phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

ศูนย์ล้อรถยนต์

หมวด ข้อมูล-ความรู้ทางเทคนิค | จำนวนคนอ่าน 68497 ครั้ง | เมื่อ : 15 พ.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

มุมล้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ล้อมีดังนี้
      
1. มุมแคมเบอร์
      2. มุมเอียงแกนบังคับเลี้ยว (คิงพิน)
      3. มุมแคสเตอร์
      4. มุมโท
      5. มุมเลี้ยว

มุมแคมเบอร์
      มุมล้อหน้าของรถยนต์ส่วนบนที่เอียงออกหรือเอียงเข้า (มองจากทิศทางจากทางด้านหน้า) มุมนี้เรียกว่า "มุมแคมเบอร์" ถ้าล้อทำมุมเอียงออกจากแนวตั้ง โดยส่วนบนเอียงออกด้านนอกเรียกว่า"มุมแคมเบอร์บวก" แต่ถ้ามุมเอียงเข้าในแนวแกนตั้ง เรียกว่า "มุมแคมเบอร์ลบ" ดูได้จากรูปด้านล่าง

 

มุมเอียงแกนบังคับเลี้ยว (คิงพิน)

     แกนรอบ ๆ ซึ่งล้อหมุนขณะหันไปทางซ้ายหรือทางขวา เรียกว่า แกนบังคับเลี้ยว แนวแกนนี้หาได้จากการลากเส้นระหว่างส่วนบนของโช๊คอัพ และ ลูกหมากปีกนกตัวล่าง เส้นนี้เอียงเข้าด้านใน จากภาพที่มาจากด้านหน้ารถยนต์ เรียกว่า มุมเอียงแกนบังคับเลี้ยวหรือมุมคิงพิน ส่วนเส้นแบ่งกึ่งกลางของแกนบังคับเลี้ยวกับเส้นแนวกลางล้อที่พื้น เรียกว่า ระยะเยื้องศูนย์ ระยะเยื้องศูนย์น้อยกว่าช่วยลดแรงหมุนพวงมาลัย และแรงสั่นสะเทือนในการ เบรก มุมเอียงแกนบังคับเลี้ยวช่วยให้มีการคืนกลับของพวงมาลัยในตำแหน่งตรงเหมือนเดิม

 

 

 

มุมแคสเตอร์

       เส้นผ่าศูนย์กลางของแนวแกนบังคับเลี้ยว ซึ่งดูได้จากรูปด้านข้างเป็นปกติเอียงจากเส้นตั้ง มุมที่เกิดจากเส้นนี้และเส้นที่ลากเป็นแนวตั้งฉากกับพื้น เรียกว่ามุมแคสเตอร์ ถ้ามุมนี้เอียงออกทางด้านหลังจากเส้นแนวตั้งฉาก เรียกว่ามุมแคสเตอร์บวก ในขณะที่ถ้าเอียงออกทางด้านหน้าจะเรียกว่า มุมแคสเตอร์ลบตามปกติจะใช้มุมแคสเตอร์บวก เพราะว่า มันให้ความเชื่อมั่นสูงสุดต่อทั้งความมั่นคงในการขับขี่
ไปข้างหน้า และรวมถึงการหมุนล้อกลับคืนมาในแนวตรงภายหลังจากการเลี้ยว ขณะขับเคลื่อนไปด้านหน้า
      ระยะจากเส้นกึ่งกลางแกนบังคับเลี้ยวกับเส้นตั้งฉากกึ่งกลางของยางตรงจุดสัมผัสกับถนนเรียกว่าระยะตาม มุมแคสเตอร์เป็นบวกมากระยะตามก็จะมาก ช่วยในการคืนพวงมาลัย ให้ง่ายขึ้น แต่ก็จะต้องเพิ่มแรงในการหมุนเลี้ยวพวงมาลัยมากขึ้นด้วยมุมแคสเตอร์เป็นลบ มีผลให้ความต้านทานการบังคับเลี้ยวจะน้อยลง แต่จะเป็นผลให้ความมั่นคงในการขับขี่ และการควบคุมการบังคับเลี้ยวเป็นไปยากขึ้น

มุมโท (โทอินและโทเอาท์)

     เมื่อด้านหน้าของล้อหันเข้าหากันมากกว่าด้านหลังของล้อ(จากรูป) อันนี้เรียกว่า โท-อิน ในทางตรงกันข้ามเรียกว่า โท-เอาท์ เมื่อล้อด้านหน้าเป็นมุมแคมเบอร์บวก ส่วนบนของล้อจะเอียงออกด้านนอก เป็นเหตุให้มันพยายามจะกลิ้งออกทางด้านนอกเมื่อรถวิ่งไปข้างหน้า และเป็นไซด์-สลิป*ขึ้น อันนี้ทำให้ยางสึกหรอมาก เพราะฉะนั้น มุมโท-อิน จึงจัดไว้ที่ล้อด้านหน้าเพื่อป้องกันจุดนี้ โดยหยุดการกลิ้งออกของล้อ เนื่องจาก มุมแคมเบอร์บวก

 


        * คำว่า ไซด์-สลิป หมายถึง ระยะรวมซึ่งยางด้านขวาและซ้ายลื่นออกด้านข้างขณะที่รถยนต์เคลื่อนที่
มุมเลี้ยว
       ถ้าล้อด้านหน้าขวาและซ้ายเลี้ยวเป็นมุมที่เท่ากัน คือ ทั้งสองล้อ จะมีรัศมีวงเลี้ยวเท่ากัน (r1=r2) ทำให้แต่ล้อแต่ละข้างหมุนรอบจุดศูนย์กลางต่างกัน(O1และ O2) เมื่อเป็นเช่นนี้การเลี้ยวโค้งที่ราบเรียบจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากการลื่นออกข้างของยาง เพื่อป้องกันปัญหานี้ แขนบังคับเลี้ยวและคันส่ง จึงได้จัดไว้ให้ล้อกางออก เมื่อเลี้ยวโค้ง ล้อด้านใน จะมีมุมเลี้ยวมากกว่าล้อด้านนอก เพื่อให้มีจุดศูนย์กลางของรัศมีวงเลี้ยวอันเดียวกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "หลักการของเอคเคอร์แมน"

รูปภาพด้านล่าง คือ การเลี้ยวที่รอบจุดศูนย์กลางที่แตกต่างกัน

 

 

 

 

 

หมวด ข้อมูล-ความรู้ทางเทคนิค | จำนวนคนอ่าน 68497 ครั้ง | เมื่อ : 15 พ.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

    แสดงความคิดเห็น (4)

  • ความเห็นที่ 1
  • อยากทราบปัญหาและประโยขน์ของมุมล้อต่างๆครับว่าสำคัญอย่างไร และรูปด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
  • จาก : จตุเมธ
  • เมื่อ : 2010-01-28 11:00:07
  • ความเห็นที่ 2
  • ดีมากเลยครับป้ม
  • จาก : ฟิล์ม
  • เมื่อ : 2010-02-01 14:54:33
  • ความเห็นที่ 3
  • อยากให้บอกวิธีแก้ไขมุมล้อทุกมุม
  • จาก : วาส
  • เมื่อ : 2010-06-27 00:27:21
  • ความเห็นที่ 4
  • ดีครับ..แต่ว่าน้องไปหน่อย อยากทราบแบบละเอียดเลยครับ
  • จาก : harry
  • เมื่อ : 2010-07-26 16:52:01

เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ Trumq