phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

ไฟฟ้าเครื่องยนต์

หมวด ข้อมูล-ความรู้ทางเทคนิค | จำนวนคนอ่าน 85579 ครั้ง | เมื่อ : 15 พ.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

         ไฟฟ้าเครื่องยนต์ หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์เท่านั้น ซึ่งใช้เพื่อการสตาร์ทเครื่องยนต์และรักษาการทำงานของเครื่องยนต์ โดยรวมถึงแบตเตอรี่ ซึ่งจ่ายไฟไปยังชิ้นส่วนไฟฟ้าทั้งหมด ระบบไฟชาร์ทจ่ายไฟให้แบตเตอรี่ ระบบสตาร์ท ทำหน้าที่หมุนเครื่องยนต์ ระบบจุดระเบิดทำการจุดส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ ให้เกิดแรงผลักดันในเสื้อสูบ และ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ

ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องยนต์แบตเตอรี่ (BATTERRY)
         คือ หม้อที่ใช้เก็บพลังงานไฟฟ้า และทำหน้าที่จ่ายพลังงานเหล่านี้ไปยัง ระบบสตาร์ท ระบบจุดระเบิดและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่ต้องการไฟฟ้าในรถยนต์ แบตเตอรี่ สามารถทำหน้าที่ต่าง ๆ เหล่านี้ได้ แม้ว่าตัวไดชาร์ทจะไม่ได้ทำงานก็ตาม เพราะว่าแบตเตอรี่ สามารถเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากไดชาร์ทในขณะเครื่องยนต์ทำงานอยู่ ในแบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยแผ่นโลหะที่เป็นขั้วบวกและลบซึ่งอยู่ในสารละลาย อิเล็คโทรไลต์ ซึ่งเมื่อสารละลายอิเล็คโทรไลต์ทำปฏิกิริยาเคมีกับแผ่นโลหะ เราจะได้กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า "DISCHARGING" (การจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่) และเมื่อมีการสะสมกระแสไฟฟ้าเหล่านี้ที่ แบตเตอรี่ เรียกว่า "CHARGING" (การประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ให้มีกำลังไฟเต็มตลอดเวลา)ในแบตเตอรี่มีแรงดันไฟฟ้าประมาณ 12 โวล์ท และความจุอยู่ระหว่าง 40-70แอมแปร์/ชั่วโมง ส่วนน้ำยาอิเล็คโทรไลต์จะมีความถ่วงจำเพาะ1,260 หรือ 1,280 ที่ 20 ํ C หรือ 68 ํ Fเมื่อแบตเตอรี่มีประจุไฟเต็ม

ข้อควรระวัง
          น้ำยาอิเล็คโทรไลต์ มีความเป็นกรดอย่างแรง มันเป็นอันตรายต่อร่างกายและสิ่งของได้เพราะฉะนั้นเมื่อโดนน้ำยาอิเล็คโทรไลต์ควรรีบล้างออกด้วยน้ำมากๆ หรือโซดาผง(โซเดียมไบคาร์บอเนต)และน้ำ ถ้าเข้าดวงตาให้ล้างด้วยน้ำและรีบไปพบแพทย์ทันที

รูปภาพโครงสร้างของแบตเตอรี่

 

 

ข้อแนะนำก่อนการติดตั้งแบตเตอรี่ สำหรับตัวแทนจำหน่าย

 

1. การเติมน้ำกรด (ให้น้ำกรดกำมะถัน Sulphuric Acid ที่มี ถ.พ. = 1.250 เท่านั้น)
    1.1 คลายจุกออก แกะสติกเกอร์ที่จุกสำหรับแบตเตอรี่รุ่นที่มีฟอลย์ ให้ดึงฟอลย์ออกก่อน
    1.2 ใช้กรดกำมะถัน (Sulphuric Acid) ถ.พ. 1.250 (1.240-1.260) เท่านั้น
    1.3 เติมจนได้ระดับสูงสุด Upper Level ทุกช่อง
    1.4 ตั้งทิ้งไว้ 20 นาที เติมซ้ำจนได้ระดับทุกช่อง
2. การอัดไฟ ต่อขั้วไฟให้ถูกต้องและใช้กระแสไฟที่เหมาะสม
    ระวังอัดกระแสไฟเกินเพราะ จะทำให้แบตเตอรี่ร้อน

