phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

ภัยจากโคเลสเตอรอล( Cholesterol )

หมวด บทความทั่วไป | จำนวนคนอ่าน 7415 ครั้ง | เมื่อ : 19 ม.ค. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

ปัจจุบันนี้คนเราส่วนมากมักจะบริโภคอาหารแต่ไม่คำนึงถึงสารอาหารที่ได้รับ จะมีเพียงแต่ปริมาณที่รับประทานเข้าไปซึ่งอาจจะมีปริมาณมากบ้างน้อยบ้าง โดยหากมีโคเลสเตอรอลมากก็อาจจะทำให้เกิดปัจจัยของโรคหัวใจขาดเลือด,อัมพฤกษ์,อัมพาต ได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด,อัมพฤกษ์,อัมพาต ได้แก่
1.ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
2.ความดันโลหิตสูง
3.การสูบบุหรี่
4.โรคเบาหวาน
5.น้ำหนักมากเกินไปหรื่อโรคอ้วน
6.โรคเครียดและวิตกกังวล
7.การไม่ออกกำลังกาย
8.การขาดสารต้านอนุมูลอิสระ
9.อายุมาก(มากกว่า 35 ปีในผู้ชายและ 45 ปีในผู้หญิง)
10.ประวัติโรคหัวใจ,อัมพฤกษ์,อัมพาต ในครอบครัว

ปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญที่สุดคือ ระดับโคเลสเตอรอลหลังมื้ออาหารการกินอาหารในแต่ละมื้อจะมีไขมันปนอยู่ด้วยเสมอ ในการย่อยไขมันถุงน้ำดีจะขับน้ำดีลงมาในลำไส้ เพื่อช่วยย่อยไขมันน้ำดีจะถูกสร้างที่ตับแล้วเก็บสะสมไว้ที่ถุงน้ำดี ในน้ำดีจะมีโคเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบหลัก ในคนปกติจะมีโคเลสเตอรอลวันละ 700 มก. ถูกขับออกมาพร้อมน้ำดีลงมายังลำไส้และจะถูกดูดกลับเข้าสู่กระแสเลือด    ดังนั้น หลังอาหารทุกมื้อจะมีโคเลสเตอรอลสูงขึ้นในเลือด  ซึ่งเป็นผลเสียต่อหลอดเลือด ถ้าเราสามารถควบคุมระดับโคเลสเตอรอลหลังมื้ออาหารให้อยู่ในระดับต่ำ ก็จะสามารถป้องกันการตีบตันของหลอดเลือดแดงได้ คเลสเตอรอลและอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ,ไขมันจากสัตว์,หนังสัตว์,เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก ,ไข่แดง, เครื่องในสัตว์ ฯลฯ เราจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลและอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง หรือรับประทานให้พอเหมาะกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน

การรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
สมาคมแพทย์โรคหัวใจของอเมริกาได้สรุปเป็นคำแนะนำออกมาสำหรับประชาชนวัยผู้ใหญ่ๆทั่วไป ให้เลือกรับประทานอาหาร ให้ได้สัดส่วนตามประมาณในตารางด้านล่างนี้ ก็จะทำให้ได้สารอาหารครบถ้วนทุกหมู่ และเหมาะสมกับร่างกายซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพ

ตารางโภชนาการในการรับประทานอาหารต่อ 1 วัน

ประเภทอาหาร

ปริมาณที่พอเหมาะ

เนื้อสัตว์ทุกชนิดรวมกันที่ปรุงสุกแล้ว

ไม่เกิน 170 กรัม/วัน( 100 กรัม = 1 ขีด)

ไข่ไก่ หรือไข่ เป็ด

ไข่แดงไม่ควรรับประทานมากกว่า 4 ฟอง / สัปดาห์
ไข่ขาวรับประทานได้ไม่จำกัด ถ้าการทำงานของตับ และไตปกติ

ผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัด

ประมาณ 3 ถ้วยตวง / วัน

นม และผลิตภัณฑ์จากนมต้องเป็นชนิดไขมันต่ำ

2-4 กล่อง (กล่องละ 250 มล.)/วัน

อาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน

ถ้าเป็นข้าว ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน รวมแล้วประมาณ 3 ถ้วยตวง/วัน ถ้าเป็นขนมปังปอนด์ ประมาร 7 แผ่น / วัน

ไขมัน ถั่วเมล็ดแห้ง ขนมหวาน

เลือกที่มีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลน้อยที่สุด

การได้รับสารสเตอรอลจากพืช *1 และสารคาร์โรทีนอยด์จากธรรมชาติ *2 หลังทานอาหารที่มีไขมันจะช่วยให้สามารถควบคุม ระดับของโคเลสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในระดับต่ำอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อการป้องกันการตีบตันของหลอดเลือดแดง และสามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด,อัมพฤกษ์,อัมพาตได้และถ้าหากเราต้องการรับประทานสารอาหาร 2 ชนิดนี้ โดยไม่ต้องรับประทานพืชผักก็สามารถหารับประทานเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีขายตามท้องตลาดได้ *1 สารสเตอรอลจากพืชซึ่งได้จากน้ำมันถั่วเหลือง,น้ำมันทานตะวัน,น้ำมันข้าวโพด ฯลฯ สามารถยับยั้ง การดูดซึมของโคเลสเตอรอล ในลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะจับที่ผนังลำไส้คอยยับยั้งการดูดซึมของโคเลสเตอรอลได้นานหลายชั่วโมง *2 สารคาร์โรทีนอยด์จากธรรมชาติซึ่งได้จาก แครอท,พริกหยวก,บล็อกเคอรี่และพืชที่มีสีสดอื่นๆ จะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจาก ิธรรมชาติ ช่วยยับยั้งความเสื่อมของผนังหลอดเลือดแดงช่วยให้มีความเรียบและลื่น ทำให้โคเลสเตอรอลมาเกาะและพอกตัวได้ยาก ดังนั้นเราจึงต้องหันมาใส่ใจในการรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง และหันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้มี ร่างกายที่แข็งแรงไว้เผชิญกับความรุนแรงของโรคต่างๆได้

หมวด บทความทั่วไป | จำนวนคนอ่าน 7415 ครั้ง | เมื่อ : 19 ม.ค. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ Trumq