ระบบปัดน้ำฝน
ระบบปัดน้ำฝนประกอบด้วย มอเตอร์ปัดน้ำฝน ( Wiper Motor ) ก้านต่อปัดน้ำฝน ( Wiper Link ) แขนปัดน้ำฝน ( Wiper Arm ) และ ใบปัดน้ำฝน (Winper Blade )
1. มอเตอร์ปัดน้ำฝน (Wiper Motor)
มอเตอร์ปัดน้ำฝนแบ่งตามวิธีการสร้างสนามแม่เหล็ก ( Field Generation ) ออกเป็น 2 แบบ
- แบบขดลวด ( Wound-Rotor Type ) แบบนี้ใช้ขดลวด พันรอบแกนเหล็กสร้างสนามแม่เหล็ก
- แบบแม่เหล็กถาวร ( Ferrite Magnet Type ) แบบนี้ใช้แม่เหล็กถาวรเฟอไรต์สร้างสนามแม่เหล็กปัจจุบันมอเตอร์แบบแม่เหล็กถาวรได้ถูกพัฒนาขึ้นและมีขนาดกะทัดรัดน้ำหนักเบามอเตอร์กระแสตรงมีการใช้แม่เหล็กถาวรกันอย่างกว้างขวาง
2. ก้านต่อปัดน้ำฝน ( Wiper Link )
ก้านต่อปัดน้ำฝนมีหน้าที่เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่แบบหมุนของมอเตอร์ ปัดน้ำฝนมาเป็นการเคลื่อน ที่แบบส่ายไปมาของแกนหมุน
แขนปัดน้ำฝนแบ่งได้เป็น 2 แบบ
- แบบเส้นลวด ( Wire Type )
- แบบก้านต่อ ( Link Type )
ปัจจุบันแขนปัดน้ำฝน ที่ใช้กันทั่วไปคือ แบบก้านต่อ ( Link Type )
3. แขนปัดน้ำฝน (Wiper Arm)
แขนปัดน้ำฝน ประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้
- ส่วนหัว (Arm Head) สำหรับยึดเข้ากับแกนหมุน (Wiper Shaft)
- สปริง (Spring) สำหรับทำให้ใบปัดน้ำฝน มีแรงกดแนบสนิทกับกระจก
- ส่วนแขน (Arm Piece) สำหรับติดตั้งใบปัดน้ำฝน
- ช่วงกลาง (Retainer) สำหรับครอบส่วนประกอบทั้งหมดไว้
1. แบบธรรมดา (Ordinary Wiper) แบบนี้ไม่เก็บทั้งใบปัดน้ำฝนและแขนปัดน้ำฝน
2. แบบกึ่งเก็บซ่อนตัว (Semi Concealed Wiper) แบบนี้เก็บซ่อนเฉพาะแขนปัดน้ำฝนเท่านั้น
3. แบบเก็บซ่อนตัวเก็บทั้งหมด (Full Concealed Wiper) แบบนี้เก็บซ่อนตัว ทั้งใบปัดน้ำฝนและแขนปัดน้ำ
4. ใบปัดน้ำฝน (Wiper Blade)
ใบปัดน้ำฝน ประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้
- แผ่นยาง (Rubber Blade) สำหรับกวาดผิวหน้ากระจก
- ชุดสปริงแผ่นหรือ แหนบ (Leaf Spring Packing) สำหรับกดให้แผ่นยางแนบสนิทกับผิวหน้ากระจก
- ก้านใบ (Levers) สำหรับยืดและติดตั้งแผ่นยาง
- ตัวล็อก (Clips) สำหรับการติดตั้งใบปัดน้ำฝนกับแขนปัดน้ำฝน
การติดตั้งใบปัดน้ำฝนเข้ากับแขนปัดน้ำฝนอาจ แบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ
1. วิธียึดด้วยบานพับตรงกลาง (Center Hinge Type) แบ่งเป็น 2 แบบ
