายในของลูกหมากจะใส่ไว้ด้วยจารบี เพื่อหล่อลื่นผิวที่เคลื่อนตัว ซึ่งจะต้องมีการอัดเปลี่ยนจารบีตามระยะเวลาที่กำหนด โดยใช้จารบีที่มีลิเธียมโมลิบดินั่ม ไดซัลไฟด์
เมื่ออัดจารบี คลายสกรูปลั๊กออก แล้วขันหัวอัดจารบีเข้าแทนทำการอัดจารบี จากนั้นให้แน่ใจว่าได้เปลี่ยนหัวอัดจารบีแทนปลั๊กสกรูภายหลังจากอัดจารบีเรียบร้อยแล้ว
มีลูกหมากแบบอื่น ๆ ที่ใช้วัสดุเรซิน ข้อลูกหมากแบบนี้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนจารบี
เหล็กกันโคลง
เหล็กกันโคลงออกแบบมาเพื่อลดการเอียงของตัวรถยนต์เนื่องจากแรงเหวี่ยง ซึ่งจะเกิดขึ้นขณะเลี้ยวรถ ที่ระบบรองรับหน้า ปกติแล้วปลายทั้งสองของเหล็กกันโคลง จะติดอยู่กับปีกนกตัวล่างด้วยยางรอง และก้านต่อ ส่วนตรงกลางของเหล็กกันโคลงจะยึดติดกับตัวถังรถ
เมื่อรถกำลังเลี้ยวโค้ง สปริงของล้อด้านในจะขยายตัว ในขณะที่สปริงของของล้อด้านนอกจะอัดตัวลงปลายเหล็กกันโคลงที่ยึดกับปีกนกของล้อด้านในจะบิดตัวลง ในขณะที่ปลายอีกด้านจะบิดตัวขึ้นเหล็กกันโคลงจะมีคุณสมบัติต้านแรงบิดนี้ ซึ้งแรงต้านนี้เองจะช่วยลดการเอียง และการโคลงของรถ
เหล็กหนวดกุ้ง
จากรูปด้านล่าง ปลายด้านหนึ่งของเหล็กหนวดกุ้งจะติดอยู่กับปีกนกล่าง และปลายอีกด้านหนึ่งจะติดกับที่ยึดเหล็กหนวดกุ้ง ซึ่งติดอยู่กับตัวถังหรือคานขวางพร้อมด้วยยางกันสะเทือนเมื่อด้านหน้ารับอาการสั่นเนื่องจากสภาพผิดปกติของถนนอุปสรรคต่างๆ การเบรค ฯลฯ เหล็กหนวดกุ้งจะป้องกันปีกนกล่างเคลื่อนไปทางด้านหลัง หรือด้านหน้า
ยางกันกระแทก
เมื่อล้อวิ่งไปบนหลุมบ่อที่ใหญ่มาก หรือข้ามสะพานด้วยความเร็วสูง การกระโดดและแรงสะท้อนกลับ จะรุนแรงมาก และจะทำให้เกิดการกระแทกของชิ้นส่วนต่างๆ รวมทั้งตัวถังรถบริเวณล้อยางกัน กระแทกจึงเป็นจุดรับการกระแทก เพื่อป้องกันไม่ให้มีชิ้นส่วนใดได้รับความเสียหาย
ขอบคุณภาพ
thaiautocar.
พิเศษ : ขยายการรับประกัน 5 ปี หรือ 150,000 km. และฟรีค่าแรง 5 ปีหรือ 100,000 km. (เฉพาะเครื่องยนต์ Hybrid เท่านั้น)