phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

แบบของระบบรองรับและคุณสมบัติ

หมวด ข้อมูล-ความรู้ทางเทคนิค | จำนวนคนอ่าน 204969 ครั้ง | เมื่อ : 15 พ.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

ระบบรองรับสามารถแบ่งออกอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 แบบ ตามลักษณะของโครงสร้าง
        - ระบบรองรับแบบคานแข็ง
        - ระบบรองรับแบบอิสระซึ่งล้อด้านซ้ายและด้านขวาเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระของแต่ละด้าน

 

 

ระบบรองรับแบบคานแข็ง
        ในรถยนต์ที่ใช้ระบบรองรับคานแข็ง ล้อด้านซ้ายและด้านขวาต่อกันอยู่ด้วยเพลาอันเดียว ซึ่งมันติดอยู่กับตัวถังและโครงรถด้วยสปริง (แหนบหรือคอยส์สปริง) เนื่องจากเป็นระบบที่มีความแข็งแรงมากและมีโครงสร้างแบบง่าย ๆ ระบบรองรับแบบคานแข็งจึงใช้กันอย่างกว้างขวางที่ล้อด้านหน้าและด้านหลังของรถโดยสารและรถบรรทุก และกับล้อหลังของรถยนต์นั่ง

 

 

ระบบรองรับแบบอิสระ
       
 ในรถยนต์ที่ใช้ระบบรองรับอิสระ ล้อด้านขวาและด้านซ้ายจะไม่ต่อกันโดยตรงโดยเพลาระบบรองรับจะติดอยู่กับตัวถังและโครงรถในลักษณะที่ล้อทั้งสองสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ระบบรองรับแบบอิสระไม่นิยมใชักับรถยนต์นั่งหรือรถบรรทุกขนาดเล็ก ในขณะเดียวกันก็มีใช้กับล้อหลังของรถยนต์นั่งเป็นจำนวนมาก ระบบรองรับแบบอิสระนี้ จะมีส่วนประกอบซับซ้อนกว่าระบบรองรับแบบ
คานแข็ง จะทำให้ความนิ่มนวลในการขับขี่มากกว่า แต่จะด้อยกว่าในเรื่องของการทรงตัว

 

 

ระบบรองรับหน้าแบบอิสระ
       โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ แบบแมคเฟอร์สันสตรัท และแบบปีกนกคู่แบบแมคเฟอร์สันสตรัท   ระบบรองรับแบบแมคเฟอร์สันสตรัทนี้ใช้กันอย่างกว้างขวางเป็นส่วนมาก สำหรับระบบรองรับหน้าของรถยนต์ขนาดเล็กและขนาดกลาง
        ระบบรองรับแบบแมคเฟอร์สันสตรัท ประกอบไปด้วย ปีกนกล่าง เหล็กหนวดกุ้ง เหล็กกันโคลง และชุดสตรัท

        - ด้านหนึ่งของปีกนกล่างติดอยู่กับคานหน้าด้วยบูชยางและสามารถเคลื่อนได้อิสระขึ้นและลงปลายอีกด้านหนึ่งยึดกับแกนบังคับเลี้ยวด้วยลูกหมาก

 

 

         - เหล็กหนวดกุ้งทำหน้าที่ต้านทานแรงที่กระทำจากล้อในทิศทางแนวตามยาว ปลายข้างหนึ่งติดแน่นอยู่กับปีกนกล่าง และปลายอีกด้านหนึ่งอยู่กับที่ยึดเหล็กหนวดกุ้ง พร้อมกับยางรองเชื่อมอยู่กับคานหน้า
         - เหล็กกันโคลงช่วยรักษาระดับของรถยนต์ขณะเลี้ยวทำมุมและให้คุณสมบัติในการยึดเกาะถนนปลายทั้งสองของมันติดอยู่กับปีกนกตัวล่างพร้อมบู๊ชยาง และแขนต่อและที่จุดตรงกลางทั้งสองติดอยู่กับตัวถัง พร้อมกับบู๊ซยาง
         - คอลย์สปริงติดตั้งอยู่บนชุดสตรัท และช้อคแอบชอร์บเบอร์ก็ประกอบอยู่ในชุดสตรัทด้วย

 

 