1.1 แบบง่าม (Bayonet Type)
1.2 แบบตัวล็อกอยู่ภายใน (Interlock Type)
2. วิธียึดจับด้านข้าง (Side Latch Type) แบ่งเป็น 2 แบบ
1.1 แบบสลัก (Pin Type)
1.2 แบบสกรู (Screw Type)
ในปัจจุบันแบบยึดจับด้านข้างด้วยสกรู นิยมใช้กันโดยทั่วไปเนื่องจากใบปัดต่ำลงและใบปัดยึดกับ
แขนใบปัดได้แน่นยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนบังลมหน้า
ถอดใบปัดน้ำฝน
1. สำรวจเขี้ยวล็อก ด้านปลายแขนใบปัดด้านหนึ่ง จะล็อกยางใบปัดไว้
2. บีบยางบริเวณเขี้ยวที่ล็อกใบปัด เพื่อหลบเขี้ยวล็อก ให้ยางหลุดออกมา
3. ดึงยางใบปัดออกจากช่องโครงใบปัด
ประกอบใบปัดอันใหม่
1.ประกอบยางอันใหม่สอดด้านปลายเข้าช่องโครงใบปัดด้านที่ล็อกใบปัด ดันยางเข้าไปตามช่องในโครงใบปัด
2.จนกระทั่งยางใบปัดทั้งหมดเข้าอยู่ในช่องโครง บีบยางด้านปลายใบปัดเพื่อให้เขี้ยวล็อกยางใบปัดในตำแหน่งเดิม
สำคัญ !
- ก้านปัดน้ำฝนที่อยู่ด้านหน้าทางเบาะคนขับ มีรูปร่างแตกต่างไปจากก้านปัดน้ำฝนทางด้านเบาะคนนั่ง จากเหตุผลอันนี้ ก้านปัดน้ำฝนมีเครื่องหมาย (D สำหรับด้านเบาะคนขับ และ P ด้านเบาะคนนั่ง แน่ใจว่าได้ประกอบก้านปัดน้ำฝนทางด้านที่ถูกต้องแล้ว)
- อย่าดันก้านปัดน้ำฝนลงเมื่อถอดใบปัดออก มันจะทำความเสียหายกับกระจกบังลมหน้า
น้ำยาล้างกระจก
น้ำยาล้างกระจกเป็นของเหลวที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบหลัก นำมาผสมกับน้ำ สารทำละลายและสารป้องกันสนิมสำหรับใช้ทำความสะอาดกระจกบังลม น้ำยาล้างกระจกจะมีคุณสมบัติที่ไม่เกิดการกัดกร่อนยางหรือสี แต่จะชำระล้างสิ่งสกปรกและคราบน้ำมันโดยการทำงานของใบปัด
อะไรเป็นสาเหตุให้ยางใบปัดน้ำฝนเสื่อมสภาพ ?
ใบปัดน้ำฝนเสื่อมสภาพเนื่องจากสาเหตุเล่านี้และไม่สามารถมองเห็นทัศนวิสัยระยะไกลได้ผิวสัมผัสส่วนปลายมีการสึกหรอจากการทำงานตามปกติของใบปัดเนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะหลบเลี่ยงสิ่งสกปรกและผงทรายละเอียดที่อยู่ระหว่างยางใบปัดกับกระจกได้จึงเกิดความเสียหายขึ้นโดยใบปัดน้ำฝน
จะปัดเป็นเส้น ๆ เมื่อใบปัดน้ำฝนผ่านการใช้งานนาน ๆ ยางใบปัดน้ำฝนจะแข็งตัว การยืดหยุ่นตัวจะลดลงและความบกพร่องในการปัดจะเกิดขึ้นเนื่องจากหน้าสัมผัสระหว่างยางใบปัดกับกระจกไม่ดีรวมทั้งอาจเกิดจากใบปัดน้ำฝนเกิดอาการสั่นเต้น หรือ อาการอื่น ๆ
ใบปัดน้ำฝนจะใช้งานได้นานเท่าไร ?