ตารางอัตราการอัดไฟ สำหรับ TOYOTA GENUINE BATTERY


ขนาดของ
แบตเตอรี่

New JIS

อัตราการอัดไฟ
(แอมป์)

ความจุ
(แอมแปร์-ชั่วโมง)

NS 40 PP
NS 40 LPP
NS 40 ZPP
NS 40 ZLPP

32B20R
32B20L
32B20R
32B20L

2.50
2.50
3.00
3.00

32
32
35
35

NS 60 PP
NS 60 LPP

46B24
R46B24L

3.50
3.50

45
45

NX100
NX100L


55B24
R55B24L

3.50
3.50

47
47

N 50 PP
N 50 LPP
N 50 ZPP
N 50 ZLPP


48D26R
48D26L
55D26R
55D26L

4.00
4.00
4.50
4.50

50
50
60
60

NS 70 PP
NS 70 LPP
N 70 PP
N 70 LPP
N 70 ZPP
N 70 ZLPP


65D26R
65D26L
65D31R
65D31L
75D31R
75D31L

5.00
5.00
5.50
5.50
6.00
6.00

65
65
70
70
70
70

-
-

95D31R
105D31R
7.00
8.00
90
100

NS 100 PP

-
6.00
75

NS 110 PP


 
6.00
80
N 100 APP
N 100 PP
-
95E41R
7.00
8.00
90
100

N 120 APP
N 120 PP

-
115F51R
9.00
9.50
110
120

N 150 APP
N 150 PP
N 150 RP

-
145G51R
-
11.00
12.00
12.00
140
150
150

N 200 APP
N 200 PP
N 200 RP

-
190H52R
-
15.00
16.00
16.00
190
200
200
DIN 55
EXIDIN 65
EXIDIN 77 EXIDIN 100 EXI
-
-
-
-
4.50
5.00
6.00
8.00
55
66
72
80

4DLT
6T 15


-
-

10.50
9.50

135
105
F-105
F-135
F-145
F-155
-
-
-
-
5.00
6.50
6.50
7.00
70
80
90
100


กรณีที่ต้องการอัดไฟแบบเร่งด่วน ให้ทำการอัดไฟดังนี้
        
เริ่มต้นอัดไฟ ใช้กระแสไฟฟ้าในการอัดไฟ 30 แอมแปร์เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรือใช้กระแสไฟฟ้าในการอัดไฟ 50 แอมแปร์เป็นเวลาประมาณ 30 นาที ต่อจากนั้นให้อัดไฟต่อด้วยกระแสไฟฟ้าตามตารางการอัดไฟข้างต้น

ข้อควรระวัง
       - ต้องระมัดระวังอย่าปล่อยให้แบตเตอรี่ร้อนเกินไป (อุณหภูมิขณะอัดไฟสูงเกิน 50 องศาเซลเซียส)
       - ห้ามอัดไฟด้วยกระแสไฟแรงสูงการตรวจวัดแบตเตอรี่ที่อัดไฟเต็มสมบูรณ์
         ดูฟองก๊าซ              : เกิดฟองก๊าซละเอียดมากจนน้ำกรดขาวขุ่น
         วัดโวลท์                 : โวลท์แบตเตอรี่แต่ละลูกขณะไม่ปิดเครื่องอัดไฟ 14.5 – 15.5 V
         วัด ถ.พ. แต่ละช่อง : ถ.พ. คงที่ติดกัน 3 ครั้ง ระยะห่างครั้งละ 30 นาที
         ระยะเวลาอัดไฟ       : ครบกำหนดเวลาอัดไฟ 3-15 ชั่วโมง

