รถยนต์ที่ถูกผลิตขึ้นในปัจจุบันทุกคัน ได้บรรจุระบบเบรกมือมาในรถยนต์ทุกคัน เพื่อสำหรับการจอดรถมิให้เคลื่อนที่ เงื่อนไขของการทำงานนั้น จะถูกระบุอยู่ในรถยนต์รุ่นนั้นๆ ไม่ว่าเบรกมือจะเป็นแบบดึงจากบริเวณคอนโซลหน้า , บริเวณคอนโซลกลาง , หรือเบรกมือประเภทเท้าเหยียบก็ตาม
หลายท่านมีความคุ้นเคยกับการใช้เบรกมือเพราะความเคยชินเป็นประจำ แต่ก็มีบางท่านที่ไม่เคยใช้งานเลยก็มี ซึ่งส่วนใหญ่ที่เป็นลักษณะเช่นนี้เพราะรถยนต์ที่ใช้อยู่เป็นเกียร์อัตโนมัติ , ในการจอดรถในแต่ละครั้งมีการจอดที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เป็นต้น เพราะพวกเขาเหล่านั้นจะเข้าเกียร์ในตำแหน่ง p นั่นเอง การเข้าเกียร์ในตำแหน่งดังกล่าวจะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ จะมีการล็อกอยู่ภายในเกียร์
เบรกมือจะมีการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประเด็น เช่น
- ระยะของเบรกมือจะต้องไม่สูงหรือต่ำเกินไป
- ผ้าเบรกของชุดเบรกมือจะต้องไม่บางเกินไป
- ผ้าเบรกของชุดเบรกมือจะต้องไม่ลื่น
- ผ้าเบรกของชุดเบรกมือจะต้องมีการจับได้เต็มหน้าสัมผัส
- จะต้องมีการตรวจสอบ ทำความสะอาด การปรับตั้ง การหล่อลื่นชุดเบรกมือตามกำหนด
- อื่นๆ
ดังนั้น ก็เท่ากับว่า จะต้องมีการบำรุงรักษาชุดเบรกมือ เหมือนกับชิ้นส่วนอื่นๆของรถยนต์เช่นกัน ไม่ควรละเลย แต่สิ่งที่จะกล่าวตามหัวข้อเรื่องนั้น ในเรื่องของ “ชุดเบรกมือเปียกน้ำ” การที่ชุดเบรกมือเปียกน้ำแล้วมีการดึงไว้บวกกับมีการจอดเป็นระยะเวลาที่นาน อาจจะพบกับปัญหาที่ว่า “ปลดเบรกมือไม่ลงหรือปลดเบรกมือไม่ได้” ไม่ว่ารถยนต์ของท่านจะเป็นแบบดีสเบรกหรือดรัมเบรก ก็มีโอกาสเป็นไปได้ทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนี้จะไม่สามารถเคลื่อนที่รถยนต์ได้ การแก้ปัญหาเบื้องต้นอาจมองว่า ใช้วิธีออกตัวอย่างรุนแรงก็อาจจะหลุดได้ ถ้าชุดเบรกมือนั้นไม่แน่นพอ แต่ถ้ากระทำแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ อันนี้ต้องพึ่งช่าง เพราะจะต้องมีการถอดล้อเกิดขึ้น จะได้ตรวจสอบส่วนอื่นว่ามีอะไรเสียหายบ้างไปในคราวเดียวกันนั่นเอง
อนึ่ง...กรณีที่น้ำท่วมหรือจอดรถแช่น้ำถึงระดับชุดเบรกมือเป็นเวลานาน ( ส่วนใหญ่จะรวมอยู่ในชุดเบรก ) ไม่ควรดึงเบรกมือเพราะโอกาสที่จะมีการติดนั้นสูงมากๆ ถ้าเป็นเกียร์ธรรมดาเมื่อดับเครื่องยนต์แล้วให้เข้าเกียร์ตำแหน่งใดๆก็ได้ยกเว้นเกียร์ว่าง แทนการดึงเบรกมือ ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติก็ให้เข้าเกียร์ p ครับ ทางผู้เขียนเชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกท่าน สามารถกระทำได้เป็นอย่างดีครับผม