phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

ปัญหาโครมไฟซีนอน (Zenon lamp) ?

หมวด บทความทั่วไป | จำนวนคนอ่าน 9143 ครั้ง | เมื่อ : 19 ม.ค. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

 ทัศนวิสัยในการมองเห็นของผู้ขับขี่รถ   นับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ ความปลอดภัยในการขับรถรถที่มีการออกแบบให้ผู้ขับรถ
สามารถมองเห็นสภาพการจราจรด้านหน้ารถได้ชัดเจน     มีมุมกว้างเพียงพอ จะทำให้การขับรถมีความปลอดภัยมากขึ้น     และสาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุที่มักจะเกิดในเวลาค่ำคืนเนื่องจากทัศนวิสัยในการมอง เห็นอยู่ในวงจำกัด เพราะต้องอาศัยความสว่างจากแสงไฟของโคมไฟ แสงพุ่งไกล   และโคมไฟแสงพุ่งต่ำเท่านั้น จึงไม่อาจมองเห็นสภาพ การจราจรด้านหน้ารถได้ชัดเจนนัก
  โคมไฟหน้าของรถมีการพัฒนาเรื่อยมา เริ่มตั่งแต่แบบหลอดที่มีไส้ มาเป็นแบบ Seal Beam ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนหลอดไฟได้ 
ในกรณีที่ชำรุดจะต้องเปลี่ยนทั้งโคม     ต่อมามีการพัฒนาไปใช้ โคมไฟชนิด   Halogen ซึ่งให้แสงสว่างได้มากกว่าโคมไฟ   Seal Beam และสามารถเปลี่ยนเฉพาะหลอดไฟได้ และด้วยการพัฒนา ที่ไม่หยุดยั้ง   เพื่อที่จะทำให้ผู้ขับสามารถมองเห็นสภาพการจราจร ด้านหน้ารถได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ใน พ.ศ. 2535 BMW  ซึ่งเป็นบริษัท ผู้ผลิตรถในยุโรป    ได้คิดค้นหลอดไฟซีนอน    ซึ่งให้แสงสว่างได้ มากกว่าหลอด Halogen แต่ใช้กำลังไฟต่ำกว่า เพื่อใช้กับรถ BMW ผลิต   จนต่อมา ในปี พ.ศ.2538   ญี่ปุ่นเริ่มให้ความสนใจกับโคม ไฟ  ซีนอน   และในปี 2539 ได้ทดลองติดตั้งโคมไฟซีนอนในรถ บรรทุก มิตซูบิชิ และด้วยคุณสมบัติของ หลอด Xenon ซึ่งให้ความ สว่างได้มาก       และให้อุณหภูมิของสีได้ใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ ในขณะที่กินกำลังไฟเพียง 3.5 วัตต์ จึงทำให้อนาคตของไฟ Xenon มีแนวโน้มที่จะมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการ คาดการณ์ว่า มีรถที่ติดตั้งโคมไฟซีนอนในประเทศญี่ปุ่นประมาณ 300,000 คัน  และคาดว่าในปี 2545 จะมีรถในญี่ปุ่นที่ใช้โคมไฟ ซีนอนจำนวนประมาณ1,400,00 คัน  

สำหรับทางด้านยุโรป มีการคาดกันว่าในปัจจุบันนี้มีรถที่ใช้โคมไฟซีนอนประมาณ 20 % และคาดว่าในปี 2548 จะมีรถที่ใช้  โคมไฟซีนอนประมาณ 70 % ของรถที่ผลิตในยุโรปทั้งหมด    

สำหรับประเทศไทยมีการใช้โคมไฟซีนอนมานานแล้วโดยเป็นรถราคาแพงที่ผลิต  และนำเข้าจากยุโรป  แต่เราเพิ่งจะมา ให้ความสนใจกับโคมไฟซีนอนกันจริง ๆ จัง ๆ    เมื่อประมาณปี 2542 เมื่อ ตลาดรถปิกอัพมีการแข่งขันกันสูงในด้านสมรรถนะ   ผู้จำหน่ายรถ ปิกอัพยี่ห้อหนึ่งได้ติดตั้งโคมไฟซีนอนกับรถที่จำหน่าย และใช้เป็น จุดเด่นในการขายด้านทัศนวิสัยการมองเห็นในตอนกลางคืน ด้วยความสว่างของโคมไฟซีนอน  หลังจากรถยี่ห้อนี้ออกจำหน่าย ได้ไม่นานก็เริ่มมีเสียงร้องเรียนตามสื่อมวลชนต่าง ๆ ว่า แสงไฟ ของโคมไฟซีนอนส่องเข้าตารบกวนผู้ใช้รถอื่น ๆ 

เมื่อปัญหาการร้องเรียนมีมากขึ้น ทางราชการจึงต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง   เพื่อประมวลหาสาเหตุของปัญหาและอธิบายให้ ประชาชน ตลอดจนสื่อมวลชนที่สงสัยได้ทราบต่อไป 
   
โคมไฟซีนอนมีลักษณะการทำงานอย่างไร ? 
โคมไฟซีนอน   มีหลักการทำงานคล้าย ๆ   หลอดฟูลออเรสเซ้นต์นั่นคือ อาศัยการอาร์กของขั้วไฟฟ้าภายในกระเปาะแก้วที่บรรจุสารต่าง ๆ 3 ชนิดคือ ปรอท

 

เมททัลฮาไลด์ และก๊าซซีนอน ซึ่งการอาร์กจะต้องใช้แรงดันไฟฟ้าสูงประมาณ 20,000 โวลท์   จึงจำเป็นต้องมีชุดแปลงแรงดัน ไฟฟ้า และชุดควบคุม ในการ รักษาระดับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่  ดังนั้นหลอดซีนอนจึงไม่สามารถที่จะนำไป เปลี่ยนแทนหลอด Halogen ได้ หากแต่ต้องเปลี่ยนทั้งชุดจึงจะสามารถทำได้ แต่จากการที่โคมไฟซีนอนต้องมีชุดควบคุมแรงดันไฟฟ้าจึงต้องทำให้มีราคา สูงกว่าโคม Halogen มาก 

ในการเปรียบเทียบการส่องสว่างของหลอด Xenon  และ หลอด Halogen จะเห็นได้ว่าหลอดซีนอนนั้นจะให้ความสว่างได้มากกว่า จึงทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ยามค่ำคืนดีกว่าแต่ในทางตรงข้ามความสว่างที่มากกว่าของหลอดซีนอน จะมีผลต่อสายตาของผู้ขับรถที่แล่นสวนทางมา หรือขับตามหลังมา ด้วยหากไม่มีการจัดการควบคุมทิศทางของแสงที่ดีพอ

ดังนั้นตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธการเศรษฐกิจแห่งยุโรป (UN/ECE Regulation) หรือมาตรฐานของญี่ปุ่น   (JIS) จึงกำหนด  ให้มีการตรวจสอบควบคุมการผลิตโคมไฟดังกล่าวให้มีความสว่าง  และทิศทางการเบี่ยงเบน ของแสง    ตลอดจนรูปแบบ (Pettern) ของลำแสง ให้เป็นไปตามกำหนด ซึ่งค่าความเข้มการส่องสว่างรวมสูงสุดของโคมไฟหน้าทั้งหมดที่ UN/ECE

