เนื่องจากน้ำมันเบรกเป็นสารประกอบที่คุณสมบัติดูดซับความชื่นได้ง่าย โดยจะสัมผัสกับอากาศที่อยู่ภายในกระปุกน้ำมันเบรก เพราะว่าจะมีอากาศผ่านเข้าไปภายใน ผ่านทางรูหายใจ เมื่อเบรกทำงานจะเกิดการดูดซับไอน้ำจากอากาศ เพราะฉะนั้นจำนวนไอน้ำที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรคจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้ และทำให้จุดเดือดต่ำลง น้ำมันเบรกจึงกลายเป็นไอได้ง่ายเมื่อน้ำมันเบรกร้อน ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการส่งแรงดันไปยังผ้าเบรกต่ำลง การเบรกจะอันตรายมากขึ้น
สามารถพิจารณาได้จากการแบ่งระดับ SAE โดยที่น้ำมันเกรดเดียวจะมีช่วงอุณหภูมิที่สามรถใช้ได้นั้นแคบ ดังนั้นน้ำมันเกรดเดียวจึงเหมาะสำหรับแต่ละฤดู ซึ่งต้องการใช้โดยเฉพาะ ส่วนน้ำมันเกรดรวมนั้นสามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล เนื่องจากช่วงอุณหภูมิที่สามารถใช้ได้กว้าง ปัจจุบันน้ำมันเกรดรวมเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถใช้ได้ในช่วงอุณหภูมิกว้าง และมีประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมันสูง การแบ่งระดับชั้น SAE คือการแบ่งระดับของน้ำมันโดยความหนืด และช่วงอุณหภูมิที่สามารถใช้น้ำมันนี้ได้ ระดับ SAE มีทั้งสิ้น 11 ระดับ จาก 0W - 60 ดังนี้ 0w , 5w , 10w , 15w , 20w , 25w , 20 ,30 , 40 , 50 และ 60 จำนวนตัวเลขที่มากขึ้นหมายถึง ความหนืดมากขึ้นด้วย ( เกรดที่มี W ต่อท้ายจะต้องผ่านการทดสอบค่าแรงเสียดทานภายใต้อุณหภูมิต่ำ เหมาะสำหรับภูมิอากาศหนาว )
ตัวอย่างสำหรับเครื่องยนต์ของโตโยต้า สามารถแบ่งประเภทน้ำมันเครื่อง ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ได้แก่
- น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ SAE 5W-40 API SH
- น้ำมันเครื่องเบนซิน SAE 10W-30 API SJ
- น้ำมันเครื่องเบนซิน SAE 20W-40 API SH
2. น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ได้แก่
- น้ำมันเครื่องดีเซล SAE 15W-40 API CF-4
เศษผงโลหะต่าง ๆ จากการสึกหรอของเครื่องยนต์รวมทั้งผงคาร์บอนและสิ่งสกปรกต่าง ๆ จะยังคงอยู่เช่น ยางเหนียวที่สะสมอยู่ในน้ำมัน
เครื่อง (เนื่องจากน้ำมันเสื่อมสภาพ) หลังจากระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องได้ผ่านพ้นไปแล้ว เมื่อสารเพิ่มคุณภาพได้ถูกใช้ไปหมดทำให้น้ำมันเครื่องมีประสิทธิภาพการหล่อลื่นลดลงและเกิดผลเสียต่อเครื่องยนต์ในที่สุด
ขณะขึ้นเขาใช้เกียร์ " D " ได้ตามปกติ เพราะเกียร์จะเปลี่ยนให้ตามสภาพตามความเร็ว และความต้องการแรงขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ แต่ในขณะลงเขา ถ้าความเร็วไม่มาก ความชันไม่มากก็ยังคงใช้เกียร์ " D " ได้
สำหรับการลงเขาที่มีความชันมาก และมีความเร็วมาก ควรเปลี่ยนเป็น " 2 " หรือ " L " เพื่อให้เครื่องช่วยในการเบรก ไม่ควรใช้เบรกมือช่วย เพราะจะทำให้เบรกร้อนจนเบรกไม่อยู่
เนื่องจากน้ำมันเครื่องค่อยๆ ทำปฏิกิริยารวมตัวกับออกซิเจนในอากาศและเสื่อมสภาพลง แม้ว่าจะไม่ค่อยได้ใช้รถก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการเดินทางเป็นระยะสั้นๆ ซึ่งเครื่องยนต์ ได้หยุดการทำงานก่อนที่น้ำมันเครื่องจะร้อนขึ้นทำให้ความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเครื่องไม่มีโอกาสระเหยออกมา ขณะเดียวกันสารเพิ่มคุณภาพต่างๆในน้ำมันจะถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องสั้นลง ดังนั้นการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องจึงถูกกำหนดให้เปลี่ยนตามระยะเวลาด้วย
ถ้าเราใช้น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินกับเครื่องยนต์ดีเซลมีผลทำให้การหล่อลื่นแย่ลง และเครื่องยนต์เกิดการกัดกร่อนและเสียหายอย่างรวดเร็ว
เหตุผล
น้ำมันโซล่าหรือน้ำมันดีเซลประกอบด้วยสารประกอบประเภทกรด เช่น ซัลเฟอร์มากกว่าน้ำมันเบนซิน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเติมสารเพิ่มคุณภาพประเภทต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจน และการป้องกันสนิมลงในเครื่องยนต์ดีเซลมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน เมื่อใช้น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในรถยนต์เบนซิน ปัญหาจะไม่เกิดขึ้นในระยะสั้น แต่ถ้ายังใช้น้ำมันเครื่องนี้ต่อไปอีกระยะยาวจะก่อให้เกิดปัญหา ขึ้น เช่น กำลังของเครื่องยนต์ลดลง เพราะว่าการหล่อลื่นในเครื่องยนต์แย่ลงจะเกิดการสึกหรออย่างรวดเร็ว
เหตุผล
น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลประกอบด้วยสารช่วยชะล้างทำความสะอาดในปริมาณน้อยซึ่งทำงานอยู่ในช่วงอุณหภูมิต่ำ - กลาง ดังนั้นเมื่อใช้น้ำมันเครื่องนี้ในเครื่องยนต์เบนซินเป็นระยะเวลานานทำให้ความสามารถในการละลายยางเหนียวในน้ำมันที่อุณหภูมิต่ำไม่เพียงพอ และยางเหนียวจะรวมตัวเป็นตะกอนซึ่งขัดขวางการไหลเวียนของน้ำมัน และส่งผลทำให้การหล่อลื่นในเครื่องยนต์แย่ลง
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง กรณีรถใช้งานไม่หนัก (เช้าขับไปทำงาน-เย็นขับกลับบ้าน) รถไม่ติด จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะหรือไม่ ถ้าสภาพน้ำมันเครื่องยังไม่ดำ ?
ควรจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก 10,000 กม. เพราะรถเป็นรถใช้ตามปกติไม่หนัก แต่น้ำมันเครื่องต้องถูกต้องตามคู่มือของโตโยต้าระบุไว้
ในสภาวะที่น้ำมันแพง เรามีความจำเป็นจะต้องจอดรถอยู่กับบ้านเป็นเวลาหลายวันอยากทราบว่าจะมีผลเสียอะไรหรือไม่ ?
ถ้าจอดภายใน 1 สัปดาห์ ควรจะนำรถออกมาขับบ้าง อย่าติดเครื่องยนต์อย่างเดียว ระบบทุกระบบของเครื่องยนต์จะได้ทำงาน ชิ้นส่วนของรถยนต์ต่าง ๆ จะไม่เสียเร็วเช่น ยาง ถ้าจอดอยู่กับที่นาน ๆ แก้มยางจะเสียรูป
การเติมน้ำมันสลับกัน เช่น เดือนนี้เติมเซลล์ เดือนหน้าเติม เอสโซ่ จะมีผลต่อเครื่องยนต์หรือไม่ ?เอสโซ่ จะมีผลต่อเครื่องยนต์หรือไม่ ?
-ไม่มีผลแต่ขึ้นอยู่กับน้ำมันที่เติมว่าถูกต้องตามกระทรวงพาณิชย์ระบุไว้หรือเปล่า
-ถ้าไปเติมน้ำมันที่มีสาร SOLVENT เจือปน สารตัวนี้จะมีราคาถูก อาจทำให้เครื่องยนต์มีปัญหาได้
การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง คือ การวัดปริมาณการใช้น้ำมันของรถยนต์ ต่อหน่วยระยะทาง ดังนั้นการที่แสดงว่าเครื่องยนต์หรือรถยนต์มีการประหยัดน้ำมันได้เท่าไหร่นั้นก็คือ การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อที่จะแสดงค่าการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ มีวิธีวัดที่แตกต่างกันอยู่ 2 วิธี คือ
หนึ่ง. คือการวัดโดยขับรถที่ระยะทางคงที่ และวัดประมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ไปหน่วยที่ใช้วัดคือ จำนวนลิตรต่อ 100 กม. (L/100)
สอง. คือการวัดระยะทางที่รถวิ่งต่อประมาณเชื้อเพลิงที่กำหนดให้ หน่วยที่ใช้วัดคือ กม./ลิตร (กม./L) หรือ ไมล์ต่อแกลลอน
หมายเหตุ
ค่าการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ได้จากการวัดจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพของการขับขี่ในขณะทำการวัด (เช่นสภาวะอากาศ สภาพเครื่องยนต์ ภาระ สภาพของถนน ในเมือง ทางหลวง ภูเขา ฯลฯ ) ค่าการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ประกาศโดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์นั้น ๆ บางครั้งอาจจะไม่ตรงกับที่เปรียบเทียบกับการขับขี่อย่างธรรมดาทั้งนี้เพราะว่าผู้ผลิตจะโฆษณาค่าการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ได้รับจากการทดสอบในสภาพที่แตกต่างกันออกไป
การตรวจระดับน้ำมันเครื่อง
ข้อควรระวัง
1. อย่าเติมน้ำมันเครื่องมากเกินไปเพราะเครื่องยนต์อาจเสียหาย
2. ระวัง สัมผัสถูกท่อร่วมไอเสียขณะร้อน
สารเติมแต่ง (additive)
น้ำมันเกียร์
สถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (API) ได้แบ่งชั้นน้ำมันเกียร์ออกตามการออกแบบของชุดเกียร์และภาระการทำงาน น้ำมันเกียร์ยังคงมีค่าความหนืด SAE ต่าง ๆ กัน แต่จะไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์
พิกัดบริการของน้ำมันเกียร์ตาม API
GL1 เป็นน้ำมันเกียร์ใช้งานทั่วไป
GL2 เป็นน้ำมันเกียร์ใช้กับเฟืองหนอน
GL3 เป็นน้ำมันเกียร์ใช้งานหนักสำหรับห้องเกียร์ธรรมดา และสำหรับเฟืองดอกจอกฟันโค้ง
ที่ใช้งานหนักปานกลาง
GL4 เป็นน้ำมันเกียร์งานหนักสำหรับเฟืองท้ายที่เป็นแบบ เฟืองไฮปอยด์
GL5 เป็นน้ำมันเกียร์งานหนักอเนกประสงค์สำหรับเฟืองท้ายแบบ เฟืองไฮปอยด์ และ
ดิฟเฟอเรนเซียลแบบต้านการลื่นไถล
ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันเบรก