phithan-toyota.com | พิธานพาณิชย์ จำกัด ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น

บทความ

เช็กหน่อยไทรอยด์ผิดปกติหรือไม่ ?

หมวด สุขภาพ | จำนวนคนอ่าน 1070 ครั้ง | เมื่อ : 03 เม.ย. 2564 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน





Health#8
เช็กหน่อย
ไทรอยด์ผิดปกติหรือไม่







‘โรคไทรอยด์’ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ซึ่งทำหน้าที่ในการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย โดยมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในสัดส่วนประมาณ 5 ต่อ 1 โรคไทรอยด์มีหลายชนิด โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนเกิน หรือไทรอยด์เป็นพิษ หรือ Hyperthyroid สามารถพบเจอได้ทุกช่วงวัย คนไข้จะมีอาการ มือสั่น ใจสั่น ขี้ร้อน ขี้หงุดหงิด เหงื่อออกง่าย นอนไม่หลับ กินจุแต่น้ำหนักลด เหมือนมีการเผาผลาญอยู่ตลอดเวลา น้ำหนักตัวอาจลดลง 5-10 กิโลกรัมภายในระยะเวลา 1 เดือน แม้จะไม่ได้ออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยประมาณ 10% ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่ม เนื่องจากกินอาหารในปริมาณที่มากกว่าพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญไป ทั้งนี้การรักษาทำได้ด้วยการกินยาต้านไทรอยด์ประมาณ 2 ปี ส่วนในระยะยาวหลังจากหยุดยาต้องมาตรวจอีกครั้ง เพราะหลายคนเมื่อหยุดยาก็มีความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่ถึง 70%

2. ไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่ำ หรือ Hypothyroid มักจะมีอาการตรงกันข้ามกับไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนเกิน คือ ไม่ค่อยเผาผลาญ น้ำหนักขึ้นง่าย อ้วนขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉื่อยชา ขี้หนาว ท้องผูก ง่วงบ่อย นอนเยอะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนอ้วนจะต้องเป็นไทรอยด์เสมอไป เบื้องต้นสามารถสังเกตตัวเองได้จากพฤติกรรมในอดีตกับ ปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน หากพบว่ามีความเสี่ยงควรไปตรวจเช็กเพื่อความแน่ใจ สำหรับการรักษาทำได้ด้วยการกินฮอร์โมนไทรอยด์เข้าไป เพื่อให้ฮอร์โมนกลับมาอยู่ในระดับที่สมดุล ร่างกายสามารถเผาผลาญได้ตามปกติ โดยส่วนใหญ่มักจะต้องกินไปตลอดชีวิต

3. ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ คนไข้มักกังวลว่าจะเป็นมะเร็งหรือเปล่า ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไป การจะทราบว่าเป็นมะเร็งหรือไม่จะต้องทำการเจาะก้อนที่ต่อมไทรอยด์เพื่อนำเซลล์ไปตรวจ โดยที่ผ่านมาพบว่ามีเพียง 5% เท่านั้นที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง หากก้อนดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หมอก็ไม่แนะนำให้ผ่าตัดเพราะบริเวณนั้นมีทั้งเส้นเสียง และเส้นเลือดจำนวนมาก แต่ก็ควรตามดูอาการอย่างสม่ำเสมอ

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนเกินกับไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่ำนั้นไม่ได้มีสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ในทางการแพทย์เชื่อว่ากรรมพันธุ์อาจมีส่วน โดยคนไข้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีครอบครัวที่เป็นโรคไทรอยด์เหมือนกัน ขณะที่การรับประทานไอโอดีนในปริมาณที่มากหรือน้อยเกินไปก็อาจทำให้มีความเสี่ยงได้เช่นกัน
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติส่งผลกระทบหลายอย่างในร่างกาย หากใครที่มีอาการตามด้านบน อย่าลืมไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยละเอียดอีกที

ที่มา : rama.mahidol.ac.th

บทความที่เกี่ยวข้อง
สมุนไพร คู่ครัวไทย
ล้างมือให้ถูกวิธีป้องกัน “เชื้อไวรัส Covid”
กินดี สุขภาพดี ตามกรุ๊ปเลือด (ฉบับครบ 5 หมู่)
เตือนปิ้งย่าง หมูกระทะ กินมากสะสม เสี่ยงมะเร็ง

หมวด สุขภาพ | จำนวนคนอ่าน 1070 ครั้ง | เมื่อ : 03 เม.ย. 2564 | ส่งบทความนี้ให้เพื่อน

COASTER ราคาเริ่มต้น 1,960,000 บาท