รูปเปรียบเทียบความสว่างของไฟซีนอน กับไฟฮาโลเจน

 ยอมให้ได้คือ 225,000 แคนเดล่า  (Cd)     แต่จากผลการทดสอบโคมไฟซี นอนซี่เป็นโคมไฟแสงพุ่งต่ำและโคมไฟแสงพุ่งไกล ซึ่งเป็นโคม Halogenของรถยี่ห้อนั้น  มีความเข้มการส่องสว่างรวมทั้งหมด ประมาณ 125,000 Cd ซึ่งไม่เกินเกณฑ์ที่ UN/ECE ยอมรับ
   สำหรับกรมการขนส่งทางบกก็มีข้อกำหนดในเรื่อง  การติดตั้งโคมไฟ และทิศทาง หรือการเบี่ยงเบนของลำแสงด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ต้องยอมรับว่า โคมไฟซีนอน  ที่ผ่านขบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อกำหนด จะให้ความปลอดภัยในการใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาความสว่างของโคมไฟซีนอน
  จากข้อร้องเรียนที่ว่า แสงจากโคมไฟซีนอนมีความสว่างมาก และส่องรบกวนสายตาผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นนั้น  ในฐานะที่ผู้เขียนทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จึงขอวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวดังนี้   
  จากข้อมูลการตรวจ   และทดสอบของกรมการขนส่งทางบก  ก่อนที่จะ อนุญาตให้รถปิกอัพที่ติดตั้งโคมไฟชนิดนี้ออกจำหน่ายนั้น ในเรื่องของความสว่างพบว่า  โคมไฟซีนอนที่ใช้มีความสว่างมากกว่าโคมไฟชนิด Halogen ที่รถอื่นใช้กัน แต่ก็ยังเป็นความสว่างที่ยังไม่เกินมาตราฐาน สากลดังกล่าวแล้ว  คือ มีความสว่างของโคมไฟแสงพุ่งไกลซึ่งเป็นโคม ชนิด Halogen  และ โคมไฟแสงพุ่งต่ำซึ่งเป็นโคมซีนอน รวมทั้งสี่ดวง ประมาณ 125,000 แคนเดล่า   ส่วนข้อกำหนดของ UN/ECE กำหนดให้โคมไฟหน้ารถยนต์ ต้องมีความสว่างรวมกันไม่เกิน 225,000 แคนเดล่า ดังนั้นแม้โคมไฟซีนอนจะมีความสว่างมาก แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานสากล
  สำหรับการฟุ้งกระจายของลำแสง ซึ่งน่าจะมีผลต่อการรบกวนสายตาของผู้ขับรถอื่น และเป็นประเด็นที่มีผู้สงสัยกันมากนั้น จากข้อมูลของผลการตรวจสอบพบว่า     โคมไฟที่รถดังกล่าวใช้  ซึ่งเป็นโคมไฟต่ำนั้น (โคมไฟสูงใช้ไฟ Halogen)  มีการออกแบบและจัดทิศทาง  ตลอดจน รูปแบบของแสง (Pettern)  เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานซึ่งเป็นที่ ยอมรับกันโดยเฉพาะส่วนบนด้านขวามีการออกแบบให้มืด  นั่นคือ  มี cut off line ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โคมไฟต่ำของรถยนต์มี       เพื่อป้องกันลำแสงส่องรบกวนสายตาของผู้ที่ขับรถสวนทางมา
  เมื่อโคมไฟซีนอนไม่มีปัญหาทั้งสองประการดังกล่าวข้างต้นแล้วปัญหาการรบกวนสายตา ตามที่มีการร้องเรียนหรือวิพากษ์วิจารณ์กันเกิดจากอะไร
  ในเรื่องนี้กรมการขนส่งทางบกได้ทำการทดสอบรถปิกอัพดังกล่าวอีกหลายครั้ง  เพื่อหาข้อบกพร่องหรือความผิดพลาดต่าง ๆ และ ก็พบว่าสาเหตุของปัญหา  น่าจะเกิดจากการที่รถปิกอัพซึ่งตามปกติที่ผ่านมารถที่ใช้โคมไฟ Halogen  ธรรมดาก็มักจะมีปัญหาในเรื่องแสงไฟส่องรบกวนสายตารถอื่นอยู่แล้ว แม้ว่าก่อนออกจำหน่ายจะมีการตรวจสอบว่ามีการปรับตั้งทิศทางของลำแสงถูกต้องตามที่กรมการขนส่งทางบก กำหนดแล้วก็ตาม สาเหตุเพราะรถปิกอัพจะมีความสูงกว่ารถเก๋ง โคมไฟ หน้าของรถจะอยู่ในระดับสายตาของผู้ขับรถเก๋งประการหนึ่ง   และอีกประการหนึ่ง เนื่องจากรถปิกอัพเป็นรถที่ออกแบบมาให้ใช้งานเป็นรถ อเนกประสงค์      คือใช้เป็นได้ทั้งรถบรรทุก  และรถโดยสารระบบรองน้ำหนัก จึงถูกออกแบบให้มีความอ่อนตัวเพื่อความนุ่มนวลสะดวกสบายเพื่อนำไปใช้งานเป็นรถโดยสาร    