ระบบจุดระเบิด
       รายละเอียดโดยทั่วไป
       ในเครื่องยนต์สันดาปภายในพลังงานจะเกิดขึ้นได้ก็โดยการเผาไหม้ส่วนผสมของอากาศ และน้ำมันในกระบอกสูบนั้นๆ ในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ประกายต้องเกิดขึ้นเพื่อเผาไหม้ส่วนผสมอากาศ - น้ำมันที่ถูกอัดโดยลูกสูบในกระบอกสูบ ในเครื่องยนต์ดีเซล อีกเหตุผลหนึ่งอากาศในกระบอกสูบจะถูกอัดอย่างมาก เป็นเหตุให้เกิดความร้อนจัด เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงถูกฉีดเข้าไปเป็นฝอยละอองภายในกระบอกสูบมันจะเกิดการเผาไหม้ต่อเนื่อง เมื่อในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน วิธีการเผาไหม้เริ่มขึ้นโดยประกายไฟแรงสูงเกิดขึ้นจากหัวเทียน บางวิธีการจึงต้องนำเอามาใช้กับหัวเทียน เพื่อให้เกิดกระแสไฟแรงสูงระบบจุดระเบิดรถยนต์ได้ใช้วิธีนี้โดยการเพิ่มแรงดันไฟแบตเตอรี่ถึง 10 กิโลโวลท์ หรือสูงกว่าโดยคอยส์ จุดระเบิดและจ่ายไฟแรงสูงนี้ต่อไปยังหัวเทียน พร้อมด้วยจานจ่ายและสายไฟแรงสูง ระบบจุดระเบิดในแบบของแบตเตอรี่นี้ใช้ในรถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์แก๊สโซลีนทั้งหมด

        
ระบบจุดระเบิดแบบของแบตเตอรี่นี้ โดยทั่วไปประกอบด้วยแบตเตอรี่ คอยส์จุดระเบิด จานจ่าย สายไฟแรงสูง และหัวเทียน ดังแสดงในรูปด้านล่าง
        1.ระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา
        2.ระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์
           - แบบกึ่งทรานซิสเตอร์
           - แบบทรานซิสเตอร์ล้วน
ในขั้นตอนนี้จะอธิบายหลักเกี่ยวกับระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา
 

 

 

หน้าที่ของชิ้นส่วนประกอบ
        1.แบตเตอรี่  จ่ายกระแสไฟแรงต่ำ (ปรกติ 12 โวลท์) ไปยังคอยส์จุดระเบิด
        2.คอยส์จุดระเบิด เปลี่ยนแรงดันไฟแบตเตอรี่เป็นไฟแรงสูง ที่ต้องการเพื่อการจุด ระเบิด
        3.จานจ่าย
            3.1 ลูกเบี้ยว เปิดหน้าทองขาวสัมพันธ์กับมุมเพลาข้อเหวี่ยงสำหรับแต่ละสูบ
            3.2 หน้าทองขาว ยอมให้กระแสไหลผ่านขดลวดปฐมภูมิในคอยส์จุดระเบิด เพื่อที่จะทำให้เกิดกระแสไฟแรงสูงในขดลวดทุติยภูมิ โดยการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า
            3.3 ตัวเก็บประจุ เก็บประกายไฟที่เกิดขึ้นระหว่างที่หน้าทองขาว แยกจากกันเพื่อที่จะเพิ่มแรงดันไฟในขดลวดทุติยภูมิ
            3.4 ชุดเร่งไฟแบบกลไก เพิ่มจังหวะไฟจุดระเบิด เพื่อสัมพันธ์กับความเร็วเครื่องยนต์
            3.5 ชุดเร่งไฟแบบสุญญากาศ เพิ่มจังหวะไฟจุดระเบิด เพื่อสัมพันธ์กับภาระเครื่องยนต์(สุญญากาศในท่อร่วมไอดี)
            3.6 โรเตอร์ จ่ายผ่านกระแสไฟแรงสูงที่เกิดขึ้นจากคอยส์จุดระเบิดไปที่หัวเทียนแต่ละตัว
            3.7 ฝาจานจ่าย จ่ายผ่านกระแสไฟแรงสูงจากหัวโรเตอร์ไปที่สายไฟแรงสูงของแต่ละสูบ

        4.สายไฟแรงสูง นำกระแสไฟแรงสูงจากคอยส์จุดระเบิดไปยังหัวเทียน
        5.หัวเทียน จ่ายแรงดันไฟแรงสูงไปยังขั้ว เพื่อให้เกิดประกายไฟ
 

 

ระบบสตาร์ท
ข้อมูลรายละเอียด
        เมื่อเครื่องยนต์ไม่สามารถทำการสตาร์ทด้วยตัวมันเอง มันจึงต้องการกำลังภายนอกมาหมุนมันและช่วยให้สตาร์ทได้ ระหว่างสิ่งที่หามาได้ต่างๆ นี้ รถยนต์ปัจจุบันนี้โดยทั่วไปจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้ารวมด้วยกับสวิทช์โซลินอยด์ ซึ่งจะไปดันให้เฟืองพิเนียนเข้าและออกขบกับริงเกียร์ที่อยู่บนเส้นรอบวงของล้อช่วยแรงเครื่องยนต์ หมุนริงเกียร์ (เพลาข้อเหวี่ยง) เมื่อถูกกระตุ้นโดยคนขับมอเตอร์สตาร์ทต้องสร้างแรงบิดสูงสุดจากค่าจำกัดของจำนวน  พลังงานที่หามาได้จากแบตเตอรี่ในเวลาเดียวกันมันต้องมีน้ำหนักเบา และสมบูรณ์แบบ จากเหตุผลนี้การต่อวงจร อนุกรม ของมอเตอร์จึงได้นำมาใช้ (กระแสไฟตรง)

 

          มอเตอร์สตาร์ทที่ใช้กับรถยนต์ในปัจจุบันนี้ รวมถึงสวิทช์โซลินอยด์ ซึ่งใช้ดันเฟืองให้หมุน (เรียกว่าพิเนียนเกียร์) เข้าและออกขบริงเกียร์ที่อยู่รอบๆ เส้นรอบวงของล้อช่วยแรงซึ่งยึด ด้วยโบลท์กับเพลาข้อเหวี่ยงเครื่องยนต์ ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 แบบของมอเตอร์สตาร์ทที่ใช้กับรถยนต์ และรถบรรทุกเล็ก :คือ แบบธรรมดาและแบบเฟืองทด รถยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในภาคที่มีอากาศเย็น จะใช้มอเตอร์สตาร์ทแบบเฟืองทดซึ่งสร้างให้มีแรงบิดสูงเพื่อต้องการให้สตาร์ทเครื่องยนต์อุณหภูมิต่ำได้ ดังนั้นมันจึงสามารถทำให้เกิดแรงบิดสูงได้มากในสัดส่วนของขนาดและน้ำหนักกว่าแบบธรรมดา รถยนต์เดี๋ยวนี้จะมานิยมใช้ในแบบนี้ แม้ว่าจะอยู่ในภาคที่มีอากาศอุ่นโดยปรกติมอเตอร์สตาร์ทมีอัตราจ่ายกำลังออก
โดยทั่วไป (เป็นกิโลวัตต์) กำลังที่จ่ายออกมากกว่า ทำให้สามารถสตาร์ทได้ดีกว่า

  

 