         ปีกนกล่างรูปตัวแอลของแบบแมคฟอร์สันสตรัท
         ปีกนกล่างมีอยู่หลายแบบที่สร้างมาเพื่อใช้ยึดล้อ และตัวถังรถยนต์ ในรถยนต์ที่เครื่องอยู่หน้า ขับล้อหน้าบางรุ่นจะใช้ปีกนกล่างรูปตัวแอล ปีกนกล่างรูปตัวแอลนี้ติดตั้งอยู่ กับตัวถังสองจุดพร้อมบู๊ชยางและอีกด้านหนึ่งติดอยู่กับแกนบังคับเลี้ยวด้วยลูกหมาก
         ปีกนกแบบนี้สามารถต้านได้ทั้งแรงด้านข้าง และแรงตามแนว ยาว ดังนั้นมันจึงไม่จำเป็นต้องใช้เหล็กหนวดกุ้ง

 

 

          แบบปีกนกคู่พร้อมคอยล์สปริง
          ระบบนี้มีใช้กันอย่างกว้างขวางกับระบบรองรับหน้าของรถยนต์นั่งและรถบรรทุกเล็กช้อคแอบชอร์บเบอร์ และคอยล์วปริงติดตั้งอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมของปีกนกทั้งสอง ด้านหนึ่งของปีกนกทั้งคู่ติดอยู่กับตัวถัง หรือโครงรถด้วยบู๊ชยาง และปลายอีกด้านหนึ่งติดอยู่กับแกนบังคับเลี้ยวด้วยลูกหมากปลายด้านบนของช้อคแอบชอร์บเบอร์ติดอยู่กับตังถัง หรือแน่นอยู่ระหว่างปีกนกตัวล่าง และตัวถัง หรือโครงรถ

 

 

         สำหรับรถบรรทุกเล็กส่วนมากจะไม่ใช้คอยล์สปริงแต่จะใช้แท่งทอร์ชั่นบาร์ติดอยู่กับปีกนกบน หรือปีกนกล่างแทน
         ด้านหน้าของแท่งทอร์ชั่นบาร์จะเสียบอยู่ที่แขนแรงบิดของปีกนกบน และด้านหลังของทอร์ชั่นบาร์ติดอยู่ภายในแขนติดตั้งซึ่งอยู่ที่คานขวางด้วยโบลท์ปรับแขนติดตั้ง เราสามารถปรับตั้งความสูงของรถยนต์โดยใช้โบลท์นี้ร่องสไปร์ด้านหน้า และ ด้านหลังแต่ละข้างจะมียางครอบไว้เพื่อป้องกันโคลน และน้ำ ฯลฯ

 

 

แบบแหนบคู่ขนาน
         ระบบรองรับแบบนี้ใช้ในระบบรองรับหน้า และหลังของรถบรรทุกรถโดยสาร ฯลฯ
         ตามรูปที่แสดงอยู่ด้านล่างเป็นระบบรองรับหน้าของรถบรรทุกแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ กึ่งกลางของแหนบแต่ละข้างติดอยู่กับเสื้อเพลาหน้าด้วยยูโบลท์

 

 

          ระบบรองรับที่แสดงในรูปด้านล่าง เป็นที่ใช้กันโดยทั่วไปกับระบบรองรับหน้าของรถบรรทุกขับเคลื่อนล้อหลังแหนบจะติดแน่นอยู่กับเพลาหน้า (ซึ่งเป็น ไอ-บีม) ด้วยยูโบลท์

 

 

ระบบรองรับหลัง
          ระบบรองรับหลังต้องสามารถรับน้ำหนักพิเศษส่วนมากของผู้นั่ง และน้ำหนักบรรทุกได้ ถ้าสปริงรองรับทำแข็งหรือแน่นพอที่จะรองรับน้ำหนัก มันจะแข็งมากเมื่อมีคนขับเพียงคนเดียว อย่างไรก็ตามถ้าสร้างให้อ่อนพอเมื่อมีคนขับเพียงคนเดียวมันจะอ่อนมากไปเมื่อรถคันนั้นน้ำหนักเต็มที่ ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ โดยการใช้สปริงแหนบ
          ระบบรองรับหลังได้ออกแบบมาเพื่อให้รักษาตำแหน่งของเพลาอยู่อย่างปกติ ขณะเมื่อล้อขึ้นลงโดยไม่กระทบกระเทือนกับผลขอลการบังคบเลี้ยวของล้อหน้า