เป็นการยากที่จะเจาะจงระยะเวลาสำหรับการเปลี่ยนใบปัดน้ำฝน การเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนสามารถทำได้เนื่องจากราคาค่องข้างถูก ดังนั้นควรจะเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนปีละครั้งตามระยะเวลาในการตรวจสอบตามระยะ
ข้อแนะนำ
- การที่จะทำให้ใบปัดน้ำฝนมีอายุใช้งานนาน ๆ นั้น ใบปัดน้ำฝนควรทำงานหลังจากใช้น้ำฉีดล้างพวกเศษผงทรายและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่ผิวกระจกแม้ว่าฝนจะเริ่มตกแล้วก็ตาม
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อคราบน้ำมันเกาะติดอยู่ที่กระจกด้วยเหตุนี้ควรใช้อะไรในการทำความสะอาด ?
เมื่อคราบน้ำมันเกาะติดกับกระจกหยดน้ำและคราบน้ำบนกระจกจะไม่สม่ำเสมอและการสะท้อนของแสงไม่สม่ำเสมอด้วยซึ่งเป็น สาเหตุของการหักเหของแสงนอกจากนี้ยังอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเต้นสั่นของใบปัดน้ำฝนสารประกอบของน้ำยาล้างกระจกจะถูกใช้เพื่อทำให้คราบน้ำมันหลุดออกได้ง่ายโดยน้ำยาจะดูดซึมคราบน้ำมันเพราะฉะนั้นเมื่อน้ำยาล้างกระจกถูกใช้ในขณะเดียวกัน กับที่ปัดน้ำฝนทำงานคราบน้ำมันก็จะถูกปัดออกไป อย่างไรก็ตามเมื่อคราบน้ำมันที่ติดอยู่กับกระจกมีปริมาณมากก็จำเป็นต้องใช้น้ำยาเช็ดกระจกในการทำความสะอาด
ชัดเจนทุกสภาวะอากาศ ขึ้นอยู่กับใบปัดน้ำฝน ?
หน้าที่ใบปัดน้ำฝน มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการมองเห็นภายใต้สภาวะอากาศต่าง ๆ เช่น ฝนตก เป็นต้น ใบปัดน้ำฝนประกอบด้วยมอเตอร์ (motor) ตัวเชื่อม (link) แขน (arm) และยางปัด (blades) ยางปัดจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระจกด้านหน้าในการปัดน้ำฝนและฝุ่น
คุณสมบัติที่ดีของใบปัดน้ำฝน ?
1. ทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพ หน้าสัมผัสของยางปัดน้ำฝนระหว่างปลายของยางปัดกับผิวกระจกควรจะประมาณ 0.01-0.05 มม.
2. มีความทนทานและทนความร้อน (Durabillty and Heat Resistance) ยางปัดต้องทำจากยางคุณภาพสูงสามารถทนต่อแสงแดดรังสีอัลตราไวโอเลต โอโซน และ ไอเสีย
3. ทนต่อสารเคมี (Chemical Resistance) ใบปัดต้องทนต่อสารเมททานอล (Methanal) และสารละลายอื่น ๆ ที่ใช้ในการล้าง
4. ทนต่อการทำงานของสารเคมี (Anti-Corrosion) ใบปัดต้องมีการป้องกันสนิมและไม่เป็นตัวนำ เพื่อที่จะป้องกันใบปัดจากสารซัลไฟต์ในอากาศ
5. มีความมั่นคง (Stability) ใบปัดต้องมั่นคง และไม่ยกขึ้นเมื่อความเร็วสูงขึ้น
ควรเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนทันที ?
ควรเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนทันทีเมื่อเกิดอาการดังต่อไปนี้
1. เมื่อใบปัดปัดแล้วเกิดเส้นเป็นจำนวนมากหรือเป็นรอยมัว
2. เมื่อใบปัดปัดแล้วเกิดรอยเปื้อนขนาดใหญ่
3. เมื่อใบปัดปัดแล้วยางสัมผัสไม่ดีกับผิวหน้ากระจก