phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

Eco Sticker ?

หมวด บทความทั่วไป | จำนวนคนอ่าน 2654 ครั้ง | เมื่อ : 17 ต.ค. 2560 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

     รถยนต์ในปัจจุบันและในอนาคต  ได้มีการกำหนดสิ่งต่างๆ เพื่อให้รถยนต์ที่ถูกผลิตมานั้น  เป็นไปตามมาตรฐาน  ซึ่งได้มีการกำหนดมาตรฐาน  เช่น ระดับไอเสียที่ถูกปล่อยออกมา , มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม , มาตรฐานระบบเบรก,มาตรฐานทางด้านความปลอดภัย , ข้อมูลทางด้านเทคนิค,อุปกรณ์มาตรฐานของตัวรถ,ข้อมูลผู้ผลิตเป็นต้น
ในรถยนต์ทุกคัน  จะต้องมีการติดตั้งใบรายการสินค้า  แสดงไว้ที่ตัวรถซึ่งใบที่ว่านั้นจะถูกเรียกว่า “Eco Sticker” บ่งบอกถึงสินค้าดังกล่าว(รถยนต์) ได้ผ่านมาตรฐานสิ่งใดมาบ้าง ,  มีอะไรบรรจุมาบ้าง ฯลฯ  แต่มีข้อมูลบางรายการที่ผู้ใช้รถยนต์อาจจะยังไม่เข้าใจ  ดังนั้น ในการนี้ทางผู้เขียน  จะอธิบายในส่วนหรือตรงช่องที่ระบุไว้ว่า “มาตรฐานความปลอดภัย” ได้แก่ มาตรฐานระบบเบรกและมาตรฐานการปกป้องผู้โดยสาร  ว่าสิ่งที่ระบุอยู่นั้น คือ อะไร มีที่มาอย่างไร สิ่งที่จะได้รับหรือประโยชน์ที่จะได้รับ  มีอะไรบ้างเป็นต้น ก่อนอื่น ขอกล่าวถึง ABS+ESC เป็นอันดับแรกนะครับ

คำว่า ABS (Anti-lock Braking System )
  ++  คือ ระบบห้ามล้อแบบป้องกันล้อล็อก

คำว่า ESC (Electronic Stability Control System)
  ++  คือ ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว หรือ VSC (Vehicle Stability Control) ช่วยแก้อาการหน้าดื้อหรือท้ายปัดขณะเข้าโค้งหรือเปลี่ยนเลน อันดับต่อไป มาทำความเข้าใจในส่วนต่างๆ ที่ได้กล่าวมาในตอนต้น นะครับผม

มาตรฐานความปลอดภัย
    UN  R13 (สำหรับรถกระบะ / รถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์)
    UN  R 13H (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล)

มาตรฐานการทดสอบเบรกประกอบไปด้วยการทดสอบ 7
1.การทดสอบสมรรถนะห้ามล้อ ขณะระบบเบรกเย็นเป็นการทดสอบสมรรถนะของเบรกในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จนกระทั่งหยุดนิ่ง เพื่อวัดความหน่วงและระยะทางในการหยุดรถ ในแต่ละสภาวะ ดังนี้
1.1.สภาวะปกติที่ระบบเบรกทำงานอย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วย การทดสอบรถยนต์ ที่2ระดับความเร็วได้แก่ ระดับความเร็วปกติ คือ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และระดับความเร็วสูง (ร้อยละ 80 ของความเร็วสูงสุดแต่ไม่เกิน 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
1.2. สภาวะระบบเบรกวงจรซ้ายหรือขวาไม่ทำงาน
1.3. สภาวะหม้อลมช่วยเบรกไม่ทำงาน
1.4.สภาวะระบบห้ามล้อ แบบป้องกันการล็อก ABS ไม่ทำงาน

1.5. สภาวะระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก ABS กับ EBD ไม่ทำงานทั้งนี้การทดสอบข้างต้นจะกระทำทั้งกรณีมวลบรรทุกสูงสุดและมวลรถเปล่า รวมทั้งการทดสอบในกรณีเครื่องยนต์ดับ

2.การทดสอบสมรรถนะห้ามล้อ

ขณะระบบเบรกร้อนเป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบเบรกในสภาวะที่มีความร้อนสะสม ทั้งในกรณีความร้อนสะสมสูงและความร้อนสะสมไม่สูงโดยการจำลองสถานการณ์การเบรก จำนวนหลายครั้ง อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เบรกร้อนขึ้น หลังจากนั้นจึงทดสอบการทำงานของระบบเบรกในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จนกระทั่งหยุดนิ่ง เพื่อวัดค่าความหน่วงแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน

3.การทดสอบเบรกมือ
เป็นการทดสอบความสามารถในการจอดบนพื้นเอียงที่มีระดับความชันร้อยละ 20 และระดับความชันร้อยละ 12 เพื่อวัดค่าแรงที่ใช้ในการเบรกจากมือและเท้ารวมถึงความสามารถในการหยุดรถที่ระดับความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้เบรกมือ

4.การทดสอบระบบช่วยเหลือการเบรก BA
เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบช่วยเหลือการเบรก(ระบบควบคุมแรงเบรก)