 

 

 

          โดยทั่วไป ปลายด้านหน้าของแหนบแต่ละข้าง จะติดตั้งอยู่กับที่ยึดแหนบซึ่งยึดติดอยู่กับตัวถังหรือแชสซัสด้วยบู๊ชยางปลายด้านหลังของแหนบติดตั้งอยู่กับด้วยหูแขวนดังแสดงอยู่ด้านล่าง เมื่อแหนบยึดตัวหรือหดตัว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก จะทำให้ความยาวของแหนบเปลี่ยนไปหูแขวนนี้จะทำหน้าที่ทดแทนการเปลี่ยนแปลงนี้ได้

 

 

แบบ 4 แขนต่อ
        ระบบรองรับแบบนี้เป็นระบบรองรับแบบคานแข็งชนิดหนึ่งซึ่งจะให้ความสะดวกสบายในการขับขี่ได้มากที่สุด เนื่องจากการควบคุมตำแหน่งของเพลา และการรองรับภาระแยกจากกันโดยปกติจะใช้สปริงขดเป็นตัวรองรับน้ำหนัก
        หน้าที่ในการยึดตำแหน่งของเพลากระทำโดยแขนควบคุมตัวล่าง2 ตัว แขนควบคุมตัวบน 2 ตัวและแขนควบคุมแนวขวางอีก 1 ตัว สำหรับการรองรับภาระและการดูดชับการสั่นสะเทือนจากถนนจะใช้สปริงเป็นตัวรองรับ
        การต้านแรงปฏิกิริยาจากการขับเคลื่อนและการเบรค (ซึ่งกระทำในทิศทางตามความยาวของรถ)ถูกควบคุมโดยแขนควบคุมตัวล่างและตัวบน ส่วนการต้านแรงในแนวขวางจะถูกควบคุมโดยแขนควบคุมแนวขวาง
        ปลายด้านหนึ่งของแขนควบคุมแต่ละข้าง หรือปลายด้านหนึ่งของแขนควบคุมแนวขวางจะยึดติดกับตัวถังหรือโครงรถส่วนปลายอีกด้านหนึ่งจะติดยึดกับเสื้อเพลาท้ายโดยบู๊ชยาง
       สปริงขดจะติดตั้งอยู่ในระหว่างแขนควบคุมตัวล่างหรือเสื้อเพลาท้ายกับตัวถัง

 

 

ระบบรองรับแบบกึ่งแขนลาก
       นี่คือระบบรองรับแบบอิสระซึ่งถูกออกแบบมา เพื่อความแข็งแรงในการรับภาระในแนวขวางและให้มีการเปลี่ยนแปลงศูนย์ล้อ (โท-อิน ความกว้าง และมุมแคมเบอร์) ซึ่งเกิดเนื่องจากการเคลื่อนที่ขึ้นลงของล้อน้อยที่สุดโดยปกติโครงสร้างเป็นแบบง่าย ๆ และใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยดังนั้นจึงมักใช้กับระบบรองรับหลังของรถยนต์นั่ง
       แนวแกนการเหวี่ยงตัวของปีกนกอยู่ทางด้านหน้าของล้อและตัวปีกนกถูกติดตั้งเข้ากับคานระบบรองรับด้วยบู๊ช ดังนั้นแนวแกนของมันจึงทำมุมกับเส้นผ่าศูนย์กลางตามความยาวของรถยนต์

 