ระบบไฟชาร์จ
ข้อมูลรายละเอียด
          หน้าที่ของแบตเตอรี่รถยนต์ คือจ่ายจำนวนกำลังไฟที่เพียงพอให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่นมอเตอร์สตาร์ท ไฟหน้าและปัดน้ำฝน อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่มีค่าจำกัดความจุในตัวมันเองและไม่สามารถจ่ายได้ บนพื้นฐานต่อไปพลังงานทั้งหมดที่ต้องการโดยรถยนต์เป็นสิ่งจำเป็น เพราะฉะนั้นแบตเตอรี่จึงต้องมีประจุไฟเต็มอยู่เสมอ เพื่อที่จะจ่ายจำนวนกำลังไฟที่จำเป็นเมื่อเวลาต้องการให้กับแต่ละชิ้นส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้นรถยนต์จึงต้องการระบบไฟชาร์จเพื่อผลิตกำลังไฟและรักษาการประจุของแบตเตอรี่ระบบไฟฟ้าผลิตกำลังไฟเป็นสองประการโดยประจุเข้าแบตเตอรี่ และจ่ายให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยจำนวนกำลังไฟที่ต้องการขณะเมื่อเครื่องยนต์ของรถยนต์ทำงานอยู่ รถยนต์ส่วนมากจะติดตั้งอัลเทอร์เนเตอร์กระแสสลับซึ่งดีกว่า ไดนาโมกระแสตรง ในแบบสมรรถนะและความทนทานในการผลิตกำลังไฟ         เมื่อรถยนต์ต้องการไฟกระแสตรง ไฟกระแสสลับซึ่งผลิตขึ้นโดยอัลเทอร์เนเตอร์จึงต้องแปลงเป็นไฟกระแสตรงก่อนที่จะนำไปใช้
 

 

อัลเทอร์เนเตอร์
            หน้าที่ของอัลเทอร์เนเตอร์คือเปลี่ยนพลังงานกลจากเครื่องยนต์เป็นกำลังไฟฟ้า พลังงานกลจากเครื่องยนต์นี้ถ่ายทอดโดยพูลเลย์โดยไปหมุนโรเตอร์ และทำให้เกิดไฟกระแสสลับขึ้นในสเตเตอร์ ไฟกระแสสลับนี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นไฟกระแสตรงโดยชุดไดโอด
            ชิ้นส่วนหลักของอัลเทอร์เนเตอร์ คือ โรเตอร์ ซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสเตเตอร์ ซึ่งผลิตไฟฟ้ากระแสสลับและไดโอดซึ่งเป็นตัวแปรงกระแส

 

 

เร็คกูเลเตอร์
         เร็คกูเลเตอร์ทำหน้าที่ควบคุมไฟที่ออกจากอัลเทอร์เนเตอร์เพื่อป้องกันแรงดันไฟเกิน และการประจุไฟมากเกินไปที่แบตเตอรี่ เร็คกูเลเตอร์มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบมีหน้าทองขาวและแบบไม่มีหน้าทองขาว แบบไม่มีหน้าทองขาวเราเรียกกันว่าไอซีเร็คกูเลเตอร์ เพราะว่ามันประกอบด้วยวงจรรวม (วงจรไอซี) เพิ่มเติม มี แปรงถ่าน ซึ่งจ่ายกระแสไฟให้โรเตอร์เพื่อผลิตสนามแม่เหล็ก : แบริ่ง ซึ่งทำให้ตัว
โรเตอร์หมุนได้อย่างคล่องตัว และพัดลมระบายความร้อนให้โรเตอร์ สเตเตอร์ และชุดไดโอด
 

 

 

ขอบคุรภาพ

autospinn.com

หมวด ข้อมูล-ความรู้ทางเทคนิค | จำนวนคนอ่าน 85579 ครั้ง | เมื่อ : 15 พ.ย. 2550 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

    แสดงความคิดเห็น (11)

  • ความเห็นที่ 1
  • เป็นบทความที่มีสาระมีความรู้มากเลยครับ อยากให้ผู้ที่สนใจหรือนักศึกษาทุกสาขาวิชาคลิ๊กเข้ามาอ่านกันเยอะๆ จะได้มีความรู้เพิ่มเติมและ
    พัฒนาตนเองช่วยเหลือสังคม และประเทศชาติต่อไปครับ
  • จาก : v
  • เมื่อ : 2008-04-05 20:04:21
  • ความเห็นที่ 2
  • เห็นด้วยกับค.ห.ที่1ครับ

    ขอขอบคุณผูจัดทำทุกท่าน

    อยากให้มีบทความแบบนี้ทุกระบบเลยครับ
    1ระบบเบรค
    2ระบบช่วงล่าง
    3ระบบคันดึงคันชัก