5.การทดสอบระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก ABS
เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบ ABS ซึ่งโดยหลักการแล้วประสิทธิภาพในการเบรกเมื่อระบบ ABS ทำงาน(ด้วยการจับ-ปล่อยเบรกเป็นบางช่วง) จะต้องไม่ส่งผลให้ความสามารถในการเบรกลดต่ำกว่าค่าที่กำหนด (ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75ของแรงเบรกสูงสุด) ทั้งนี้จะมีการทดสอบสมรรถนะของ ABSในการหยุดรถบนพื้นผิวที่แตกต่างกัน 5 ลักษณะดังนี้

5.1. การหยุดรถบนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูง                           5.2.การหยุดรถบนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่ำ
5.3.การหยุดรถจากพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูงไปยังพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่ำ
5.4.การหยุดรถจากพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่ำไปยังพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูง
5.5.การหยุดรถในกรณี ล้อของรถด้านหนึ่งอยู่บนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูงและล้ออีกด้านหนึ่ง อยู่บนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่ำ นอกจากนี้แล้วยังมีการทดสอบการทำงานของระบบไฟเตือนและสภาพการวิ่งของรถยนต์ในขณะเบรกในกรณีที่ระบบ ABS ไม่ทำงาน รวมทั้ง การทำงานของระบบABS ภายใต้การรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอีกด้วย

6.การทดสอบสัญญาณไฟฉุกเฉิน
เป็นการทดสอบการให้สัญญาณไฟฉุกเฉิน ซึ่งจะต้องทำงานหากมีการเบรกอย่างรุนแรง

7.การทดสอบระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์  ESC 
 เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบ ESC โดยการสร้างสถานการณ์  การหลบหลีกกะทันหันในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  ด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติ  ควบคุมการหักเลี้ยวรถยนต์ไปกลับอย่างกะทันหัน
(องศาการเลี้ยวสูงสุดที่ 270 องศา) ทั้งนี้รถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานจะต้องไม่เสียหลัก  และยังคงรักษาทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่างสมบูรณ์ หรือ มีการเบี่ยงเบนได้ไม่เกินค่าที่กำหนด มาตรฐานการปกป้องผู้โดยสาร

UN R94 ทดสอบการชนด้านหน้า การทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในเรื่องการปกป้องผู้ขับขี่ และผู้โดยสารจากการชนด้านหน้า
UN  R95 ทดสอบการชนด้านข้าง การทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในเรื่องปกป้องผู้ขับขี่  และผู้โดยสารจากการถูกชนด้านข้างมาตรฐานการชน

1.UN  R94  การชนด้านหน้า  การทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในการปกป้องผู้ขับขี่  และผู้โดยสารจากการชนด้านหน้าข้อกำหนดทางเทคนิค UN  R94  จะเป็นการทดสอบโดยรถยนต์ทดลอง ซึ่งจะมีหุ่นจำลองของผู้ขับขี่และผู้โดยสารเคลื่อนที่โดยใช้เครื่องมือฉุดลาก  ด้วยความเร็วระหว่าง 56-57 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พุ่งเข้าชนแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้  แบบเยื้องศูนย์ด้านหน้า 40% ของรถยนต์ภายหลังการชนจะมีการ

-สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร)  ได้แก่  การบาดเจ็บที่หัว , การบาดเจ็บที่คอ , การรับแรงที่หน้าอก , แรงกดที่หน้าแข้ง , การเคลื่อนตัวของข้อต่อหัวเข่า และการรับแรงที่ขา
-การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง  และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที
-การเคลื่อนที่ของพวงมาลัย  ต้องไม่สูงเกินกว่า 80 มิลลิเมตรในแนวดิ่ง และต้องไม่เคลื่อนตัวไปในข้างหลังในแนวระดับ 100 มิลลิเมตร
-ต้องเปิดประตูได้อย่างน้อยหนึ่งประตูและสามารถนำหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้
-ต้องปลดล็อกระบบ Restraint โดยใช้แรงไม่เกิน 60 นิวตัน
2. UN  R95 การชนด้านข้าง
  ข้อกำหนดทางเทคนิค UN R95 จะเป็นการทดสอบโดยนำแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้ เคลื่อนที่พุ่งเข้าชนรถยนต์ทดสอบซึ่งจอดอยู่นิ่งในแนวตั้งฉากด้านข้าง (ด้านผู้ขับขี่) ด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายหลังการชน  จะมีการทดสอบดังนี้

-สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่) ได้แก่ การบาดเจ็บที่หัว , การบาดเจ็บที่หน้าอก , แรงกดที่หน้าท้องและแรงกดที่หัวหน่าว
-การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถเกิดขึ้นได้แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที
-ต้องสามารถนำหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้
-ต้องสามารถปลดล็อกระบบป้องกันได้
-ไม่มีการเสียรูปของอุปกรณ์ภายในที่ทำให้แหลมคมและมีอัตราเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ

 

สิ่งดีๆที่ควรทราบ  นะครับผม

                                                                                                                  ฝ่ายฝึกอบรม
                                                                                                                 บริษัท พิธานพานิชย์ จำกัด (กรุงเทพฯลฯ)

หมวด บทความทั่วไป | จำนวนคนอ่าน 2654 ครั้ง | เมื่อ : 17 ต.ค. 2560 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ Trumq