ระบบรองรับแบบปีกนกคู่
       ระบบรองรับอิสระแบบนี้ใช้กับระบบรองรับหลังของรถยนต์นั่งขับเคลื่อนล้อหลัง
       โครงสร้าง
       ล้อแต่ละข้างติดตั้งอยู่ด้วยแขนรองรับ 3 แขน (แขนรองรับบน 1 แขน และแขนรองรับล่าง 2 แขน)ในแนวตั้งฉากกับเส้นผ่าศูนย์กลางตามความยาวของรถยนต์ และแขนสตรัทขยายออกไปตามแนวเส้นผ่าศูนย์กลาง ปลายอีกด้านหนึ่งอยู่กับที่รองรับเพลาด้วยลูกหมาก
       ปลายด้านหนึ่งของแขนรองรับล่างแต่ละข้างติดอยู่กับคานรองรับด้วยบู๊ช ส่วนปลายอีกสองด้านแขนเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ติดอยู่กับที่รองรับเพลาด้วยลูกหมากและบู๊ชตามลำดับแขนสตรัทรับแรงจากแนวยาวของรถยนต์ปลายด้านหนึ่งติดอยู่กับคานรองรับด้วยบู๊ช และอีกด้านหนึ่งอยู่กับที่รองรับเพลาด้วยบู๊ชอยู่ที่ตัวรองรับเพลาด้วยบู๊ช
       คอยล์สปริงและช้อคแอบชอร์บเบอร์อยู่ร่วมกัน ด้านล่างติดขณะเมื่อส่วนบนของมันติดอยู่กับโครงสร้างของรถพร้อมด้วยตัวรองรับบน ปลายทั้งสองของเหล็กกันโคลงติดอยู่ที่แขนรองรับเบอร์ 2 แต่ละด้านด้วยก้านต่อและลูกหมาก ตรงส่วนกลางของกันโคลงติดอยู่กับคานรองรับ 2 จุด พร้อมกับบู๊ช

 

 

ระบบรองรับแบบสตรัทปีกนกคู่
       
ระบบรองรับแบบนี้ใช้กับรถยนต์ เครื่องยนต์อยู่หน้าและขับเคลื่อนล้อหน้า และเป็นระบบรองรับแบบค้ำยันแบบหนึ่ง
        ล้อรถรองรับไว้ด้วยปีกนกคู่ ซึ่งอยู่ในแนวตั้งฉากกับเส้นผ่าศูนย์กลางตามความยาวของตัวรถพร้อมด้วยแกนค้ำยันในแนวขนานกับเส้นผ่าศูนย์กลาง ภาระจากการเคลื่อนที่ขึ้นลงของล้อรถในแนวตามยาว แนวขวางและแนวตั้ง ต่างถูกรองรับโดยส่วนประกอบที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงสามารถออกแบบส่วนประกอบแต่ละชิ้นให้เหมาะสมกับรถยนต์ได้มากที่สุด สมรรถนะในการบังคับควบคุมรถ และความสะดวกสบายในการขับขี่ที่เหนือชั้น จึงสามารถทำให้เป็นจริงขึ้นมากได้ด้วยระบบรองรับแบบนี้

 

 ระบบรองรับแบบแขนลากพร้อมด้วยคานบิด

        นี่เป็นระบบรองรับแบบเพลาแข็ง ซึ่งใช้กับระบบรองรับหลังของรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าขนาดเล็ก

 

  โครงสร้าง ปลายด้านหลังของปีกนกจะถูกเชื่อมติดกับคานเพลา ซึ่งเป็นเรือนของเหล็กกันโคลง ปลายทั้ง 2 ของเหล็กกันโคลงต่างถูกเชื่อมติดกับคานเพลาเดียวกัน

 

 

        เมื่อล้อรถสองข้างกระแทกและกระดอนในทิศทางตรงกันข้ามการเคลื่อนไหวในการบิดตัวของปลายปีกนกจะถูกถ่ายทอดไปเป็นการบิดตัวของคานเพลาหลัง เหล็กกันโคลงซึ่งติดตั้งอยู่ภายในและปีกนกหลังการบิดของคานเพลาหลังและเหล็ก กันโคลงจะทำให้เกิดแรงปฏิกิริยา ในทิศทางตรงกันข้ามกับการบิดตัวของปีกนก เป็นการช่วยให้เกิดแรงต้านการโคลงตัว เพื่อให้ตัวถังรถมีการโคลงตัวน้อยที่สุด ดังนั้นจึงทำให้มีเสถียรภาพในการบังคับเลี้ยวมากขึ้น

 

 

ขอบคุณภาพ

siaminside.com

หมวด ข้อมูล-ความรู้ทางเทคนิค | จำนวนคนอ่าน 204969 ครั้ง | เมื่อ : 15 พ.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

COASTER ราคาเริ่มต้น 1,960,000 บาท