    ประมาณนี้ครับ และ วิธีการซ่อมบำรุงด้วยครับ

    ขอบคุณอีกครั้ง
  • จาก : คนไทยที่ใฝ่รู้
  • เมื่อ : 2008-05-09 02:27:15
  • ความเห็นที่ 3
  • กลุ้มใจเรื่อง ฟิวส์ขาดค่ะ เป็น Avaza ปี 2006 manual
    ฟิวส์ขาด 3 ครั้งแล้ว อาการคือ แอร์ไม่ทำงาน, กระจกไม่เลื่อน และไฟเลี้ยวไม่ติด เอาไปให้ศูนย์ดู ก็แค่เปลี่ยนฟิวส์ค่ะ มันมีอะไรมากกว่านั้นไหมค่ะเพราะมันขาด มา 3 ครั้งแล้วในเดือนนี้
  • จาก : ไพลิน
  • เมื่อ : 2008-06-17 21:06:26
  • ความเห็นที่ 4
  • สวัสดีครับ คุณ ไพลิน
    ไม่ทราบว่าได้ติดตั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า มาบ้างหรือไม่ครับ และไม่ทราบว่าได้มีการทำสีมาหรือไม่ครับ คาดว่าปัญหาน่าจะมาจาก 2 กรณีนี้ครับ เพราะว่าสภาพเดิมๆที่มาจากโรงงานนั้น โอกาสที่มีปัญหาแบบนี้ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ

    ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับรถที่คุณอยากรู้
    โดยทางเทคนิค

    http://www.phithan-toyota.com/forums

    ขอบคุณครับ...
    แผนกเทคนิค
  • จาก : แผนกเทคนิค
  • เมื่อ : 2008-06-19 11:55:45
  • ความเห็นที่ 5
  • อยากทราบว่ารถโตโยต้า แอลติส 1.8E ปี 2001 ใช้สายพานทามมิ่งหรือ
    แบบโซ่ครับ
  • จาก : ไรอัน
  • เมื่อ : 2008-09-03 15:40:48
  • ความเห็นที่ 6
  • คือ ผมอยากทราบว่าโซลีนอยด์มอเตอร์สตาร์ท กินกระแสประมาณกี่แอมเวลาทำงาน
    ผมจะเอาข้อมูลไปทำโปรเจคครับ
  • จาก : พงศกร บัวแก้ว
  • เมื่อ : 2008-09-05 18:48:29
  • ความเห็นที่ 7
  • ขอทราบรายละเอียดวงจรไฟเลี้ยวกับไฟผ่าหมาก และแฟลชเชอร์ไฟเลี้ยวทำงานได้อย่างไรด้วยครับ
  • จาก : สิปปกร
  • เมื่อ : 2008-09-22 22:11:45
  • ความเห็นที่ 8
  • ระบบการเดินของสายไฟในรถยนต์ควรเริ่มต้นจากไหนก่อน
  • จาก : สมบุรณ์
  • เมื่อ : 2010-10-19 07:57:15
  • ความเห็นที่ 9
  • CHELSEA จงเจริญ
  • จาก : CHELSEA
  • เมื่อ : 2010-11-10 16:32:09
  • ความเห็นที่ 10
  • ช่วยด้วยค่ะ รถวีออส 05
    เวลาสตาร์ชแล้วฟิวส์จุดระเบิดขาด ทำให้เครื่องดับ หรือไม่ก็สตาร์ชติด แต่พอเข้าเกียร์ถอยหลังแล้วฟิวส์ก็ขาดเหมือนเดิม บางดทีก็ใช้ไปประมาณ 2-3 วัน ก็เป็นอีก

    -ติดแก๊ส
    -เครื่องเสียง
    -กันขโมย

    กันขโมยถอดออกแล้ว รบกวนช่วยตอบหน่อยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ
  • จาก : อ้อ
  • เมื่อ : 2011-06-16 07:00:19
  • ความเห็นที่ 11
  • ทดสอบครับ
  • จาก : เทส
  • เมื่อ : 2011-06-17 11:57:49

เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ Trumq