  ดังนั้นเมื่อน้ำหนักบรรทุกหรือมีการ เพิ่มเติมอุปกรณ์  เช่นการใส่หลังคาก็มีผลทำให้ท้ายรถยุบตัวลง และ หน้ารถกระดกสูงขึ้น ซึ่งแม้จะเพียงเล็กน้อยก็มีผลทำให้ลำแสงของ โคมไฟส่องพุ่งขึ้นไปรบกวนผู้อื่นได และเมื่อมีการนำเอาโคมไฟซีนอน ซึ่งมีความสว่างมากมาใช้ ก็น่าจะยิ่งทำให้ลำแสงรบกวนผู้อื่นมากยิ่งขึ้น ประเด็นนี้จึงน่าจะเป็นสาเหตุหลักของปัญหา
  สำหรับแนวทางการแก้ปัญหานั้น  กรมการขนส่งทางบก  เห็นว่ารถเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นรถใหม่ยังมีอายุการใช้งานไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพเพื่อเสียภาษีประจำปี   และตรวจสอบ ความถูกต้องของทิศทางลำแสงของโคมไฟ  ซึ่งจำเป็นจะต้องทำภายใน อาคารตรวจสภาพรถที่มีการติดตั้งเครื่องมือตรวจสอบไว้เพื่อให้ได้ ค่าหรือผลการตรวจสอบที่ถูกต้องการออกไปตรวจสอบตามท้องถนนไม่มีความสะดวก และเหมาะสมเนื่องจากต้องใช้ความระมัดระวังใน เรื่องการผิดพลาดคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก
   ดังนั้นการแก้ปัญหาในเรื่องนี้  กรมการขนส่งทางบกจึงได้เรียกผู้จำหน่ายรถยี่ห้อดังกล่าวรวมทั้งสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมาหารือและได้กำชับให้บริษัทผู้ประกอบรถ ปรับตั้งทิศทางของลำแสงไฟให้มีมุมกดต่ำมากขึ้นกว่าข้อกำหนดที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้   เพื่อเป็นการป้องกันลำแสงพุ่งขึ้นรบกวนสายตาผู้อื่น เมื่อมีการ บรรทุกน้ำหนัก สำหรับรถที่จำหน่ายออกไปแล้วก็ให้บริษัทผู้แทน จำหน่ายจัดการให้ศูนย์บริการของบริษัททุกแห่ง ทำการปรับตั้งทิศทางลำแสงไฟเสียใหม่ให้มีมุมกดต่ำเพิ่มขึ้นเมื่อเจ้าของรถนำรถเข้ารับบริการ เนื่องจากรถเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังเป็นรถใหม่และอยู่ในอายุสัญญารับประกันที่เจ้าของรถจะต้องนำรถเข้ามารับบริการตามระยะเวลา  ซึ่ง จากการใช้มาตรการดังกล่าวคาดว่า หลังจากนี้ไปอีกระยะหนึ่งปัญหา ก็น่าจะบรรเทาบางลง
  สำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น กรมการขนส่งทางบก กำลังพิจารณาเกี่ยวกับการนำเอาอุปกรณ์ควบคุมทิศทาง หรือแนวลำแสงของโคมไฟมาใช้กับรถที่ใช้ไฟซีนอน  และถึงแม้อุปกรณ์ชนิดนี้จะมีราคาสูงแต่ก็น่าจะเป็นส่งจำเป็น  เพราะการติดตั้งไฟซีนอนในรถก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าโคมไฟแบบอื่นอยู่แล้ว  และการมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อีกบ้างสำหรับผู้ที่เลือกใช้โคมไฟชนิดนี้จะได้รับความนิยมแพร่หลายแทนที่ไฟแบบ Halogen ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน  และการใช้อุปกรณ์ปรับ ควบคุมทิศทางลำแสงไฟก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และสำหรับกรณีที่มีผู้กล่าวว่า ข้อกำหนดของยุโรปกำหนดให้ติดตั้งโคมไฟหน้าได้สูงจากพื้นถนนไม่เกิน 40 ซม. นั้น น่าจะมีความเข้าใจ ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเพราะจากข้อมูลที่มีอยู่    ข้อกำหนดที่ 48 ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรป (UN/ECE R48) กำหนดให้ การติดตั้งโคมไฟแสงพุ่งต่ำ (Dipped beam) ของรถต้องสูงไม่น้อยกว่า 500 มม. และไม่เกิน 1,200 มม. ส่วนข้อกำหนดของกรมการขนส่งทาง บกกำหนดให้ต้องสูงไม่น้อยกว่า 400 มม. และไม่เกิน 1,350 มม. ส่วนค่าความส่องสว่างนั้นยุโรปมีกำหนดไว้ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สำหรับ ข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบกยังไม่กำหนดค่าความส่องสว่างไว้แต่จากการที่มาตรฐานสากลกำหนดค่าไว้สูงมากดังกล่าวที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีแนวโน้มที่จะมีรถใช้โคมไฟหน้าที่มีความส่องสว่างที่สูงเกินหรือใกล้เคียงค่าดังกล่าวจนทำให้ทางราชการต้องทำการ ควบคุม 
  อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมการขนส่งทางบกก็กำลังปรับปรุงข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของตัวรถให้มีรายละเอียดมากขึ้นและสอดคล้องกับมาตราฐานสากล คือ UN/ECE การดำเนินการนี้จะมีผลทำให้รถที่นำมาจดทะเบียนใช้งาน มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงขึ้นทัดเทียมกับ ต่างประเทศในระดับหนึ่ง
   
  จาก สารสวัสดิ์ภาพการขนส่งสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบกปีที่ 7 ฉบับที่ 49 กรกฎาคม - สิงหาคม 2544

 

หมวด บทความทั่วไป | จำนวนคนอ่าน 9143 ครั้ง | เมื่อ : 19 ม.ค. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ Trumq